เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / วี แอล ดี แอล (VLDL)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
วี แอล ดี แอล (VLDL)

วี แอล ดี แอล (Very Low Density Lipoprotein) ร่างกายสร้างขึ้นจากตับและลำไส้เล็ก (เป็นส่วนน้อย) ประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ ร้อยละ 51 ทำหน้าที่ขนส่ง ไตรกลีเซอไรด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับไปยังผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ

วี แอล ดี แอล เป็นสารที่มีความสำคัญสูงมากต่อการเสี่ยง และการพยากรณ์โรคโดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเจาะเลือดแล้วพบว่าสูงเป็นตัวชี้ภาวะเส้นเลือดแข็ง

ค่าปกติ Cholesterol น้อยกว่า 200 มก.%., LDL น้อยกว่า 130. , VLDL น้อยกว่า 30, HDL ต้องไม่ต่ำกว่า 40 Triglyceride ต้องน้อยกว่า 150 อัตราส่วน Cholesterol/HDL น้อยกว่า 4.5, อัตราส่วน LDL/HDL น้อยกว่า 3 เมื่อพบแพทย์จะให้การรักษาทั้งให้ยาและแนะนำเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ 

1) งดสูบบุหรี่  

2) ออกกำลังกาย  

3) คุมการกินไขมันไม่เกิน 30% ของพลังงานที่ได้รับแต่ละวัน โดยทานไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 10% ไขมันที่ได้จากCholesterol ต่ำกว่า 300 มก% (ไข่ 1 ฟองมี Cholesterol 250 มก.)

การใช้ยาโดยแพทย์สั่ง มีหลายกลุ่มแล้วแต่หมอจะสั่งให้   

  1. ยากลุ่ม Nicotinic Acid ถ้าทาน 2-3 กรัมต่อวัน จะลด VLDL, LDL,
  2. กลุ่ม Fibric Acid Aerivative เช่น Bezafibrate, Gemfiblozil, Fenofibrate จะลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี ขนาดใช้ 600-1200 มก ต่อวัน
  3. Bile Acid-binding Resinเช่น Choletyramine (Questran) ทานวันละ1 ซอง ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง

4) กลุ่มลดการดูดซึมไขมัน เช่น Ezetimibe ใช้เหมือน Simvastatin  ทาน 10-20 มก ก่อนนอน

5) กลุ่มยับยั้งเอนไซม์ (Enzyme) ที่สร้างcholesterol เช่น Avorvastatin. Simvastatin. ขนาดทาน 10-20 มก ก่อนนอน

อ้างอิง:

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2561). ส่วนประกอบและหน้าที่ของไขมันในเลือด. แหล่งที่มา: http://medinfo.psu.ac.th/departments/pathology/Education/Ch/Page1.html เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 เมษายน 2561

ScieceDirect. (2561). Very low-density lipoprotein. แหล่งที่มา: https://www.sciencedirect.com/topics/biochemistry-genetics-and-molecular-biology/very-low-density-lipoprotein เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 เมษายน 2561

 

02/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

เรี่มมาใช้ทางการแพทย์ ค.ศ.1985 ซึ่งได้รับอนุมัติจาก FDA สรอ.ให้แพทย์ใช้ฉะเพาในเด็กที่มีร่างกายเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามปกติ เช่น เด็กเติบโตช้าโดยไม่ทราบสาเหตุ



เป็นเซลล์ต้นแบบ(ต้นกำเนิด)พบในรกของเด็กแรกเกิด   หน้าที่ของสเต็มเซลล์คือการทำเซลล์ใหม่เพื่อมาทดแทนแซลล์เก่า สเต็มเซลล์คือแซลล์ที่มีหน้าที่จัดจำหน่ายแซลล์ใหม่


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว