เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ครู...หนูท้องทำไงดี?
โดย : อุไรรัตน์ โรจจ์นานนท์
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ครู...หนูท้องทำไงดี?

สำหรับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรนั้นคุณแม่วัยใส ต้องเรียนรู้ในหลายๆ ด้าน ได้แก่ เรียนรู้ทักษะการปฏิเสธ ไม่ไปกับเพื่อนต่างเพศในที่ลับตา แต่งกายด้วยเสื้อผ้ามิดชิด ไม่ล่อแหลม เรียนรู้จักวิธีป้องกันการคุมกำเนิดในหลายรูปแบบ เช่น การใส่ถุงยางอนามัยในผู้หญิง การคุมกำเนิดชนิดต่างๆ พูดคุยกับพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด บอกเล่าความสัมพันธ์เรื่องเพื่อนต่างเพศให้ท่านทราบ เปลี่ยนทัศนคติที่ว่าการมีแฟนหรือการมีเพศสัมพันธ์เป็นแฟชั่น และปรึกษากับผู้ที่ให้ความรู้ถูกต้องและชัดเจน เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือสายด่วนปรึกษาเรื่องเพศ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้วางยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ระดับชาติ พ.ศ.2560-2569

ทั้งนี้ นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมครั้งสำคัญขึ้น เพื่อที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนการประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมคณะทำงานตามยุทธศาสตร์ ทั้ง 5 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการพัฒนาการสื่อ ให้ความรู้ ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น พัฒนาแกนนำวัยรุ่น ส่งเสริมการเข้าถึงบริการคุมกำเนิด พัฒนาระบบการให้บริการด้วยยาในระบบบริการสุขภาพ สนับสนุนจัดทำฐานข้อมูล
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้พัฒนาคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สื่อสารรณรงค์การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมสัมพันธภาพครอบครัว และให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการ
  • กระทรวงศึกษาธิการ ได้พัฒนาหลักสูตร E-Training เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ตั้งครรภ์ การดำเนินงานขับเคลื่อนการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ด้วยการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบการฝึกอบรมแบบ e-Training (UTQ online) ในโรงเรียนประถมศึกษา
  • กระทรวงมหาดไทย ได้ส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  • กระทรวงแรงงาน ได้สร้างการรับรู้และส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดำเนินการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มลูกจ้างวัยรุ่น การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และจัดสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิต
  • กระทรวงยุติธรรม ได้ให้ความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตแก่วัยรุ่น ส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และคลอดได้รับการดูแลทั้งแม่และลูก คุ้มครองและติดตามหลังการช่วยเหลือ
  • กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพและการป้องกันโรคและคุมกำเนิด

อีกทั้ง กรมอนามัย ได้จัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในระดับภาคและระดับประเทศ ทำฐานข้อมูลแม่วัยรุ่นยากจนที่ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด จัดสวัสดิการสังคมที่จำเป็นและเหมาะสมกับแม่วัยรุ่น รวมถึงติดตามประเมินพัฒนาการบุตรของแม่วัยรุ่นเป็นระยะเวลา 3 ปี ทั้งนี้

 

นอกจากนี้ได้มีการจัดทำเว็บไซต์กลาง http://teenact.moph.go.th เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันของภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ที่มาภาพ : http://www.cvdapc.org/peer-pressure-teenage-pregnancy/

แหล่งอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). กรมอนามัย เผย ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. แหล่งที่มา:  https://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=110486 เข้าถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561.

องค์การสหประชาชาติ. (2560). รายงานประชากรไทย 2561: การลงทุนกับเยาวชน. แหล่งที่มา: https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/UNFPA%20Presentation_28-Nov-2017.pdf เข้าถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561.

03/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

ธาลัสซีเมีย โรคโลหิตเป็นพิษคือโรคเลือดซึ่งร่างกายสร้างรูปแบบฮีโมโกลบินผิดปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากจนทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง 



สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)แก้ไขคำเตือนวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ไม่แนะนำให้ฉีดในคนที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสมาก่อน 



กรมควบคุมโรคพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ เตือนช่วงนี้พบเด็กป่วยโรคไอกรนต่อเนื่อง จากข้อมูลการสอบสวนโรค พบว่าเด็กที่ป่วยด้วยโรคไอกรนส่วนใหญ่ติดเชื้อ


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว