เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / สาหร่ายแสนอร่อย...ปนเปื้อนหรือไม่?
โดย : อุไรรัตน์ โรจจ์นานนท์
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
สาหร่ายแสนอร่อย...ปนเปื้อนหรือไม่?

ขึ้นชื่อว่าของกินเล่นในบ้านเรา...ผลิตภัณฑ์สาหร่ายขบเคี้ยวมักมาเป็นอันดับต้นๆ ของเด็ก นักศึกษา และเกือบทุกคน เรามาลองดูกันว่า เมื่อกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายทะเลที่ผลิตในประเทศไทยและต่างประเทศ พบสารอะไรปนเปื้อนอยู่บ้าง

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้การกำหนดปริมาณสารหนูอนินทรีย์สำหรับสัตว์น้ำและอาหารทะเล จะต้องไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 273 (พ.ศ.2546) สำหรับผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลนั้น เป็นวัตถุดิบที่มีสารอาหารและแร่ธาตุสูง เช่น ประกอบด้วยสารไอโอดีน ช่วยในการป้องกันโรคคอหอยพอกได้ มีทั้ง โปรตีน แคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม โพแทสเซียม และมีใยอาหารสูงอีกด้วย แต่ในทางกลับกันสาหร่ายทะเลก็มีโอกาสปนเปื้อนโลหะหนักสูง เช่น แคดเมียม (cadmium) และสารหนู (arsenic) ซึ่งสารหนูได้ถูกจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ  คือ สารหนูอินทรีย์ (organic arsenic) และสารหนูอนินทรีย์ (inorganic arsenic) โดยสารหนูอินทรีย์จะมีความเป็นพิษต่ำกว่าสารหนูอนินทรีย์เพราะสารประกอบอนินทรีย์ เป็นชนิดที่มักพบในวงการอุตสาหกรรม การผลิตวัสดุต่าง ๆ ซึ่งสารหนูชนิดนี้มีความเป็นพิษสูงและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ส่วนสารประกอบอินทรีย์ เป็นสารหนูที่พบได้ตามธรรมชาติ และอาจปนเปื้อนในอาหารบางชนิด เช่น ปลา สัตว์น้ำที่มีเปลือก จึงเป็นพิษน้อยกว่าสารหนูชนิดสารประกอบอนินทรีย์

เมื่อ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ใช้เทคนิควิเคราะห์ลิควิดโครมาโทกราฟี ร่วมกับ การวิเคราะห์ธาตุ โดยหลักการของอะตอมมิกสเปกโทรสโกปี โดยใช้เครื่องมือ HPLC-ICP-MS สามารถตรวจวัดเชิงปริมาณต่ำสุดได้ที่ระดับ 0.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม บริการตรวจวิเคราะห์สารหนูอนินทรีย์ในอาหาร ผลการตรวจวิเคราะห์ในปีงบประมาณ 2558-2560 ปรากฏว่าสาหร่ายและผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่ผลิตในประเทศ 475 ตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่ไม่พบสารหนูอนินทรีย์ และตรวจพบสารหนูอนินทรีย์เพียงร้อยละ 4 และปริมาณที่ตรวจพบทั้งหมดยังปลอดภัย เพราะอยู่ในช่วง น้อยกว่า 0.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

นอกจากนี้ยังตรวจสาหร่ายที่ผลิตจากต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย จีน เกาหลี สิงคโปร์ สเปน ส่งตรวจจำนวน 78 ตัวอย่าง ตรวจพบสารหนูอนินทรีย์ร้อยละ 17 ปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในช่วง 0.25–0.39 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม                ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลในท้องตลาดจึงบริโภคได้อย่างปลอดภัย เพียงแต่ใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรบริโภคแต่พอเหมาะเพราะผลิตภัณฑ์สาหร่ายมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง

ที่มาภาพ : http://lillian.cz/morske-rasy/

https://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=111042

18/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

“ฆาตกรเงียบ” มาแบบเงียบจริง ๆ มาปุ๊บไปปั๊บเลย นั่นคือเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่ไม่เคยไปตรวจ ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำเพราะบางคนไม่แสดงอาการแต่อย่างใด



เห็ดนั้นแสนอร่อยและอุดมไปด้วยธาตุอาหาร แต่เห็ดบางชนิดกินแล้วถึงตายเพราะเป็นเห็ดพิษ ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เตือนประชาชน ให้ระมัดระวังการเก็บหรือซื้อเห็ดป่ามาปรุงอาหาร



มะเร็ง คำสั้นๆ แต่น่ากลัวมาก ใครเป็นถือว่าโชคร้ายเพราะรักษาหายยาก แถมบางชนิดก็หาสาเหตุไม่เจอ สำหรับมะเร็งหลังโพรงจมูก น่ากลัวกว่าที่คิด เพราะตรวจพบยากมาก 


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว