
ไตเสื่อม (Chronic Renal Failure)
หน้าที่สำคัญของไต
1) การกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย และน้ำส่วนเกินทิ้ง ซึ่งทำให้เลือดสะอาด
2) รักษาระดับเกลือแร่ในเลือดให้ปกติ
3) สร้างฮอร์โมนหลายชนิด สารควบคุมความดันโลหิต สารสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างสารเสริมกระดูก ช่วยทำให้ระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียม ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในเด็กจะช่วยให้ เจริญเติบโตได้ ตามวัย ซึ่งตามปกติเมื่อคนเรา อายุ 30 ปี ขึ้นไป......ไตจะเสื่อมตามธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปีแต่ ......การที่ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว หรือหยุดการทำงานทันที เราเรียกว่า "โรคไตวายเฉียบพลัน "(Acute renal failure) ซึ่งอาจจะกลับเป็นปกติได้ ถ้าได้การรักษาที่เหมาะสม
ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ไตเกิดความผิดปกติอย่างถาวร ระยะของโรคไตเสื่อเรื้อรัง มีทั้งหมด 5 ระยะ;
1) ระยะที่1 ค่า GFR > 90 เป็นค่าปกติ จะสามารถตรวจพบความผิดปกติของไต เช่น
ปัสสาวะมีตะกอนผิดปกติ แต่ไตก็ยังคงทำงานได้ปรกติในระยะนี้. การดูแลรักษา : ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดโรคไต อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเอสแอลอี (ภูมิคุ้มกันผิดปกติ) โรคเก๊าท์ นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อปัสสาวะซ้ำ ๆ
2) ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-90 ค่า Cr 1.2 ไตเริ่มทำงานได้น้อย 3 ใน 4 ส่วน หรือ 60-90% อัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อย. การดูแลรักษา : ลดปริมาณอาหารที่มีรสเค็ม
3) ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-60 ค่า Cr 1.8 ไตเริ่มทำงานลดลง 1 ใน 2 ส่วน หรือ 30-60% อัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง การดูแลรักษา : ลดอาหารจำพวกโปรตีน
4) ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-30. ค่า Cr 3.6. ไตเริ่มทำงานได้น้อย 1 ใน 4 ส่วน หรือ 15-30%
ไตเริ่มวาย อัตราการกรองของไตลดลงมาก. การดูแลรักษา : จำกัดการบริโภคผลไม้ต่างๆ
5) ระยะที่ 5 ค่า GFR < 15. ไตวายระยะสุดท้าย เป็น "ระยะไตวาย" ซึ่งในระยะนี้. ไตจะทำงานได้ น้อยกว่า 15% การดูแลรักษา : เตรียมตัวล้างไต หรือผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต
*หมายเหตุ หน่วยกรองไต ถ้าเสียหายแล้ว.....มิอาจซ่อมให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ ฉะนั้น....ควรดูแล ป้องกัน บำรุง ฟื้นฟู ไว้ ดีกว่า
อะไรคือโรคโลหิตจางที่มาจากการขาดวิตามินบี 12 เมื่อคุณมีภาวะขาดวิตามินบี 12 หมายความว่าร่างกายของคุณไม่มีวิตามินชนิดนี้เพียงพอ คุณจำเป็นต้องมีวิตามินบี 12 ในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขนส่งออกซิเจนผ่านร่างกายของคุณ การมี B12
สงกรานต์นี้ ใคร ๆ ก็พากันหยุดยาว แต่เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” และช่องทางการตอบคำถามโรคภัยไข้เจ็บของ “ถามหมอ” ยังคงเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง