เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / พยาธิตัวจี๊ด (Trichinosis Parasite)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
พยาธิตัวจี๊ด (Trichinosis Parasite)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แนธโธสโตมา สไปนิจิรุม (Gnathostoma Spinigerum) ตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 1.5-3.0 ซม. มีลักษณะลำตัวกลมยาว หัวคล้ายลูกฟักทองทั้งหัวและตัวของพยาธิพวกนี้จะมีหนาม

ลักษณะทั่วไปปของพยาธิ:

- ตัวอ่อนของพยาธิในระยะติดต่อมีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัยแต่มีหนามน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้มซึ่งฝังตัวอยู่ในเนื้อของสัตว์พาหะ ส่วนพยาธิที่พบในคนจะเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ และมีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.9 ซม.

- ตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต

- พยาธิตัวจี๊ดมีในอาหารที่ปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารหมักที่ทำจากปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ

- อาจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่เช่นกันวงจรชีวิตตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้และตัวเมียจะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของสุนัขและแมว

หลังจากพยาธิผสมพันธุ์แล้ว พยาธิตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ เมื่อไข่ลงน้ำจะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวไรกุ้ง (cyclops) จะกินตัวอ่อนระยะนี้และไปเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เมื่อปลากินไรกุ้งที่มีพยาธิ พยาธิจะเจริญในปลาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ ถ้าสุนัขหรือแมวกินปลานี้เข้าไป พยาธิก็จะไปเจริญเป็นตัวแก่ในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าคนกินปลาซึ่งมีพยาธิระยะติดต่อเข้าไป พยาธิก็จะคืบคลานหรือไชไปตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ยังไม่มีรายงานว่าพยาธินี้เจริญเป็นตัวแก่จนสามารถออกไข่ได้ในคนการติดต่อโรคที่เกิดจากพยาธิตัวจี๊ดนี้ สามารถติดต่อไปในคนทุกเพศทุกวัย โดยการกินตัวอ่อนระยะติดต่อที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกโดยเฉพาะปลาน้ำจืด หรืออาจติดต่อ จากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยไชผ่านทางรก นอกจากนี้พยาธิยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล โดยเฉพาะในคนบางกลุ่มที่ใช้เนื้อสัตว์สด ๆ เช่น กบ ปลา พอกแผล เพื่อทำให้หายเร็วขึ้น

อาการที่พบบ่อย:

อาการที่เกิดจากพยาธิไชอยู่ใต้ผิวหนัง ตามลำตัว แขน ขา และบริเวณใบหาน้า ทำให้บวมแดงบริเวณนั้น หรือเห็นเป็นรอยทางแดง ๆ ตามแนวที่พยาธิไชผ่านไป อาการบวมแดงนี้ จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วจะหายไปเองแม้ไม่ได้รับการรักษาหลังจากนั้นอาจจะบวมขึ้นมาใหม่ในบริเวณอื่นใกล้ ๆ กัน แถบเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดเป็นก้อนคล้ายเนื้องอกตามอวัยวะต่าง ๆ นอกจากที่ผิวหนังแล้ว พยาธิอาจไชไปอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ เช่น ตา ปอด กระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะถ้าไปที่สมองจะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ปวดตามเส้นประสาทได้

การวินิจฉัย:

การจะบอกว่าเป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดแน่นอน ต้องตรวจพบตัวพยาธิ ซึ่งอาจจะไชออกมาทางผิวหนังเอง แต่โดยทั่วไปมักไม่พบพยาธิแม้จะผ่าเข้าไปในบริเวณที่บวม ดังนั้นการที่จะบอกว่าเป็นโรคนี้ จึงมักดูจากอาการของโรคว่ามีอาการเจ็บ ปวด บวมเคลื่อนที่ได้ และมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือไม่ และเจาะเลือดหรือน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจด้วยวิธีทางอิมมิวโนวินิจฉัย

การรักษา:

โดยทั่วไปจะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดบวม ยาแก้แพ้แก้คัน เป็นต้น

ยารักษา:

โรคพยาธิชนิดที่ให้ผลเป็นที่พอใจ คือ อัลเบนดาโซน ขนาด 400-800 มิลลิกรัม วันละ ครั้งหรือ 2 ครั้งเป็นเวลา 21 วันติดต่อกัน.

การป้องกัน:

ไม่รับประทานเนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ เช่น อาหารประเพายำ ลาบ หมก พล่า รวมทั้งปลาร้า ปลาเจ่า ส้มฟัก

19/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

ไตสร้างฮอร์โมนหลายชนิด สารควบคุมความดันโลหิต สารสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างสารเสริมกระดูก ช่วยทำให้ระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียม ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ



สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะมีความเชื่อผิด ๆ เกิดขึ้นเสมอ เช่นเดียวกันกับเรื่องของขี้หู และต้องบอกเอาไว้ก่อนเลยว่ามีพ่อแม่



อะไรคือโรคโลหิตจางที่มาจากการขาดวิตามินบี 12 เมื่อคุณมีภาวะขาดวิตามินบี 12 หมายความว่าร่างกายของคุณไม่มีวิตามินชนิดนี้เพียงพอ คุณจำเป็นต้องมีวิตามินบี 12 ในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขนส่งออกซิเจนผ่านร่างกายของคุณ การมี B12


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว