เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / รู้ลึกเรื่องแคลเซียม ... ทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
รู้ลึกเรื่องแคลเซียม ... ทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์

จากงานวิจัยของแพทย์นักวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า คนไทยกว่าร้อยละ 50 ได้รับแคลเซียมต่อวันน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ โดยงานวิจัยแนะ ให้คนไทยดื่มนม ออกกำลังกาย ซึ่งมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น แคลเซียมถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) แคลเซียม อะซีเตท (Calcium Acetate) ซึ่งแต่ละชนิดจะทำงานคล้าย ๆ กัน

แคมเลซียมใช้อย่างไร

แคมเซียมเป็นสารที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟันมาก แคลเซียมยังมีบทบาทต่อการทำงานของหัวใจ เส้นประสาทและระบบการแข็งตัวของเลือด แล้วแคลเซียมใช้รักษาหรือบำบัดอาการหรือโรคใดได้บ้าง

  • รักษาและป้องกันการขาดแคลเซียมหรือเมื่อร่างกายมีปริมาณแคลเซียมลดลง ซึ่งเป็นผลให้เกิดโรคกระดูกต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกระดูกน่วม
  • รักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (พีเอ็มเอส) หรืออาการผิดปกติก่อนระดู เช่น ปวดศรีษะ หงุดหงิด เจ็บคัดเต้านม
  • อาการปวดขาช่วงตั้งครรภ์
  • ความดันโลหิตสูงช่วงตั้งครรภ์ หรือ ครรภ์เป็นพิษ
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งทวารหนักและลำไส้ตรง
  • โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดบายพาสลำไส้ ความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลสูง และโรคข้ออักเสบ
  • เมื่อระดับฟลูออไรด์ลดลงในเด็ก
  • เมื่อระดับตะกั่วในเลือดสูง

แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นยาลดกรดใช้เมื่อเกิดอาการ “แสบร้อนกลางอก” ได้ แคลเซียมคาร์บอเนต และ แคลเซียม อะซีเตทใช้ลดระดับฟอสเฟตในคนที่เป็นโรคไตได้ทั้งคู่

แคลเซียมทำงานอย่างไร

ปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอที่ระบุว่า แคลเซียมออกฤทธิ์อย่างไรบ้าง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในการใช้ ให้ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือนักโภชนาการใกล้บ้าน อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยที่มี ณ ปัจจุบันพบว่า แคลเซียมทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ฟันและกระดูกมนุษย์มีแคลเซียมอยู่ร้อยละ 99 แคลเซียมยังพบได้ในเลือด กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่น ๆ แคลเซียมในกระดูกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เมื่อร่างกายต้องการ และเมื่อเราอายุมากขึ้น ความเข้มข้นหรือปริมาณแคลเซียมจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามวัย เนื่องจากร่างกายก็ขับแคลเซียมออกทุกวัน จากกิจกรรมประจำวันผ่าน เหงื่อ เซลล์ผิวหนังและของเสียออกจากร่างกาย ยิ่งกว่าไปกว่านั้น ในสตรีที่อายุเยอะขึ้น การดูดซึมแคลเซียมมีแนวโน้มที่จะลดลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงนั่นเอง การดูดซึมแคลเซียมขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ อายุและเพศในแต่ละคน
  • กระดูกคนเราแตกได้ทุกเมื่อและจะสร้างขึ้นมาใหม่เองได้เสมอ และกระบวนการสร้างใหม่ของกระดูกก็จำเป็นต้องใช้แคลเซียม การได้รับแคลเซียมเสริมจะช่วยให้กระดูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแข็งแรงนานขึ้น

ข้อควรระวังและคำเตือนในการใช้แคลเซียม

ต้องรู้อะไรบ้างก่อนตัดสินใจซื้อแคลเซียมมาทาน

ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือนักโภชนาการก่อนซื้อแคลเซียมมาทานเมื่ออยู่ในสภาพดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ใกล้คลอดหรือให้นมบุตรอยู่นั้น แพทย์ที่รับฝากครรภ์อาจให้ใช้ยาอย่างอื่นอยู่ ที่อาจมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมได้
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาจรวมถึง ยาสามัญประจำบ้าน หรือยาที่หมอสั่ง แพทย์อาจต้องดูว่า มียาตัวใดที่กำลังใช้อยู่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมหรือไม่
  • แพ้สารที่อยู่ในแคลเซียมหรือยาใด ๆ หรือสมุนไพรใด ๆ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูดหรือแพ้เนื้อสัตว์

สำหรับในประเทศไทย ข้อกำหนดเกี่ยวกับการอาหารเสริมยังเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดของยา และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาหารเสริมควรจะมีมากกว่านี้ โดยเฉพาะเน้นศึกษาเรื่องความปลอดภัยในการใช้ อีกทั้งคุณประโยชน์ของอาหารเสริมควรมีมากกว่าความเสี่ยงหรืออันตราย หากต้องการใช้อาหารเสริมแคลเซียม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนใช้

ใช้แคลเซียมปลอดภัยแค่ไหน

การใช้แคลเซียมมีแนวโน้มจะปลอดภัยในคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสำหรับรับประทานและฉีดเข้าเส้นเลือดในปริมาณที่เหมาะสม แต่อาจเป็นอันตรายกับทั้งผู้ใหญ่และเด็กเมื่อทานในปริมาณสูง ดังนั้น ไม่ควรทานแคลเซียมมากเกินไป สมาคมแพทย์สหรัฐฯ กำหนดไว้ว่า ในวันหนึ่ง ๆ แต่ละคนควรได้รับแคลเซียม “ไม่เกิน” ปริมาณดังต่อไปนี้ ตามอายุของตัวเอง เช่น

  • อายุ 0-6 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 6-12 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 1500 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 1-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 2500 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 9-18 ปี ความได้รับแคลเซียม 3000 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 2500 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 51+ ปี ควรได้รับแคลเซียม 2000 มิลลิกรัม/วัน

อย่างไรก็ตาม หากได้รับแคลเซียมในประมาณที่เทานความต้องการต่อวันตามตารางข้างต้น อาจจะส่งผลข้างเคียงได้ งานวิจัยบางชิ้นเมื่อไม่นานมานี้ยังระบุอีกว่า ผู้ใหญ่ที่ได้รับปริมาณแคลเซียมสูงกว่าปริมาณที่แนะนำ 1000-1300 มิลิกรัมต่อวันขึ้นไปอีก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ยังใหม่ จึงยังไม่ควรฟันธงไปว่า การบริโภคแคลเซียมในปริมาณที่สูงเป็นสาเหตุที่ให้เกิดโรคหัวใจได้ ดังนั้น จนกว่าจะมีงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ มารองรับ บทความชิ้นนี้ จึงยังอยากแนะนำให้ทุกคนได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอต่อวัน และไม่เกินตามที่สมาคมแพทย์สหรัฐฯ กำหนด แหล่งที่มาของแคลเซียมสำคัญ ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม หรืออาหารเสริมแคลเซียม และไม่แนะนำให้รับแคลเซียมกิน 1000-1300 มิลลิกรัมจากปริมาณที่แนะนำต่อวัน รู้ได้อย่างไรว่า เราได้รับแคลเซียมเพียงพอ ให้คำนวณว่า มื้ออาหารปกติจะมีแคลเซียมอยู่ราว 300 มิลลิกรัม/วัน บวกกับการดื่มนมที่มีแคลเซียมสูง หรือน้ำส้มปรุงแต่งที่ใส่แคลเซียมลงไปอีกประมาณ 300 มิลลิกรัม/วัน คร่าว ๆ ก็ได้แล้ว 600 มิลลิกรัมต่อวัน ที่เหลือคือต้องพึ่งอาหารเสริมเพื่อให้ครบตามที่ร่างกายต้องการ

ใครอีกบ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องใช้แคลเซียม:

สตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร:

แคลเซียมมีแนวโน้มจะปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรโดยเฉพาะแคลเซียมที่ใช้ทานและในปริมาณที่แนะนำ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอมารองรับว่า การฉีดแคลเซียมเข้าเส้นเลือดจะปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตรหรือไม่

ผู้ที่มีกรดในกระเพาะต่ำ:

ผู้ที่มีกรดในกระเพาะต่ำหรือขาดกรดในกระเพาะ (Achlorhydria) จะมีปัญหาเรื่องการดูดซึมแคลเซียม โดยเฉพาะยิ่งหากทานแคลเซียมตอนท้องว่าง ดังนั้น แนะนำให้ทานแคลเซียมพร้อมอาหาร และโดยเฉพาะคนที่มีกรดในกระเพาะต่ำยิ่งต้องแนะนำให้ทานแคลเซียมร่วมกับมื้ออาหาร

ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง (Hyperphosphatemia) หรือคนที่มีฟอสเฟตในเลือดต่ำ (Hypophosphatemia): ปริมาณแคลเซียมและฟอตเฟสในร่างกายของทุกคนจะต้องสมดุลกัน การได้รับแคลเซียมมากเกินไปก็จะเป็นอันตราย ดังนั้น ไม่แนะนำให้รับแคลเซียมสูงเกินไป และอย่าใช้อาหารเสริมแคลเซียมโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เภสัชหรือนักโภชนาการ

 ภาวะขาดไทรอยด์ (Underactive Thyroid): แคลเซียมสามารถรบกวนการบำบัดรักษาการทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ที่กำลังใช้ฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อการบำบัดภาวะขาดไทรอยด์แยกใช้กันคนละเวลากับการทานแคลเซียมโดยห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

มีแคลเซียมในเลือดสูง (เนื่องจากเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมพาราไทรอยด์และซาคอยโดสิส (Sarcoidosis)): หากเป็นโรคหรือมีอาการเหล่านี้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้แคลเซียมทันที

โรคไต: สำหรับคนที่เป็นโรคไต อาหารเสริมแคลเซียมเพิ่มความเสี่ยงของการมีแคลเซียมสูงในเลือด

ผู้ที่สูบบุหรี่: ผู้ที่สูบบุหรี่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่าคนทั่วไป

ผลข้างเคียง

รับแคลเซียมแล้ว มีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง

แคลเซียมอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณใช้ประจำหรือโรคประจำตัวบางชนิด แนะให้ปรึกษาแพทย์ เภสัชหรือนักโภชนาการก่อนใช้แคลเซียมเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่มีปฏิกิริยาต่อแคลเซียมได้แก่

  • เซฟทริอาโซน (Ceftriaxone)

การฉีดเซฟทริอาโซนเข้ากระแสเลือดร่วมกับทานแคลเซียมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะอันตรายต่อปอดและไต หากกำลังทานแคลเซียม ให้เว้นระยะ 48 ชั่วโมงก่อนฉีดเซฟทริอาโซน

  • ยาปฏิชีวนะ

แคลเซียมอาจลดการดูดซึมยาปฏิชีวนะ ดังนั้น การทานแคลเซียมควบคู่กับยาปฏิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพในการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาทางยานี้ ให้ทานแคลเซียมหลังทานยาปฏิชีวนะแล้ว 1 ชั่วโมง ยาปฏิชีวนะบางตัวอาจมีปฏิกิริยาทางยากับแคลเซียมโดยตรง ได้แก่ ไซโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) เอโนซาซิน (Enoxacin) นอร์ฟลอกซาซิน (Norfloxacin) สปาร์ฟลอกซาซิน (Sparfloxacin) และโทรวาฟลอกซาซิน (Trovan)

  • ยาปฏิชีวนะบางประเภท

แคลเซียมสามารถเกาะตัวกับยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น กลุ่มยาเตตราไซคลีน (Tetracyclines) ในกระเพาะอาหาร แคลเซียมไปลดประมาณยากลุ่มเตตราไซครินที่จะถูกดูดซึมเข้าร่างกาย การทานแคลเซียมร่วมกับยากลุ่มเตตราไซคลีนจะให้ประสิทธิภาพของเตตราไซคลีนลดลง ดังนั้น แนะนำให้ทานแคลเซียม 2 ชั่วโมงก่อนทานยากลุ่มเตตราไซคลีน หรือทานแคลเซียมหลังจากทานยากลุ่มเตตราไซคลีนไปแล้ว 4 ชั่วโมง ยากลุ่มเตตราไซคลีน ได้แก่ เดเมโคลไซคลีน (Demeclocycline) มิโนไซคลีน (Minocycline) และเตตราไซคลีน (Tetacyline)    

  • กลุ่มยาบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates)

แคลเซียมลดปริมาณการดูดซึมของกลุ่มยาบิสฟอสโฟเนต ดังนั้น การทานแคลเซียมพร้อมบิสฟอสโฟเนตก็ทำให้ลดประสิทธิภาพของยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตเช่นกัน หากต้องการทานแคลเซียมร่วม ให้ใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตอย่างน้อยก่อนทานแคลเซียม 30 นาที หรือหลังจากใช้ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตไปแล้ว 1 วัน ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตได้แก่ อะเลนโดรเนต (Alendronate) เอทริโดเนท (Etidronate) ไรเซโดรเนท (Risedronate) ทิลูโดรเนต (Triludronate) และอื่น ๆ

  • ยาแคลซิโพทริเอน (Calcipotriene)

แคลซิโพทริเอนเป็นยาคล้ายกับวิตามินดี ซึ่งช่วยให้ดูซึมแคลเซียมได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การทานแคลเซียมคู่กับแคลซิโพทริเอนจะทำให้ปริมาณคลเซียมในร่างกายสูงขึ้น

  • ไดโกซิน (Digoxin)

แคลเซียมมีผลต่อหัวใจ ไดโกซินจะช่วยให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ดังนั้น การทานแคลเซียมคู่กับไดโกซินอาจกระตุ้นการทำงานของไดโกซิน อันนำมาสู่การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้ หากกำลังใช้ไดโกซินอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์ที่จ่ายยาไดโกซินให้ ก่อนที่จะทานแคลเซียม

  • ดิลทิอาเซม (Diltiazem)

แคลเซียมช่วยในเรื่องของการเต้นของหัวใจ ดิลทิอาเซมก็มีผลต่อการเต้นของหัวใจเช่นกัน การใช้ดิลทิอาเซมคู่กับแคลเซียมในปริมาณที่มากอาจลดประสิทธิภาพของดิลทิอาเซมลงได้

  • เลโวไทรอกซิน (Levothyroxine)

เลโวไทรอกซินใช้บำบัดผู้ที่มีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ แคลเซียมสามารถลดปริมาณการดูดซึมของเลโวไทรอกซินได้ การทานแคลเซียมคู่กับเลโวไทรอกซินอาจลดประสิทธิภาพของเลโวไทรอกซินลง ดังนั้น แนะนำให้ทานแคลเซียมและเลโวไทรอกซินในระยะห่างกัน 4 ชั่วโมง กลุ่มยาที่มีตัวยาเลโวไทรอกซินได้แก่ อาร์เมอร์ ไทรอยด์ (Armour Thyroid) เอลทรอกซิน (Eltroxin) เอสเตร (Estre) ยูธีรอกซ์ (Euthyrox) เลโว-ที (Levo-T) เลโวทรอยด์ (Levothroid) เลโวซิล (Levoxyle) ซินธรอยด์ (Synthroid) ยูนิธรอยด์ (Unithroid) และอื่น ๆ

  • โซทาโลล (Sotalol)

แคลเซียมลดการดูดซึมของโซทาโลลในร่างกาย การทานแคลเซียมคู่กับโซทาโลลอาจลดประสิทธิภาพในการทำงานของโซทาโลลลง เพื่อเลี่ยงปฏิกิริยาทางยานี้ ให้ทานแคลเซียมอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนใช้โซทาโลล หรือ 4 ชั่วโมงหลังใช้โซทาโลล 

  • ยาขับน้ำ

ยาขับน้ำบางชนิดทำให้ปริมาณแคลเซียมในร่างกายเข้มข้น ดังนั้น การใช้ยาขับน้ำบางชนิดจะทำให้ปริมาณแคลเซียมในร่างกายเข้มข้น และการมีปริมาณแคลเซียมที่หนาแน่นในร่างกายจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น เกิดโรคไต กลุ่มยาขับน้ำได้แก่ คลอโรไทอาไซด์ (Chlorothiazide) ไฮ โดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) เอสซิดิกซ์ (Esidrix) อินดาพาไมด์ (Indapamide) เมโตลาโซน (Metolazone) คลอร์ธาริโดน (Chlorthalidone)

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogens)

เอสโตรเจนช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม การใช้กลุ่มยาเม็ดเอสโตรเจนเม็ดควบคู่กับกับทางแคลเซียมในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ปริมาณแคลเซียมในร่างกายสูงผิดปกติ กลุ่มยาเม็ดเอสโตรเจน ได้แก่ เอสโตรเจนที่สกัดได้จากธรรมชาติ เช่น ยาคุมพรีมาริน (Premarin) เอธินีล เอสตราไดออล (Ethinyl Estradiol) เอสตราไดออล (Estradiol) และอื่น ๆ

  • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blocker)

ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิดมีปฏิกิริยาต่อแคลเซียมในร่างกาย ยาเหล่านี้ชื่อว่า แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ การรับแคลเซียมทางสายยางหรือฉีดนั้นจะไปลดประสิทธิภาพของกลุ่มยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเหล่านี้ ยากลุ่มนี้ได้แก่ นิเฟดิพีน (Nifedipine) เวราพามีล (Verapamil) ดิลทิอาเซม (Diltiazem) อิสราดีพีน (Isradipine) เฟโลดีพีน (Felodipine) แอมโลดีพีน (Amlodipine) และอื่น ๆ    

ขนาดที่ใช้

ขนาดยาในบทความนี้จะใช้แทนคำแนะนำแพทย์ไม่ได้ หากต้องการใช้อาหารเสริมประเภทนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัช เพื่อคำนวณมวลของร่างกายต่อปริมาณยา แต่ปริมาณยาการใช้แคลเซียมก็มีสูตรมาตรฐานคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

แคลเซียมสำหรับทาน

  • เพื่อป้องกันปริมาณแคลเซียมในร่างกายลดลง: โดยทั่วไป วันละ 1 กรัมก็พอแล้ว
  • สำหรับผู้ที่มีอาการแสบร้อนหน้าอก: ทานแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้เป็นยาลดกรด 0.5-105 กรัมก็พอ
  • เพื่อลดฟอสเฟตในผู้ใหญ่ที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรัง ควรเริ่มทานแคลเซียม อะซีเตทในปริมาณ 1.334 กรัม (อาหารเสริมอื่นใดก็ตามที่มีแคลเซียม อะซีเตทผสมอยู่ 338 มิลลิกรัม) พร้อมมื้ออาหาร แล้วเพิ่มขึ้นมาที่ 2-2.67 กรัม (อาหารเสริมอื่นใดก็ตามที่มีแคลเซียม อะซีเตทผสมอยู่ 338 มิลลิกรัม) พร้อมมื้ออาหาร หากจำเป็น
  • เพื่อป้องกันกระดูดไม่แข็งแรง (โรคกระดูกพรุน) อาหารเสริมใดก็ได้ที่มีส่วนประกอบแคลเซียม 1-1.6 กรัมเป็นประจำทุกวัน พร้อมมื้ออาหาร คำแนะนำในการรักษาโรคกระดูกพรุนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาชีว่า คนที่เป็นโรคกระดูพรุนควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เพื่อป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูกในสตรีก่อนวัยทองที่อายุเกิน 40 สตรีเหล่านี้ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1 กรัมต่อวัน
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ที่มักไม่ค่อยได้รับแคลเซียม ควรได้รับแคลเซียมเพื่อนำไปช่วยเสริมกระดูกในลูกน้อยในครรภ์ในปริมาณ 300-1300 มิลลิกรัมต่อวัน โดยให้เริ่มทานแคลเซียมในช่วงตั้งครรภ์ได้ 20-22 สัปดาห์  
  • สำหรับคนที่เป็นโรคพีเอ็มเอส ให้ทานแคลเซียมคาร์บอเนต 1-1.2 กรัมต่อวัน
  • สำหรับคนไข้ที่ฮอร์โมนไทรอยด์ลดลงเพราะโรคไตเรื้อรัง คนไข้ควรได้รับแคลเซียม 2-21 กรัมต่อวัน
  • เพื่อป้องกันการเสียกระดูกในคนที่ใช้ยากลุ่มคอร์ติคอสเตียรอยด์ ให้ทานแคลเซียมวันละ 1 กรัม
  • สำหรับคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ให้ทานแคลเซียม 1-1.5 กรัมต่อวัน
  • เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงช่วงตั้งครรภ์ (ภาวะครรภ์เป็นพิษ) ให้รับแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 1-2 กรัมต่อวัน
  • เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และเนื้องอกที่ลำไส้ใหญ่ (ติ่งพวกนี้กลายเป็นมะเร็งในภายหลังได้) ให้ทานแคลเซียม 1200-1600 มิลิกรัมต่อวัน
  • เพื่อลดคอเรสเตอรอล ให้ทานแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้จะทานร่วมกับวิตามินดีขนาด 400 ไอยูต่อวัน หรือไม่ทานร่วมกับวิตามินดีก็ได้ และหากจะให้ได้ผลดี มื้ออาหารที่ทานร่วมจะต้องมีไขมันต่ำและจำกัดปริมาณแคลอรี
  • เพื่อป้องกันฟลูออไรด์เป็นพิษในเด็ก ให้ทานแคลเซียม 125 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน ร่วมกับวิตามินซีและดี
  • สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้เพิ่มการรับประทานแคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นมที่มีแคลเซียมสูงถึง 500-2400 มิลิกรัมต่อวัน และ มื้ออาหารที่ทานร่วมจะต้องมีไขมันต่ำและจำกัดปริมาณแคลอรีควบคู่ไปด้วย

แคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียม ซีเตรทเป็นแคลเซียมประเภทที่ใช้มากที่สุดในบรรดาแคลเซียมประเภทอื่น ๆ อาหาเสริมประเภทแคลเซียมควรทาน 2 ครั้งต่อวันเพื่อช่วยให้ร่างกายได้ดูดซึมแคลเซียมที่เพียงพอ และจะดีที่สุดหากทานแคลเซียมปริมาณ 500 มิลิกรัมหรือน้อยกว่านั้นควบคู่กับมื้ออาหาร สมาคมการแพทย์สหรัฐฯ ได้เผยแพร่ปริมาณที่แนะนำในการทานต่อวัน (RDA) สำหรับแคลเซียมใน “ผู้ใหญ่ที่ร่างกายปกติ” ในปี 2010 โดยให้เน้นรับปริมาณแคลเซียมตามอายุ ดังต่อไปนี้

  • อายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 9-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1300 มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัม/วัน
  • ในผู้ชายอายุ 51-70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้หญิงอายุ 51-70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้สูงอายุทั้งสองเพศอายุ 70 ขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • คนท้องหรือหญิงให้นมบุตร (อายุต่ำกว่า 19 ปี) ควรได้รับแคลเซียม 1300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • คนท้องหรือหญิงให้นมบุตร (อายุต่ำ 19-50 ปี) ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน

แคลเซียมมีจำหน่ายในรูแบบใดบ้าง

แคลเซียมอาจมีจำหน่ายในรูปผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้:

  • แคปซูลแคลเซียม ขนาด 600 มิลลิกรัม
  • แคลเซียมน้ำ

หากสนใจศึกษาเกี่ยวกับอาหารเสริมประเภทแคลเซียมเพิ่มเติมว่า คนทั่วไปใช้แคลเซียมทำอะไรกันบ้าง ก่อนจะทานแคลเซียม จริง ๆ แล้วเราต้องรู้อะไรบ้าง และผลข้างเคียง คำเตือนและปริมาณการใช้ในแต่ละคนเป็นอย่างไร ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือเภสัชกรใกล้บ้าน

WebMD. (2561). Calcium. แหล่งที่มา: http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-781-calcium.aspx?activeingredientid=781  เข้าถึงข้อมูลวันที่ 17 เมษายน 2561

Medicinenet (2561). Calcium. แหล่งที่มา: http://www.medicinenet.com/calcium_supplements-oral/article.htm  เข้าถึงข้อมูลวันที่ 17 เมษายน 2561

21/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยผลสำเร็จนวัตกรรม “ข้าวน้ำตาลต่ำ”



ขึ้นชื่อว่าของกินเล่นในบ้านเรา...ผลิตภัณฑ์สาหร่ายขบเคี้ยวมักมาเป็นอันดับต้นๆ ของเด็ก นักศึกษา และเกือบทุกคน เรามาลองดูกันว่า เมื่อกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์



“ฆาตกรเงียบ” มาแบบเงียบจริง ๆ มาปุ๊บไปปั๊บเลย นั่นคือเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่ไม่เคยไปตรวจ ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำเพราะบางคนไม่แสดงอาการแต่อย่างใด


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว