เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)

มะเร็งลำไส้เป็นโรคของผู้ใหญ่ไม่ว่าจะคนไทยหรือคนทั่วโลก มักพบในอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป แต่อาจพบในเด็กโตได้ โดยผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน ลำไส้ใหญ่แบ่งเป็นส่วนที่อยู่ในช่องท้อง (Colon) และส่วนอยู่ในท้องน้อย (อุ้งเชิงกราน) ซึ่งเรียกว่า ลำไส้ตรง (Rectum) หลายคนจึงเรียกว่า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Colorectal Cancer) ทั้งนี้ พบว่า เกิดมะเร็งกับลำไส้ใหญ่ในช่องท้องมากกว่าเกิดกับลำไส้ตรง ทั่วโลกพบผู้ป่วยใหม่โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ประมาณ 1 ล้านคนต่อปี โดยจะเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุของโรคประมาณ 0.5 ล้านคนต่อปี

ในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 พบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนอยู่ในช่องท้องในผู้หญิง 5.2 ราย และในส่วนลำไส้ตรง 2.6 ราย ต่อประชากรหญิง 100,000 คน ในผู้ชาย พบมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนอยู่ในช่องท้อง 7.4 ราย และในส่วนลำไส้ตรง 3.7 ราย ต่อประชากรชาย 100,000

สาเหตุได้แก่ :

  1. การกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำ ร่วมกับอาหารใยอาหารต่ำ (ขาด ผัก และผลไม้))
  2. พันธุกรรม เพราะพบคนที่มีครอบครัวสายตรง (บิดา มารดา พี่ น้องท้องเดียวกัน) เป็นโรคมะเร็งเต้านมมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้สูงกว่า มีพันธุกรรมผิดปกติ เพราะพบได้สูงกว่า เมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  3. เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
  4. เป็นโรคติ่งเนื้อเมือก (Polyp หรือ โพลิป) ลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากพันธุกรรม

อาการ:

1) ในระยะแรกๆอาจไม่มีอาการ

2) ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง

3) ท้องอืด ท้องแน่นตลอดเวลา ปวดท้องเป็นพัก ๆ เดี๋ยวปวด เดี๋ยวหาย

4) มีอาการท้องผูก สลับกับท้องเสีย อุจจาระแข็ง และเหลวสลับกัน

5) อุจจาระปนเลือดสด ๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ

6) ปวดท้องอยากอุจจาระ แต่ไม่มีอุจจาระออกมา เหมือนถ่ายไม่หมดอยู่ตลอด

7) อุจจาระมีมูกเลือดปน

8) คลื่นไส้ อาเจียน

9) น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

10) อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง

11) โลหิตจาง 

เป็นระยะไหน:

ระยะที่ 1: ขนาดเล็ก ยังลุกลามอยู่เฉพาะในผนังลำไส้ใหญ่

ระยะที่ 2 : ก้อนเนื้อ หรือ แผลมะเร็งลุกลามจนถึงเยื่อหุ้มลำไส้ใหญ่

ระยะที่ 3 : โรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองอยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่

ระยะที่ 4 : โรคแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองไกลลำไส้ใหญ่ เช่น ในช่องท้อง และเหนือไหปลาร้า และ/หรือ แพร่กระจายทางกระแสโลหิตสู่เนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นๆ ที่พบบ่อย คือ ตับ ปอด และ กระดูก.

การรักษาหลักของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การผ่าตัด ส่วนเมื่อโรคมีการลุกลามแล้ว การรักษา มักเป็น ผ่าตัดร่วมกับยาเคมีบำบัด หรือ ผ่าตัดร่วมกับ รังสีรักษา และ/หรือ ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ ขึ้นกับ ตำแหน่ง และระยะของโรค และอาจให้ รังสีรักษา และ/หรือ ยาเคมีนำก่อน แล้วจึงตามด้วยผ่าตัด หรือ อาจผ่าตัดก่อน แล้วจึงตามด้วยรังสีรักษาและ/หรือ ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการของผู้ป่วย ระยะโรค และตำแหน่งของโรค ส่วนยารักษาตรงเป้า ราคายายังแพงมหาศาลเกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึงยา ถ้ารักษาติดตามให้ดี หายได้

25/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวอ่อนของพยาธิในระยะติดต่อมีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัยแต่มีหนามน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้มซึ่งฝังตัวอยู่ในเนื้อของสัตว์พาหะ 



ไตสร้างฮอร์โมนหลายชนิด สารควบคุมความดันโลหิต สารสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างสารเสริมกระดูก ช่วยทำให้ระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียม ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ



สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะมีความเชื่อผิด ๆ เกิดขึ้นเสมอ เช่นเดียวกันกับเรื่องของขี้หู และต้องบอกเอาไว้ก่อนเลยว่ามีพ่อแม่


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว