เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เห็ดเยื่อไผ่ (Bamboo Mushroom) สูตรอาหารอายุวัฒนะฮ่องเต้จีน
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จาก
เห็ดเยื่อไผ่ (Bamboo Mushroom) สูตรอาหารอายุวัฒนะฮ่องเต้จีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เห็ดเยื่อไผ่ (Bamboo Mushroom) หรือ เห็ดร่างแห (Long Net Stinkhorn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า ดิคไทโอโฟรา อิดูซิอาต้า (Dictyophora Indusiata) คือ เห็ดซึ่งเป็นฟังไจ ที่มีไผ่มาเกี่ยวข้องเพราะต้องเพาะเห็ดบนเยื่อไม้ไผ่ โดยนำเอาไม้ไผ่มาทำให้เปื่อยยุ่ย แล้วนำมากองเพื่อใช้เพาะเห็ด หรือพบเห็ดชนิดนี้ในป่าไผ่

ส่วนชื่อเรียก เห็ดร่างแห นั้น ได้รับการตั้งชื่อตามลักษณะของเห็น ส่วนของหมวกเห็ดมีรูปร่างเหมือนกระโปรงหรือตะกร้าหรือสุ่ม ที่สานกันเป็นร่างแห สำหรับประเทศจีนซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดในการเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดนี้ มีชื่อเรียกหลากหลายเช่นกัน ได้แก่ เห็ดร่างแห เห็ดวิญญาณถือร่ม เห็ดราชา เห็ดราชินี เห็ดราชาแห่งยา หรือเห็ดดอกไม้  คำว่า "Stinkhorn" ที่ใช้ต่อชื่อข้างท้ายของเห็ดสายพันธุ์นี้ เป็นการบ่งชี้คุณลักษณะของเห็ดเหล่านี้ว่ามีกลิ่นเหม็น เนื่องจากส่วนบนสุดของดอกทำหน้าที่ผลิตสปอร์ที่เปรียบได้กับเมล็ดพันธุ์ของเห็ด ส่วนบนสุดนอกจากจะผลิตสปอร์แล้วยังผลิตกลิ่นรุนแรงออกมาเรียกแมลงอีกด้วย ซึ่งแมลงเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการกระจายพันธุ์ของเห็ดในธรรมชาติ

ในประเทศไทย เห็ดเยื่อไผ่สามารถพบได้ทุกภาค แต่ที่กินได้มีอยู่แค่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กระโปรงยาวสีขาว และ กระโปรงสั้นสีขาว นอกเหนือจากนี้ เป็นเห็ดเยื่อไผ่ที่มีพิษทั้งหมด หากดูไม่เป็น อย่าเก็บเห็ดจากธรรมชาติมากินเด็ดขาด ฉะนั้น เห็ดเยื่อไผ่เพาะเลี้ยงจึงปลอดภัยที่สุด

ประโยชน์ของเห็ดเยื่อไผ่

เห็ดเยื่อไผ่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง ดังนี้

  • โปรตีน (25) 15-18%
  • กรดอะมิโนถึง 16 ชนิด จาก กรดอะมิโนที่มีทั้งหมด 20 ชนิดที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ และกรดแอมิโน 16 ชนิดนี้ยังเป็นกรดแอมิโนที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ (Essential Amino Acid) ถึง 7 ชนิด
  • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) หรือวิตามินบี 2 ค่อนข้างสูง จากการสกัดสารจากเห็ดร่างแหพบสารที่สำคัญ 2 ชนิด คือ พอลิแซ็กคาร์ไรด์ (Polysaccharide) และไดโอไทโอโฟริน เอและบี (Dictyophorin A&B) ซึ่งเป็นสารที่พบยากมากในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ได้มีการทดสอบสมบัติของสารไดโอไทโอโฟริน เอและบี ทางเภสัชวิทยาพบว่าสารกลุ่มนี้เป็นตัวช่วยในการปกป้องระบบประสาทไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษ
  • สารสกัดจากเห็ดร่างแห มีผลต่อการต้านการอักเสบ และต่อต้านการเกิดเนื้องอก และยังพบน้ำตาลที่สำคัญ เช่น แมนนิทอล (Mannitol)
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ทำให้เห็ดเยื่อไผ่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

ในประเทศจีน สมัยอดีตกาล มีการรำเห็ดเยื่อไผ่มาทำเป็นอาหาร อยู่ในเมนูเจ็ดอาหารและยาอายุวัฒนะของฮ่องเต้ในราชวงศ์ชิง โดยมีการนำเข้าเห็ดเยื่อไผ่มาจากมณฑลยูนนาน และนำมาถวายในราชสำนัก ชาวจีนนิยมนำมาเป็นอาหารบำรุงร่างกาย ในตำราจีนกล่าวไว้ว่า สวนยอดของเห็ดเยื่อไผ่สามารถนำมาทำเป็นยาบำรุงพลังทางเพศของม้าได้ ช่วยให้ม้าผสมพันธ์ได้ดีขึ้น สำหรับตำรายาจีน มีการใช้เห็ดชนิดนี้เพื่อ

  • เป็นยาบำรุงร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากท้องเดิน
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยปัญหาเนื้อเยื่อมีไขมันมาก
  • ตับอักเสบ
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับไต ตา ปอด และเป็นหวัด
  • ยังใช้ เป็นตัวป้องการการบูดเสียของอาหารจากจุลินทรีย์ (Microbial Spoilage) ได้

วิธีปลูกเห็ดเยื่อไผ่

สำหรับท่านที่ชอบทานอาหารที่มีส่วนผสมของเห็ดเยื่อไผ่ตามร้านอาหารจีนแพง (อย่าจำสับกับเยื่อไผ่) หากมีพื้นที่ดี ๆ คุณสามารถปลูกเองได้ด้วย ทำกินเองและส่งขายได้ด้วย เว็บไซต์เช็คสุขภาพ ขอเสนอวิธีเพาะเห็ดเยื่อไผ่ สูตรโลว์คอสต์ ลงทุนเพียง 200 บาทเท่านั้น ได้คืนกิโลกรัมละ 2 พันบาทกันเลยเชียวค่ะ

เตรียมวัสดุเพาะ

  • ใบไผ่
  • กิ่งไผ่แห้ง
  • กาบไผ่แห้ง
  • ไม้ไผ่แห้งผ่าซีก
  • ใบจามจุรีแห้ง
  • ขุยมะพร้าว
  • แกลบ
  • ตะกร้าหรือกระบะ
  • ก้อนเชื้อเห็ดเยื่อไผ่

วิธีเพาะ

  • ตั้งกระทะใบใหญ่ต้มน้ำ (ใส่น้ำให้เกือบเต็ม)
  • เติมน้ำตาลแดง 2-3 ช้อนโต๊ะ
  • กะปิแค่ตักติดปลายช้อน
  • นำไม่ไผ่ กิ่ง กาบ ลงต้มในกระทะ ปิดฝาทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง เพื่อน้ำตาลและกะปิจะได้ซึมเข้าไปเป็นอาหารหล่อเลี้ยงเชื้อเห็ด
  • จากนั้น นำมาผึ่งให้หมาด
  • เตรียมตะกร้าหรือกระบะ นำใบไผ่หรือใบจามจุรีรองก้นชั้นแรก ตามด้วยแกลบ
  • จากนั้น นำไม้ไผ่ผ่าซีกวางเรียง โดยด้วยขุยมะพร้าว และใบไผ่อีกรอบ
  • แกะก้อนเชื้อเห็ดหักใส่กระจายให้ทั่วบนใบไผ่ (ก้อนเชื้อ 1 ก้อนใช้ได้ 4 ตะกร้า)
  • โรยปิดด้วยใบไผ่ ทำเช่นเดิมไปอีก 1-2 ชั้น โรยปิดชั้นบนสุดด้วยกากมะพร้าวหรือใบก้ามปู
  • เสร็จแล้วให้นำไปวางไว้ในที่ร่ม อากาศโปร่ง แดดรำไร หรือโคนต้นไม้ รดน้ำ 1-2 วันครั้ง
  • ประมาณ 15 วัน ให้สังเกตชั้นไม่ไผ่จะเริ่มปรากฏเชื้อเห็นให้เห็นเป็นเส้นสีขาว ให้โรยด้วยแกลบและใบไผ่ทับ เพื่อบังคับให้ไผ่ออกดอกใหญ่ ๆ
  • ให้รดน้ำทุกวัน ควบคุมความชื้นให้สม่ำเสมอ ทิ้งไว้ 30-40 วัน จะเริ่มให้ผลผลิต
  • เห็ดเยื่อไผ่ประมาณ 1 กระบะ หรือ ตะกร้า ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวประมาณ 6 เดือน ครบกำหนดแล้ว ยังกลับตะกร้าพลิกชั้นบนลงล่าง เพาะต่อไปได้อีกหลายรุ่น จนกว่า จะไม่ปรากฏเชื้อเห็นเดินในไผ่ให้เห็น

เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” อยากให้ทุกคนมี สุขภาพดี หมั่นตรวจสุขภาพ ดูแลตัวเองให้มี สุขภาพดี และลงทะเบียนรับข่าวสารเกี่ยวกับ เช็คสุขภาพ เพื่อพร้อมสุขภาพร่างกายให้เป็นคนมี สุขภาพดี เสมอ อนึ่ง เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา

ไทยรัฐ. (2561). เพราะเยื่อเห็นไผ่ สูตรโลว์คอสต์ ลงทุน 200 .. ได้โลละ 2 พัน. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1184725     วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

HealthyChineseRecipe. (2018). Bamboo Fungus Recipe – Steamed Stuffed Bambook Fungus. แหล่งที่มา: www.healthy-chinese-recipe.com/bamboo-fungus-recipe.html     วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

09/06/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

ชาดอกกุหลาบ ได้จากดอกกุหราบสดที่คัดเลือกอย่างดี และนำมาผ่านกระบวนการทำให้แห้ง ดอกกุหลาบถือว่าเป็นราชินีแห่งบรรดาดอกไม้ เพราะนอกจากจะมีสีสันที่สวยงามและกลิ่นหอมรัญจวญใจแล้ว ยังสามารถนำดอกกุหลาบมาทำเป็นชา และมีสรรพคุณมากมายต่อสุขภาพอีกด้วย



จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) สมุนไพรบัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ) ผักแว่น (ภาคใต้) กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย



ตะไคร้เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ขึ้นอยู่รวมเป็นกอ อายุหลายปี สูง 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อและปล้องสั้น ๆ ค่อนข้างแข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนมีใบเรียงซ้อนกันแน่นมาก


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว