เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) : แผนปัจจุบัน หรือ สมุนไพร รักษาได้ดีกว่า
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จาก
มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) : แผนปัจจุบัน หรือ สมุนไพร รักษาได้ดีกว่า

มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นอย่างไร

เข้าใจพื้นฐานของโรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกก็เหมือนโรคมะเร็งทั่ว ๆ ไป คือเกิดเซลล์มะเร็งในส่วนล่างของปากมดลูกเติบโตผิดปกติ ละไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์ใหม่ในบริเวณที่เป็นมะเร็งจะถูกสร้างขึ้นและโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดขึ้นเป็นเนื้องอกในมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่เป็นกันมากที่สุดในสตรีทั้งโลก ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือ เช็คสุขภาพ ปากมดลูกบ่อยครั้งก็ควรทำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดหรือลุกลามของมะเร็งได้ มะเร็งปากมดลูกสามารถรักษาให้หายได้ หากพบในระยะเริ่มต้น นอกจากนี้ คุณผู้หญิงหลายคนควรหมั่นดูแลสุขภาพ และตรวจสุขภาพภายในเสมอ เพื่อป้องกันหรือควบคุมความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกพบบ่อยแค่ไหน

โรคมะเร็งปากมดลูกพบได้ง่ายมาก เพราะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในมะเร็งที่เป็นกันมากที่สุดในหมู่สตรีทั่วโลก และโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับสตรีทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถลดปัจจัยเสี่ยงได้ ทั้งนี้โปรดปรึกษาแพทย์เพิ่มรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร

อาการแบบไหนที่เป็นสัญญาณว่ามะเร็งปากมดลูกกำลังคุกคาม

คุณผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจะไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะต้น ๆ หรือระยะศูนย์ แต่อาการจะออกชัดเจนมากเมื่อเซลล์มะเร็งเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเมื่อเซลล์มะเร็งขยายตัวขึ้น บริเวณที่เป็นมะเร็งก็จะดันอวัยวะใกล้เคียงให้รู้สึกมากขึ้น อาจมีอาการเจ็บปวดตามมาบ้าง ทั้งนี้ อาการต่าง ๆ ของโรคมะเร็งปากมดลูกได้แก่

  • มีเลือดกระปิดกระปอยออกจากช่องคลอดแบบผิดปกติ เช่น มีเลือดออกระหว่างเป็นประจำเดือน ทำให้รู้สึกว่ามีประจำเดือนนานกว่าเดิม มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์หรือหลังวัยหมดประจำเดือน มีเลือดไหลหลังจากถ่ายอุจจาระ
  • มีอาการเจ็บหรือปวดที่ท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานบ่อย ๆ
  • เจ็บปวดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์
  • มีของเหลวไหลออกมาจากทางช่องคลอดที่ดูไม่ปกติ เช่น อาจมีเลือดปนออกมาด้วย

นอกจากอาการที่สามารถสังเกตได้เองจากข้างต้นแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น เกิดการติดเชื้ออันเนื่องมาจากอาการข้างต้น หากเกิดอาการเหล่านี้ ให้พบสูตินารีแพทย์ทันทีเพื่อตรวจภายใน หากยิ่งมองข้ามและไม่ใส่ใจกับสัญญาณเหล่านี้ ยิ่งอาจทำให้โรคลุกลามไปกว้างขึ้นและอาการแย่ลง และอาจไม่ได้มีโอกาสที่จะรักษาแบบหายขาดได้ ทั้งนี้ สตรีบางท่านอาจพบอาการหรือสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูกอื่นที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ในบทความนี้ หากกังวลหรือสงสัยว่าตัวเองจะมีอาการดังกล่าว แนะนำให้คุณผู้หญิง ตรวจสุขภาพ หรือ เช็คสุขภาพ ภายในกับสูตินารีแพทย์บ่อยขึ้น

สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกคือการที่คุณสุภาพสตรีได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Viruses - HPV) ไวรัสนี้แพร่จากคนสู่คนได้ เชื้อในกลุ่มนี้มีมากกว่าร้อยชนิด เนื่องจากเชื้อนี้ บางชนิดอาจทำให้เกิดลักษณะเหมือนหูด จึงเรียกว่า พาพิลโลมา ไวรัส (Papilloma Viruses) ที่จริงหูดนี้เกิดขึ้นได้ทั้งที่มือและเท้า และยังเกิดที่คอ และอวัยวะเพศ หูดที่อวัยวะเพศเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากเชื้อเอชพีวีได้มากกว่าร้อยชนิด คนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อหูด และไม่มีอาการและหายเองได้ แต่หูดบางชนิดสามารถอยู่ได้เป็นปีโดยที่ไม่ทำให้ผู้ได้รับเชื้อเกิดอาการหรือสัญญาณใด ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง เชื้อไวรัสหูดจะอาศัยอยู่ในเซลล์ที่เรียกว่า สกวามัส เซลล์ (Sqamous Cell) ซึ่งพบได้ที่ส่วนบนของผิวหนัง ปากมดลูก ช่องคลอด ทวาร ส่วนปลายของอวัยวะเพศชาย ปากและคอ

อย่างไรก็ตาม คุณสุภาพสตรีส่วนใหญ่จะมีเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้กันอยู่แล้ว ไวรัสเอชพีวีหลายชนิดติดแล้วไม่ทำให้เกิดอาการภายนอก บางชนิดทำให้เกิดหูดขึ้นที่อวัยวะเพศ และบางชนิดนำไปสู่โรคมะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้ ไวรัสเอชพีวีแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ เอชพีวี 16 และ เอชพีวี 18 ซึ่งที่เป็นสาเหตุกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของโรคมะเร็งปากมดลูก และการที่เชื้อเอชพีวีหลายตัวไม่ทำให้ผู้ที่ติดเกิดอาการ แน่นอนว่า ผู้หญิงหลายคนจึงคิดว่าตัวเองไม่น่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูก

ทั้งนี้ เชื้อเอชพีวีสามารถตรวจพบได้ง่ายจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจสุขภาพหรือเช็คสุขภาพภายใน และการตรวจคัดกรองจึงสำคัญมาก หากพบเจ้าอาการเบื้องต้นก็จะสามารถรักษาให้หายได้ทันที ก่อนที่จะรุกรามไปยังเซลล์อื่น ๆ ภายใน

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

ระยะที่ 0 – เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่กระจายตัว

ระยะที่ 1 – เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูกแล้ว

ระยะที่ 2 – เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกโดยไมได้ลุกลามไปไกลมาก แต่ไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว

ระยะที่ 3 – ระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน

ระยะที่ 4 – เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย

เมื่อไรจึงต้องเข้ารับการตรวจภายในด้วยสูตินารีแพทย์

หากคุณผู้หญิงรู้สึกถึงสัญญาณหรืออาการผิดปกติบริเวณปากมดลูก และสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคมะเร้งปากมดลูก แนะนำให้ปรึกษาสูตินารีแพทย์ทันที และสภาพร่างกายของคุณสุภาพสตรีแต่ละท่านนั้นแตกต่างกัน จึงอาจมีสัญญาณหรืออาการบ่งชี้บางอย่างไม่เหมือนกัน แนะนำให้เข้าพบสูตินารีแพทย์ทันทีที่สงสัยว่าตนเป็นมะเร็งปากมดลูก

คุณผู้หญิงติดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้อย่างไร

การติดเชื้อไวรัสเอชพีวีโรคที่พบจากการติดเชื้อนี้ได้แก่

1) หูดที่อวัยวะเพศ

2) มะเร็งปากมดลูก

3) โรคอื่น ๆ ได้แก่แผลที่อวัยวะเพศทั้งชาย และหญิง เชื้อไวรัสหูดบางชนิดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้น้อย ได้แก่ เอชพีวี 6 และ 11 ทำให้เกิดโรคหูดที่เรียกว่า คอนดิโลมา อะคิวมินาทุ่ม (Condyloma Acuminatum) เชื้อไวรัสเอชพีวีที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากมีโอกาสเกิดมะเร็งค่อนข้างสูง ได้แก่ชนิด เอชพีวี 16, เอชพีวี 18, เอชพีวี 31, เอชพีวี 35, เอชพีวี 39, เอชพีวี 45, เอชพีวี 51, เอชพีวี 52, เอชพีวี 58 และไม่ว่าเชื้อเอชพีวีชนิดที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งจะสูง หรือต่ำร่างกายจะกำจัดออกหมดในสองปีประมาณร้อยละ 90 ของคนที่ติดเชื้อ

กิจกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี

กิจกรรมใดบ้างที่ทำให้คุณผู้หญิงมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชพีวี

  • จากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี 16 และเอชพีวี 18
  • บุหรี่มีสารเคมีอยู่หลายชนอดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คุณสุภาพสตรีที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่
  • คุณสุภาพสตรีที่ใช้ยาประเภทยากดภูมิต้านทาน หรือยาที่ใช้รักษาโรคอื่น ๆ เช่น โรคเอดส์ มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีสูงมาก และจึงนำไปสู่โรคมะเร็งปากมดลูก
  • งานวิจัยบางชิ้นพบว่า สตรีที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เคยได้รับเชื้อคลามีเดีย (Chlamydia) มาก่อน
  • สตรีที่มีน้ำหนักเกินนั้นมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงมาก
  • สตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น
  • สตรีที่ผ่านการตั้งครรภ์มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกสูงมาก
  • สตรีที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกช่วงอายุ 17 ปีหรือน้อยกว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกสูงมาก
  • สภาพทางเศรษฐกิจครอบครัวที่ย่ำแย่ทำให้สตรีในครอบครัวแบบนี้ได้รับความรู้และวิธีป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกน้อย และไม่ได้รับบริการด้านสุขภาพ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างเพียงพอ
  • สตรีตั้งครรภ์ที่ใช้ยาไดเอ็ททิลสตลิเบสตรอล (Diethylstilboestrol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จัดให้คุณสุภาพสตรีเพื่อป้องกันการแท้งบุตร จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกสูงมาก และสตรีที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ก็จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้สูงเช่นกัน
  • สตรีที่มีสมาชิกครอบครัวที่มีประวัติการเป็นมะเร็งปากมดลูกมีโอกาสสูงมากที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งอื่น ๆ ที่เกิดจาดเชื้อไวรัสเอชพีวี

นอกจากเชื้อไวรัสเอชพีวีจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังทำให้เกิดมะเร็งอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น

1) ประมาณร้อยละห้าสิบของผู้ป่วยมะเร็งที่แคมใหญ่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV

2) มะเร็งที่อวัยวะเพศชาย

3) มะเร็งช่องคลอด

4) มะเร็งท่อปัสสาวะ

5) มะเร็งที่ต่อมทอนซิล มะเร็งที่ลิ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

โรคมะเร็งปากมดลูกมีการวินิจฉัยโรคอย่างไร

สูตินารีแพทย์จะใช้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นหลักในการวินิจฉัยโรค แพทย์อาจตรวจอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค และเพื่อหาเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูก หากแพทย์พบว่า เบื้องต้นที่ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติ อาจมีการตัดเนื้อตัวอย่างเพื่อตรวจ หากพบความผิดปกติ เช่น สังเกตว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นภายในปากมดลูก หรือมีการตกเลือด จึงอาจต้องการมีการตรวจซ้ำเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม การตกเลือดไม่ได้แปลว่าจะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกเสมอไป เชื้อคลามีเดียก็เป็นสาเหตุของการตกเลือดในสตรีได้เช่นกัน ดังนั้น แพทย์อาจแนะนำให้คุณสุภาพสตรีเข้ารับการตรวจหาเชื้อคลามีเดียด้วย

แพทย์อาจทำการตรวจอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น

  • การตรวจช่องคลอดด้วยกล้องไมโครสโคปขนาดเล็ก
  • ตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกเพื่อส่งตรวจ การตัดเชื้อเนื้อทำร่วมกับการใช้ยาชา และขนไข้อาจมีเลือดไหลที่อวัยวะเพศนานถึง 4 เดือน หลังผ่าตัด คนไข้อาจรู้สึกเหมือนมีอาการปวดประจำเดือน

และหากแพทย์ยังไม่แน่ใจอีกว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ แพทย์อาจต้องตรวจระยะของมะเร็งต่อ ซึ่งการตรวจยังรวมถึง

  • ตรวจมดลูก อวัยวะเพศ ช่องทวารหนัก และกระเพาะปัสสาวะเพื่อหามะเร็ง โดยทำร่วมกับการใช้ยาชา
  • ตรวจเลือดเพื่อตรวจดูสุขภาพของ กระดูก เม็ดเลือด และไต
  • คอมพิวเตอร์แสกน เช่น แสกนเอ็มอาร์ไอ เอ็กซ์เรย์ และแพทสแกน เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกจากภาพฟิล์ม เพื่อตรวจหาเนื้องอกและดูว่าเซลล์มะเร็งแพร่กระจายหรือไม่

มะเร็งปากมดลูกรักษาอย่างไร

ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วย ในร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันและกำจัดเชื้อออกจากร่างกายเองได้ในหนึ่งปี และคุณสุภาพสตรีกว่าร้อยละ 90 จะกำจัดเชื้อเอชพีวีออกหมดในระยะเวลา 2 ปี ปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาการติดเชื้อเอชพีวี ที่สามารถทำได้คือการรักษาเซลล์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการติดเชื้อ เช่น การกำจัดเอาหูดออก

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคมะเร็งเป็นอะไรที่ซับซ้อน ดังนั้น โรงพยาบาลจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะรุนแรงโดยเฉพาะ ถึงแม่ว่า การรักษามะเร็งปากมดลูกที่ตรวจพบในระยะแรกเป็นเรื่องที่ดีที่สุด แต่หลายกรณี ก็ไม่สามารถตรวจเจอมะเร็งระยะเริ่มต้นนี้ได้ การรักษามะเร็งปากมดลูกโดยปกติแล้ว มีทางเลือกในการรักษาด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดฉายแสง และการทำเคมีบำบัด

การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการการผ่าตัด

การผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก คือการผ่าตัดเอาเนื้อบางส่วนที่ติดเชื้อมะเร็งออก และการผ่าตัด จะตัดเอาส่วนที่เป็นเซลล์ที่ได้รับเชื้อมะเร็งออก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง บางกรณีอาจจำเป็นที่จะต้องตัดรังไข่ออกด้วย และจำให้คุณสุภาพสตรีไม่สามารถมีลูกได้อีก บางราย การผ่าตัดอาจรวมไปถึง การผ่าตัดมะเร็งอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง การผ่าตัดเอาปากมดลูกออก การผ่าตัดช่องคลอด การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ รังไข่ ท่อนำไข่ และช่องทวารหนัก

การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการบำบัดฉายแสง

หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งในระยะแรก ๆ อาจทำการบำบัดฉายแสงเพื่อการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกได้ และบางรายอาจต้องใช้การผ่าตัดร่วม หากมะเร็งแพร่กระจายมากขึ้น แพทย์อาจใช้วิธีรังสีบำบัด หรือการฉายแสง ควบคู่กับการทำคีโมบำบัด เพื่อลดการสูบเสียเลือดและให้มีความเจ็บปวดน้อยลง

การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการทำเคมีบำบัด

ในบางราย เคมีบำบัดก็เพียงพอ หรือควบคู่กับการฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะช่วงระยะรุนแรง การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการด้วยการทำเคมีบำบัดเพื่อป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็ง แพทย์จะนัดหมายให้เข้ารับการทำเคมีบำบัดโดยให้ยาทางหลอดเลือดดำ ทั้งนี้ การทำเคมีบำบัดมีผลข้างเคียง เช่น ประจำเดือนอาจหมดก่อนวัยอันควร ช่องคลอดแคบลง และมีอาการบวมน้ำเกิดขึ้นหลังทำการบำบัด

กิจกรรมและวิถีชีวิตในชีวิตประจำวันที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

การใช้ชีวิตและการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่บ้านสามารถทำด้วยตัวเองได้ เช่น

  • พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อฝูง หรือญาติ หรือผู้ที่มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกจริง ๆ เพื่อให้บรรเทาความกังวล และจะให้ดี ปรึกษาแพทย์หากสงสัยว่าตัวเองเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณปากมดลูก หรือหาเชื้อเอชพีวีในมดลูก และติดตามผลหลังตรวจ หากพบว่ามีเชื้อหรือเป็นมะเร็งปากมดลูก ให้เข้ารับการรักษาทันที
  • หากอายุยังไม่ถึง 26 ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนเอชพีวี ที่ช่วยป้องกันการรับเชื้อเอชพีวี 16 และเอชพีวี 18 เพราะเอชพีวี 2 ประเภทนี้เป็นเชื้อเอชพีวีหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เช่น สวมถึงยางอนามัย ไม่สำส่อนทางเพศ และไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่สำส่อนทางเพศ
  • การสวมถุงยางอนามัยก็พอป้องกันได้แต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากการถูไถของผิวหนังก่อนการสวมถุงยางก็สามารถติดเชื้อเอชพีวีได้ และถุงยางก็ไม่สามารถคลุมอวัยวะเพศชายได้ทั้งหมด

รักษามะเร็งปากมดลูกด้วยสมุนไพรได้จริงหรือ

จากข้อมูลปัจจุบัน ยังไม่มียากรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก มีแต่ผ่าตัด ฉายรังสีและทำคีโมเท่านั้น และยิ่งการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคมะเร็งตามที่เห็นเป็นข่าวนั้น ยังไม่มีรายงานผลการรักษาที่น่าเชื่อถือได้และชัดเจน มักพูดกันปากต่อปาก หรือเป็นไปตามกระแส ทำให้เกิดความเข้าใจผิด คิดว่ามีสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งได้ ยิ่งกว่านั้น สุมนไพรบางชนิดยังผสมสารเคมีบำบัดเข้าไปด้วย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกช้อน เช่น มีการดไขกระดูมากขึ้น และหากผู้ป่วยรักษาร่วมกับแผนปัจจุบันอีก อาจะให้ได้รับยาไม่ตามที่กำหนด จึงส่งผลเสียต่อการตอบสนองของยาแผนปัจจุบัน และอาจทำให้เกิดการรักษาที่ล้มเหลวในที่สุด

เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” อยากให้ทุกคนมี สุขภาพดี หมั่นตรวจสุขภาพ ดูแลตัวเองให้มี สุขภาพดี และลงทะเบียนรับข่าวสารเกี่ยวกับ เช็คสุขภาพ เพื่อพร้อมสุขภาพร่างกายให้เป็นคนมี สุขภาพดี เสมอ อนึ่ง เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา

Cancer. (2018). Cerical Cancer. แหล่งที่มา: http://www.cancer.org/cancer/cervicalcancer/.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

WebMD. (2018). Cerical Cancer. แหล่งที่มา: http://www.webmd.com/cancer/cervical-cancer/cervical-cancer-topic-overview.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). มะเร็งปาดมดลูก. แหล่งที่มา: https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/protfolio/knowledge/gyne/servix.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

ศิริราช. (2561). มะเร็งปาดมดลูก. แหล่งที่มา: www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/943_1.pdf.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2561). คำถามเรื่องมะเร็งปากมดลูก. แหล่งที่มา: www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/943_1.pdf.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

ศิริราช. (2561). มะเร็งปาดมดลูก ... ภัยที่ป้องกันได้. แหล่งที่มา: www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/943_1.pdf.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

Siriraj E-Public Library. (2561). มะเร็งปาดมดลูก. แหล่งที่มา: www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=943.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

Siriraj E-Public Library. (2561). มะเร็งปาดมดลูก ป้องกันได้. แหล่งที่มา: www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=937.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2561). วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปาดมดลูก. แหล่งที่มา: www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=937.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

ศิริราช. (2561). เรื่อง “มะเร็งปากมดลูก : การป้องกันและรักษา”. แหล่งที่มา: www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1297.    วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

10/06/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้เป็นโรคของผู้ใหญ่ไม่ว่าจะคนไทยหรือคนทั่วโลก มักพบในอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป แต่อาจพบในเด็กโตได้ โดยผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน



ตัวอ่อนของพยาธิในระยะติดต่อมีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัยแต่มีหนามน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้มซึ่งฝังตัวอยู่ในเนื้อของสัตว์พาหะ 



ไตสร้างฮอร์โมนหลายชนิด สารควบคุมความดันโลหิต สารสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างสารเสริมกระดูก ช่วยทำให้ระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียม ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว