เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) ใช้อย่างไรไม่ให้ท้อง
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) ใช้อย่างไรไม่ให้ท้อง

ยาคุมกำเนิดคืออะไร

ยาคุมกำเนิด (Contraceptive Pill หรือ Birth Control Pill) เป็นยาที่ใช้กับการคุมกำเนิด หากพูดถึงยาคุมกำเนิดแล้ว ส่วนใหญ่จะนึกถึงยาเม็ดแผงคุมกำเนิดที่ใช้รับประทาน ซึ่งบรรจุฮอร์โมนเพสหญิงไว้ ออกฤทธิ์และมีผลต่อการทำงานต่ออวัยสืบพันธ์ุเพศหญิง ทั้งปากมดลูก ทั้งผนังมดลูก และรังไข่ ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ ยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

ชนิดของยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม Combined Pill ตัวยาจะบรรจุฮอร์โมนสังเคราะห์เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ยาจะยับยั้งกระบวนการตกไข่ในเพศหญิง สร้างเมือกที่บริเวรปากมดลูก จนทำให้เชื้ออสุจิเดินทางยากขึ้น และไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ และผลก็คือ ทำให้ผนังมดลูกบาง เพื่อไม่ให้ไข่ฝังตัวที่ผนังมดลูกได้สำเร็จ และอีกชนิดคือ ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดียว (Progestrogen-only Pill) ตัวยาจะบรรจุฮอร์โมนโปรเจสโตเจนไว้แค่อย่างเดียว เมื่อรับประทานยาแล้ว จะทำให้เกิดการสร้างเมือกหนาบริเวณปากมดลูกได้ยากขึ้น และทำให้ผนังมดลูกบางลงจนไม่เอื้อให้เกิดการฝังตัวของไข่ที่ผสม ส่งผลให้ระบบท่อนำไข่ ให้ไข่ผ่านเข้าไปได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนตัวเดียวยังถูกแนะนำให้ใช้ในกรณีของผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร และในสตรีบางท่านที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น ผู้หยิงที่มีอาการลิ่มเลือดอุดตัน การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมจะได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น โดยจะส่งผลต่อทารกผ่านการให้น้ำนมด้วย และมีผลต่อสุขภาพของผู้ที่ป่วยด้วยภาวะบางประการ

ยาคุมกำเนิด นอกจากมีฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยาคุมที่บรรจุฮอร์โมนเพศจะส่งผลในทางรักษาต่อผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนมาก กลุ่มอาการต่าง ๆ ก่อนมีประจำเดือน และอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ยาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียงหรือไม่อย่างไร

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม

  • หลังใช้ยา อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น อาการปวดหัว คลื่นไส้ ปวดบริเวณหน้าอก มีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด มีเลือดไหลก่อนวันที่ประจำเดือนมาจริง หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือน แนะให้คุณผู้หญิงควรเปลี่ยนยา หรือเปลี่ยนไปใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น
  • ในผู้ใช้บางราย อาจทำให้เกิดความอันโลหิตสูง หากเป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้วควรระวัง
  • หากอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป และเป็นคนที่สูบบุหรี่ หรือกำลังใช้ยาอื่น ๆ อยู่ ไม่ควรใช้ยานี้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนเดียว

  • หากใช้ยาเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้ผิวเป็นฝ้า กระได้
  • อาจมีผลกระทบต่อประจำเดือน เช่น ประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ บางครั้งมาน้อย บางครั้งมามาก หรือมาบ่อยขึ้น
  • บางรายอาจมีเลือดไหลก่อนจะถึงรอบประจำเดือนจริง
  • งดใช้ยาคุมกำเนิดหากกำลังป่วย คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วงอย่างรุนแรง
  • หากใช้ยาอื่นร่วม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

หากต้องการให้การรับประทานยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการตั้งครรภ์ ต้องใช้ยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้องอยู่เสมอ ทั้งในแง่ของปริมาณการใช้ และตามกำหนดเวลาการใช้ หากลืมรับประทานยา ให้ปรึกษาเภสัชกร และทำตามคำสั่งของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด

วิธีใช้ยาคุมกำเนิด

สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด ให้รับประทานวันละ 1 เม็ด โดยเริ่มจากเม็ดแรกตามวันในสัปดาห์ที่มีสัญลักษณ์อยู่บนแผง แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ ติดต่อกันทุกวัน เมื่อยาหมดแผง หยุดรับประทานยา 7 วัน (ซึ่งเป็นวันที่ประจำเดือนมา) เมื่อเข้าสู่วันที่ 8 ไม่ว่าจะจำเดือนจะหมดหรือยังมาอยู่ ก็ต้องเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ต่อไปได้ทันที โดยต้องรับประทานยาทุกวันในเวลาเดียวกันเสมอ หากลืมรับประทานยาภายใน 24 ชั่วโมง ให้รับประทานยาทันทีที่รู้ตัว และรับประทานยาเม็ต่อไปตามปกติ แต่หากลืมรับประทานยานานเกิน 48 ชั่วโมง ให้ข้ามไปรับประทานยาตามวันปัจจุบัน และใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นช่วยเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลา 7 วันหลังกลับมารับประธานยาแล้ว

ส่วนยาคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ด ให้รับประทานวันละ 1 เม็ด ติดต่อกันทุกวัน และเมื่อยาหมดแผง สามารถเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้ทันที และการรับประทานยาจะต้องเป็นในเวลาเดียวกันเสมอ หากลืมรับประทานยาภายใน 3 วัน หรือ 12 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับชนิดของยา) ให้รับประทานยาเม็ดทันทีที่รู้ตัว ให้รับประทานเพียงเม็ดเดียว และรับประทานยาเม็ดต่อไปตามเวลาปกติ และต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลา 2 วันถัดมา หรือใช้วิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ แทน ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนตัวเดียวจะใช้เวลา 2 วัน ในการสร้างเมือก ที่หนาป้องกันสเปิร์มไปผสมไข่ได้

ผู้ที่ต้องการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ควรรับประทานยาเม็ดแรกในเวลาที่สะดวก และเหมาะสม เพราะต้องรับประทานยาในเวลาเดิมทุกวัน

หากสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ให้ศึกษาข้อมูลบนฉลาก รวมทั้งปรึกษาแพทย์และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มใช้ยา  

ยาคุมกำเนิดที่ใช้บ่อยและมีประสิทธิภาพมากในท้องตลาด

  • Yasmin: ยัสมิน มี 21 เม็ด มี Drospirenone 3 มิลลิกรัม / EE 0.03 มิลลิกรัม ส่วน Yaz (ยาส มี 28 เม็ด และมีฮอร์โมน 24 เม็ด) จะมี Drospirenone 3 มิลลิกรัม / EE 0.02 มิลลิกรัม โดยตัว Drospirenone มีฤทธิ์คล้ายยาขับปัสสาวะ จะเหมือนว่าเป็นยาขับปัสสาวะอ่อน ๆ จึงช่วยลดอาการบวมน้ำ ทำให้น้ำหนักตัวคงที่ไม่เพิ่มขึ้น เหมาะกับสาว ๆ ที่ไม่อยากอ้วนหรือบวมน้ำ นอกจากนี้ ยังช่วยอาการคัดตึงเต้านม ช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน และมีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย จึงช่วยลดสิวที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชาย ลดไขมันบนใบหน้าและเส้นผมได้
  • Diane-35: ตัวนี้ระดับเอสโตรเจนจะสุงมาก จึงให้ผิวดูมีน้ำมีนวลขึ้น ช่วยลดฮอร์โมนเพศชายในร่างกายได้ จึงช่วยลดอาการหน้ามัน ผมมัน ผมร่วง ขนดก และสิวจากฮอร์โมน แต่ผลข้างเคียงก็จะมีเช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ปวดศีรษะ คัดเต้านม เลือดออกกระปิดกระปอยทางช่องคลอด และยังมีอาการบวมน้ำได้ในบางราย

หากสุภาพสตรีท่านใดไม่สะดวกมาพบแพทย์ ก็สามารถซื้อยาทานเองได้ แต่ต้องศึกษารายละเอียดให้รู้ชัดก่อนใช้ หรือลองปรึกษาเภสัชกรในร้านยาใกล้บ้านก็ได้ เมื่อใช้เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ เช่น 1 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเสมอ

ยาคุมกำเนิดไม่มียี่ห้อไหนที่ดีที่สุด และเหมาะกับทุกคนมากที่สุด เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงต้องเลือกที่เหมาะกับสรีระของแต่ละคน

หากถามว่ากินยาคุมแล้วอ้วนไหม ต้องตอบว่า ขึ้นอยู่กับชนิดของยาและสรีระของแต่ละคน ถ้าเป็นคนที่อ้วนง่ายหรือมีแนวโน้มว่าจะอ้วนง่ายแยู่แล้ว รับประทานยาคุมก็จะเห็นว่าอ้วนทันที แต่ถ้าเป็นคนผอมอยู่แล้ว จะกินเท่าไรก็คงจะไม่อ้วน

เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” อยากให้ทุกคนมี สุขภาพดี หมั่นตรวจสุขภาพ ดูแลตัวเองให้มี สุขภาพดี และลงทะเบียนรับข่าวสารเกี่ยวกับ เช็คสุขภาพ เพื่อพร้อมสุขภาพร่างกายให้เป็นคนมี สุขภาพดี เสมอ อนึ่ง เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา:

เช็คสุขภาพ. (2561). ยาคุมฉุกเฉิน … ฉุกเฉินแค่ไหนจึงต้องใช้ยาคุมฉุกเฉิน. เข้าถึงเมื่อ: 20 มิถุนายน 2561

เม็ดไทย. (2561). ยาคุมกำเนิด วิธีกินยาคุมกำเนิด & รีวิวยาคุมกำเนิด 32 ยี่ห้อ!. เข้าถึงเมื่อ: 20 มิถุนายน 2561

Honesdocs. (2561). วิธีกินยาคุมฉุกเฉินให้ปลอดภัย ป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมั่นใจ และเทียบวิธีคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ. เข้าถึงเมื่อ: 20 มิถุนายน 2561

Sanook. (2561). ยาคุมกำเนิด กินอย่างไรให้ถูกวิธี ป้องกันการตั้งครรภ์ได้แน่นอน. เข้าถึงเมื่อ: 20 มิถุนายน 2561

ถามหมอ. (2561). ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) ใช้อย่างไรไม่ให้ท้อง. เข้าถึงเมื่อ: 20 มิถุนายน 2561

20/06/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

เดือนรอมฎอม เป็นเดือนของการถือสินอด ผู้ที่ถือศีลจะต้องอดอาหาร เครื่องดื่ม อดกลั้นจากการทำความชั่วทั้งปวง แม้แต่นึกคิดที่จะทำผิดก็ไม่ได้



จากงานวิจัยของแพทย์นักวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า คนไทยกว่าร้อยละ 50 ได้รับแคลเซียม



นักวิจัยอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยผลสำเร็จนวัตกรรม “ข้าวน้ำตาลต่ำ”


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว