เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / สองสมาคมร่วมรณรงค์ดูแลเด็กห่างไกลจากปอดบวม
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
สองสมาคมร่วมรณรงค์ดูแลเด็กห่างไกลจากปอดบวม

20 พฤศจิกายน 2561, กรุงเทพฯ - มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชนร่วมมือกับสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย รณรงค์คนไทยใส่ใจสุขภาพ เรียนรู้การดูแลให้ห่างไกลจากโรคปอดบวม พร้อมเดินหน้าสานต่อโครงการจัดหารวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส เพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงปีที่ 3 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทย เนื่องในวันปอดบวมโลก (World Pneumonia Day 2018)

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 12 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันปอดบวมโลกหรือ World Pneumonia Day เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐและเอกชน รวมทั้งเครือข่ายองค์กรระหว่างประเทศ สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วโลก ได้ตระหนักถึงความสำคัญ พร้อมรณรงค์ป้องกันและปลุกจิตสำนึก เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดบวม ซึ่งจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของเด็กนับล้านคนจากโรคปอดบวมที่เกิดขึ้นในแต่ละปี

โรคปอดบวม ถือได้ว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยจากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่าเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูง มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ โดยเฉพาะในเด็กช่วงอายุ 5 ขวบปีแรกและผู้สูงวัย การสร้างความตระหนัก เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง รวมไปถึงวิธีการป้องกันโรคปอดบวมจึงเป็นสิ่งที่สังคมและสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้ความสำคัญ เพื่อสามารถรับมือกับโรคปอดบวมอย่างถูกวิธี

รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทสไทย เปิดเผยว่า “โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ถึง 1 ใน 3 มาจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus Pneumoniae หรือ เชื้อนิวโมคอคคัส ผู้ป่วยปอดบวมจะมีอาการไข้ ไอและหอบเหนื่อย บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กทารกแรกคลอด - ห้าขวบปีแรกและผู้สูงอายุซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ

จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 ตุลาคม 2561 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยปอดบวมแล้วมากกว่า 230,000 ราย เสียชีวิต 184 คน โดยกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 2 อันดับแรกคือ ผู้สูงอายุมากกว่า 55 ปีและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี สองกลุ่มรวมกันคิดเป็นร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคจากอาการและการตรวจร่างกายผู้ป่วย เช่น การเอกซ์เรย์ปอด และการตรวจเสมหะ ซึ่งการรักษาโรคปอดบวมมีด้วยกันหลากหลายวิธี เช่น การให้ยาต้านไวรัส (โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่) ยาปฏิชีวนะ (โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย)

แต่ปัจจุบัน ในบ้านเรามีการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกวิธีอย่างแพร่หลาย ทำให้พบปัยหาเชื้อดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การป้องกันโรคปอดบวมด้วยการฉีดวัคซีนจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพราะนอกจากจะลดโอกาศการเป็นโรคแล้ว ยังสามารถลดปัยหาการดื้อยาจากการที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะตั้งแต่แรกได้ด้วย ซึ่งวัคซีนที่สำคัญที่นำมาใช้ในการป้องกันโรคปอดบวมคือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส หรือที่เรียกกันในชื่อวัคซีนไอพีดี ในเด็กเล็ก หรือวัคซีนปอดบวมในผู้ใหญ่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนแล้ว การป้องกันปอดบวมด้วยวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่คนแออัด อย่างห้างสรรพสินค้า และโรงพยาบาล หลีกเลี่ยงการเลี้ยงเด็กในเนอสเซอรี่ที่อาการถ่ายเทไม่สะดวกและไม่คำนึงถึงความสะอาด คนที่ป่วยเป็นไข้หรือมีอาการของระบบทางเดินหายใจควรปิดปากเวลาไอ จาม รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และที่สำคัญควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ ประธานกรรมการมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชนและอดีตอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ เปิดเผยว่า มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่มีต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งในปัจจุบัน นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็กไทย ซึ่งเน้นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนสำหรับเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อนิวโมคอคคัส และสามารถได้รับการป้องกันเป็นอันดับแรก เช่น เด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากสาเหตุต่าง ๆ หรือมีโรคเรื้อรังของอวัยวะต่าง ๆ

นอกจากนี้ ในปีนี้มูลนิธิฯ ยังเดินหน้าสานต่อความร่วมมือกับสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ในโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสเพื่อกลุ่มเด็กเสี่ยง ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการฯ ที่จัดขึ้นต่อเนื่องในทุกปีนี้จะสามารถป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวมในเด็กกลุ่มเสี่ยง ซึ่งจะส่งผลในการช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในเด็กกลุ่มนี้ รวมถึง ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไม่ให้ระบาดในชุมชนต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน ทั่วโลกตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสเพิ่ฝมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีมากกว่า 150 ประเทศ ที่บรรจุวัคซีนป้องกันโรคติดต่อเชื้อนิวโมคอคคัสเข้าไปในวัคซีนพื้นฐาน

วัคซีนพื้นฐานคือวัคซีนที่ประเทศนั้น ๆ มีสิทธิ์เข้าถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับประเทศไทยมีเด็กเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสเพียง 10% ซึ่งก็อยู่ในแผนระยะยาวของเราที่จะต้องผลักดันให้วัคซีนนี้บรรจุอยู่ในวัคซีนพื้นฐานเช่นกัน

รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สมาคมฯ ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางความรู้ทางด้านวิชาการโรคติดเชื้อเด็กรวมถึงมุ่งเน้นพัฒนาการดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในเด็ก เรายังคงมีความมุ่งมั่นในการให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคและลดการเสียชีวิตจากโรคมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ เราได้เดินหน้าสานต่อความร่วมมือกับมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ในโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส เพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยง เพื่อเป็นตัวกลางในการส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลที่เด็กกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไอพีดียังไม่สามารถเข้าถึงการป้องกันโรคนี้ได้ เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็กเล็กให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมไทย โดยในปีที่แล้ว ทางสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคไอดีพีเพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงจำนวน 5,000 โด๊ส แก่โรงพยาบาล 27 แห่ง ซึ่งมีเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไอพีดีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันไปแล้วมากกว่าหลายพันคน และในปีนี้ เรายังคงเดินหน้าส่งมอบวัคซีนจำนวน 5,000 โด๊สเพื่อสามารถเข้าถึงเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้เพิ่มและทั่วถึงยิ่งขึ้น โดยจะครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย”

“เมื่อใดที่ภาครัฐสนับสนุนให้วัคซีนป้องกันโรคติดต่อนิวโมคอคคัสบรรจุอยู่ในวัคซีนพื้นฐานให้เด็กไทยทุกคนจะมีประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างเป้นอย่างมาก ดังจะเห็นในข้อมูลของหลาย ๆ ประเทศที่บรรจุวัคซีนนี้เป็รวัคซีนพื้นฐานแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นอร์เวย์ เดนมาร์ก สเปน พบว่า ไม่เพียงแต่เด็กที่ได้รับวัคซีนจะมีโอกาสเกิดโรคลดลง แต่ในผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีนก็ได้รับประโยชน์ในการลดโอาสการติดเชื้อได้เช่นกัน เพราะวัคซีนจะไปลดปริมาณเชื้อที่อยู่ในลำคอของเด็กเมื่อเชื้อที่คอลดลง การแพร่กระจายโรคในชุมชนก็ลดลงด้วยนั่นเอง” รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ทวี กล่าวทิ้งท้าย

อนึ่ง โครงการจัดหารวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส เพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงปีที่ 3 เนื่องในวันปิดบวมโลก โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชนและสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคไอพีดีให้กับเด็กไทยทั่วทุกภูมิภาคที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไอพีดี (IPD) และไม่สามารถเข้าถึงการสร้างเสริมภุมิคุ้มกันโรคนี้ทั่วประเทศ โดยเริ่มส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางทั่วทุกภูมิภาคตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป

World Health Organization. (2018). World Pneumonia Day. Accessed 20 November 2018.

Prina et al. "Community-acquired pneumonia." Lancet 2015; 386: 1097-108. Published Online August 13, 2015.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 Pneumonia. [online]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561

 

20/11/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอริส ดีท็อกซ์ ทริปเปิ้ล xxx และ เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์ โฆษณาเกินจริงอวดอ้างลดน้ำหนักทางสื่อออนไลน์



อย.เตือนพบผลิตภัณฑ์ 3 ตัวควีนเฮิร์บ (Queen Herb) ไม่ขออนุญาต แถมโฆษณาเกินจริงทางสื่อออนไลน์ อ้างลดอ้วน



จับตาสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และไส้ตรง หลังพบสถิติผู้ป่วยประเทศไทยรั้งอันดับ 5 ของโลก ระบุหากไม่มีนโยบายการคัด


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว