เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / รู้หรือไม่ ... ยาแก้โรคซึมเศร้าไม่ได้ช่วยให้หายซึมเศร้าจริง ๆ
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
รู้หรือไม่ ... ยาแก้โรคซึมเศร้าไม่ได้ช่วยให้หายซึมเศร้าจริง ๆ

8 กุมภาพันธ์ 2562, กรุงเทพ --- ข่าวหมอสั่งจ่ายยาแก้โรคซึมเศร้าให้กับเด็ก 2 ขวบในต่างประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ สร้างความฮือฮาในบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่า งานวิจัยทางเภสัชกรรมบอกว่า ยาแก้โรคซึมเศร้าใช้ไม่ได้ผลจริง ๆ

รายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท GlaxoSmithKline ซึ่งเป็นบริษัทยายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งในอังกฤษไม่ยอมเปิดเผยและตีพิมพ์ผลการวิจัยล่าสุดของตัวเองที่พบว่า ยาแก้โรคซึมเศร้าใช้ไม่ได้ผล เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อตลาดผู้บริโภคที่ยังใช้ยานี้กันอย่างแพร่หลาย และทำรายได้ให้กับผู้ผลิตเป็นกอบเป็นกำ

ที่ผ่านมามีการทดสอบทางคลินิกใหญ่ 2 ชุด โดยใช้รหัส 329 และ 377 ทดสอบยา Seroxat (Paroxetine) ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง และผลวิจัยของทั้งสองชุดพบว่า ยาดังกล่าวไม่ได้ผลดีไปกว่ายาหลอกหรือเม็ดน้ำตาล

แม้จะมีผลการวิจัยออกมาแล้วก็ตาม GlaxoSmithKline ยังทราบอีกว่า ยาดังกล่าวมีแนวโน้มจะกระตุ้นให้ผู้ใช้ยาฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยวัยรุ่น

การค้นพบชนิดเต็มรูปแบบจากงานวิจัยหลายชิ้นที่ทำขึ้นในปี 1998 ได้นำมาถูกเปิดเผยในปีที่ผ่านมา เมื่อหน่วยงานด้านกฎระเบียบเพื่อการดูแลสุขภาพและการแพทย์ ของอังกฤษออกประกาศเลิกใช้ยาดังกล่าวในหมู่ผู้ป่วยเด็ก เพราะมันใช้ไม่ได้ผลจริง

ในขณะเดียวกัน องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ เห็นชอบที่จะให้มีการตรวจสอบการสั่งจ่ายยาแก้โรคซึมเศร้าให้กับเด็ก ๆ อีกครั้ง เพราะยาเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับเด็ก ๆ แต่แพทย์สามารถสั่งยาให้ผู้ป่วยเพื่อช่วยในการบำบัดได้

จากสถิติ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในสหรัฐฯ เป็นเยาวชนกว่าร้อยละ 2 และได้รับยาแก้โรคซึมเศร้าจากแพทย์ การใช้ยาแก้โรคซึมเศร้าที่ไม่ไดรับอนุญาตนี้สูงขึ้นร้อยละ 400 ในช่วงปี 1988 และ 1994

องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ยอมรับว่า ยาดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นยาหลอกที่ออกฤทธิ์ให้เกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ได้มีตัวเลขที่ระบุว่า มีจำนวนผู้ป่วยเด็กกี่คนที่พยายามฆ่าตัวตายในระหว่างที่ใช้ยาแก้โรคซึมเศร้า

แหล่งที่มา:

 The Guardian, 3 February 2004; Journal of the American Medical Association, 2003; 290: 1033-41

07/02/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง


หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย จัดเป็นพืชเถา ผลเป็นฝักยาว คล้ายถั่วลันเตา มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก



เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อย ลำต้นเป็นข้อปล้อง อวบน้ำ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นบริเวณข้อ สีเขียวสด เมื่อขยี้จะมีน้ำลื่นคล้ายเมือก


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว