เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ผักกวางตุ้ง-ส้ม ครองแชมป์ พบสารพิษบ่อยที่สุด สูงเกินมาตรฐาน 41%
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ผักกวางตุ้ง-ส้ม ครองแชมป์ พบสารพิษบ่อยที่สุด สูงเกินมาตรฐาน 41%

27 มิถุนายน 2562, กรุงเทพ --- เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แถลงผลการตรวจผักและผลไม้ประจำปี 2562 โดยความร่วมมือกับองค์กรภาคีต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานรัฐ งานราชการ เช่น องค์การอาหารและยา สาธารณสุขท้องถิ่น โรงพยาบาลทิ้งถิ่น องค์กรผู้บริโภค ฯลฯ ในจังหวัดต่าง ๆ โดยเก็บตัวอย่าง 286 ตัวอย่างจ้าห้างค้าปลีก ตลาดสดทั่วกรุงเทพ เชียงใหม่ ขอนแก่น ยโสธร สระแก้ว จันทบุรี ราชบุรี และสงขลา ครอบคลุมผัก 15 ชนิด และผลไม้ 9 ชนิดที่นิยมบริโภคทั่วไป โดยส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO-17025 ในสหราชอาณาจักร พบว่า ผักและผลไม้ที่ส่งตรวจมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึง 41%

จากผลการตรวจสอบพบว่า ผักที่พบสูงเกินค่ามาตรฐานคือ ผักกวางตุ้ง รอลงมาคือ คะน้า กะเพรา พริก กะหล่ำดอกและปักชี ส่วนผลไม้ที่พบการตกค้างเกินค่ามาตรฐานที่สุดคือ ส้ม รองลงมาคือ ชมพู่ ฝรั่ง องุ่น

ผักที่มีค่าสารพิษตกค้างไม่เกินมาตรฐานได้แก่ กระเทียมจีน กะหล่ำปลี และมะละกอดิบ และผลไม้ได้แก่ กล้วยหอม มะม่วงสุกและแอเปิ้ล

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ เมื่อเปรียบเทียบผักผลไม้ที่ขายให้ห้างค้าปลีกซึ่งประชาชนต้องซื้อในราคาสูงกว่าผักผลไม้ในตลาดทั่วไปหลายเท่านั้น การเฝ้าระวังและตรวจวิเคราะห์ในปีนี้พบว่า ผักผลไม้ในห้างค้าปลีกมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานมากกว่าตลาดสด โดยพบมากถึง 44% (52 ตัวอย่างจาก 118 ตัวอย่าง) ในขณะที่ในตลาดสดพบ 39% (66 จาก 168 ตัวอย่าง)

ทั้งนี้อัตราการตกค้างของผักและผลไม้ในปี 2562 นั้นลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลการเฝ้าระวังในปี 2560 ซึ่งไทยแพนพบการตกค้างเกินมาตรฐาน 46% และผักผลไม้ที่ได้ตรารับรองคุณภาพ GAP, GMP พบการตกค้างเหลือ 26% เท่านั้น ส่วนผักผลไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของรัฐ ‘Organic Thailand’ ยังคงต้องปรับปรุง เพราะไทยแพนพบการตกค้างของสารพิษ 3 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่าง ในขณะที่ตรารับรองเกษตรอินทรีย์อื่น เช่น USDA, EU, Bioagricert, มกท. (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์) สุ่มไม่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานเลย

นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าสารพิษกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างมากที่สุดคือ สารฆ่าเชื้อรา คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในสหรัฐอเมริกานานกว่าทศวรรษ เพราะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ แต่กลับพบการตกค้างในผักและผลไม้ถึง 57 ตัวอย่าง รองลงมาคือไซเปอร์เมทริน อิมิดาคลอร์ฟริด เอซอกซิสโตรบิน และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งเป็นสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการสมองของเด็ก พบ 54, 41, 39 และ 38 ตัวอย่างตามลำดับ

27/06/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยคิดเชื้อ “วัณโรค” ประมาณ 20 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 1.2 หมื่นคน วัณโรคในร่างกายหายได้ โดยกินยาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน ห้ามขาดยาเด็ดขาด



อภ. ร่วมวิจัยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์คุณภาพมาตรฐานเพื่อผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง แพ้คีโม โรคลมชัก



คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเตรียมบรรจุ "วัคซีนโรตา" เป็นวัคซีนพื้นฐานของประเทศปี 63 เพื่อฉีดให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว