เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / 62 รายสังเวยไข้เลือดออก แพทย์เตือน ห้ามใช้ยาลดไข้กลุ่ม NSAID
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
62 รายสังเวยไข้เลือดออก แพทย์เตือน ห้ามใช้ยาลดไข้กลุ่ม NSAID

14 กรกฎาคม 2562, กรุงเทพ --- กระทรวงสาธารณสุขออกมาตรการเข้มรับมือสถานการณ์ไข้เลือดออกหลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พร้อมเตือนประชาชนหากพบผู้ป่วยมีไข้สูง 2 และอาการยังทรุด ให้รีบพาส่งโรงพยาบาลทันที

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกขณะนี้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกจังหวัด และกลับมาระบาดอีกรอบในปีนี้ ซึ่งโดยปกติแล้ว การระบาดจะเกิดขึ้นปีเว้นปี หรือสองปีวนมากอีกครั้ง จึงสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการเพื่อรับมืออย่างเข้มข้น โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งตั้งจุดให้คำปรึกษาเรื่องไข้เลือดออก (Dengue Corner) ให้กับประชาชน เพื่อคัดกรอง ติดตาม ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก และจัดให้มีแพทย์ให้คำปรึกษา ดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก รวมถึงขอความร่วมมือ ประชาชนทุกภาคส่วน จิตอาสา ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยให้แต่ละบ้านสำรวจจุดเสี่ยงแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่พบบ่อย เช่น ภาชนะที่ถูกทิ้ง จานรองกระถางต้นไม้ หรือยางรถเก่า เพื่อไม่ให้มีน้ำขัง

นอกจากนี้ นายแพทย์สุขุม ยังแนะนำให้ใช้กับดัก “LeO-Trap” ใส่สารซีโอไลท์ นวัตกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้คิดค้นขึ้น ซึ่งช่วยดักไข่ยุงแบบดักตาย นำไปวางไว้ในบ้านหรือห้องนั่งเล่น ใต้บันได ชั้นวางรองเท้า หรือบริเวณที่มียุงชุกชุมเพื่อช่วยตัดวงจรยุง และขอความร่วมมือคลิกนิกไม่ให้จ่ายยาแก้ปวดลดไข้กลุ่มเอ็นเสด (Non-steroidal anti-inflammatory drug - NSAID) เช่น แอสไพริน บรูแฟน ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เพราะอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกมากขึ้น

ด้านนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกล่าสุด จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 9 กรกฎาคม 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวนกว่า 44,671 ราย เสียชีวิตจำนวน 62 ราย โดยในเดือนมิถุนายน มีผู้ป่วยจำนวน 15,440 ราย เสียชีวิต 13 ราย หรือไข้ลดแล้ว แต่อาการยังแย่ลง ซึมกว่าเดิม เบื่ออาหาร ขอให้สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกและรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และห้ามซื้อยารับประทานเอง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะมีอาหารคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ ตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัว สำหรับอาการเด่นได้แก่ ไข้สูงเฉียบพลัน ไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ อาจมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ กระจายตามแขนขา ลำตัว และรักแร้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ ห้ามใช้ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็ดเสด โดยปกติอาการจะดีขึ้น หลังไข้ลด กินอาหารและดื่มน้ำได้ ปากไม่แห้ง ปัสสาวะปกติ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีเลือดออกที่อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ทางเดินอาหาร ตับ ม้าม หรือไตวาย มีโอกาสเกิดภาวะช็อก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

แหล่งที่มา:

ทำเนียบรัฐบาล. (2562). สธ.เข้มมาตรการรับมือไข้เลือดออกหลังมีแนวโน้มสูงขึ้น เตือนพบผู้ป่วยไข้สูง 2 วัน ไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 14 กรกฎาคม 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สธ.เข้มมาตรการรับมือไข้เลือดออกหลังมีแนวโน้มสูงขึ้น เตือนพบผู้ป่วยไข้สูง 2 วัน ไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 14 กรกฎาคม 2562.

14/07/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เผย ผักกวางตุ้ง และส้ม ครองแชมป์ สารพิษตกค้างมากที่สุด และพบว่า ผักและผลไม้ที่ส่งตรวจมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึง 41%



คนไทยคิดเชื้อ “วัณโรค” ประมาณ 20 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 1.2 หมื่นคน วัณโรคในร่างกายหายได้ โดยกินยาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน ห้ามขาดยาเด็ดขาด



อภ. ร่วมวิจัยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์คุณภาพมาตรฐานเพื่อผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง แพ้คีโม โรคลมชัก


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว