" /> "/>
เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / คุณรู้จักประโยชน์ของขมิ้นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากแค่ไหน
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
คุณรู้จักประโยชน์ของขมิ้นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากแค่ไหน

ขมิ้นเป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง ซึ่งเป็นเครื่องเทศสีส้มเหลืองสด และใช้กันทั่วไปในปรุงอาหารในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังใช้ทำเป็นยาในหลาย ๆ พื้นที่ในอินเดียมานานหลายศตวรรษในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคทางเดินหายใจ เมื่อเร็ว ๆ นี้ขมิ้นได้รับการขนานนามว่าเป็นอาหารสุดยอดที่สามารถต้านมะเร็งบรรเทาภาวะซึมเศร้าและอื่น ๆ ได้ วันนี้ "เช็คสุขภาพ" พาคุณมาดูกันว่า ขมิ้นสามารถช่วยทำอะไรได้บ้าง และไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง

  1. อาการซึมเศร้า

สารประกอบหลายชนิดในขมิ้นอาจช่วยบำรุงสุขภาพของคุณได้ โดยเฉพาะที่รู้จักมากที่สุดคือขมิ้นชัน นักวิทยาศาสตร์ประทับใจในศักยภาพของขมิ้นชัน โดยเฉพาะเรื่องของการบรรเทาอาการซึมเศร้า และช่วยให้ยากล่อมประสาททำงานได้ดีขึ้น แต่จนถึงขณะนี้ ผลการวิจัยยังไม่เป็นที่ชัดเจน

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เนื่องจาก ขมิ้นชันช่วยต่อสู้กับการอักเสบและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ จึงอาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการป้องกันหรือรักษาโรคเบาหวานประเภท 2 งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ติดตามผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นเบาหวานชนิดไม่ร้ายแรง 240 คน และพบว่า การรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของขมิ้นชันนานกว่า 9 เดือนทำให้โอกาสในการเป็นโรคเบาหวานลดลง งานวิจัยยังคงมีต่อเนื่อง แต่การศึกษาวิจัยจำนวนมากยังคงมีในสัตว์ และไม่ใช่ในมนุษย์

  1. การติดเชื้อไวรัส

ครั้งหน้า หากรู้สึกไม่สะบาย คุณอาจจะอยากจิบน้ำขิงอุ่น ๆ ก็ได้ เขมิ้นชันอาจช่วยต้านไวรัสหลายชนิดรวมถึงโรคเริมและไข้หวัดใหญ่ (แต่การศึกษาวิจัยจำนวนมากยังคงมีในสัตว์ และไม่ใช่ในมนุษย์) อย่างไรก็ตาม ขมิ้นมีส่วนประกอบของขมิ้นชันเพียงแค่ 3% และร่างกายคนเราจะไม่ดูดซับขมิ้นชันได้ดี ดังนั้น น้ำขมิ้นอุ่น ๆ ซักถ้วยไม่ได้ช่วยในเรื่องของการรักษามากนัก

  1. กลุ่มอาการที่เกิดก่อนมีประจำเดือน

การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ติดตามผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนสามรอบติดต่อกันพบว่าอาหารเสริมขมิ้นชันช่วยบรรเทากลุ่มอาการที่เกิดก่อนมีประจำเดือน (PMS) ได้ การศึกษาวิจัยชิ้นนี้ยังได้ทำกับกล้ามเนื้อของหนูตะเภาและหนูทดลองซึ่งพบว่าขมิ้นสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เช่นกัน

  1. คอเลสเตอรอลสูง

งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของขมิ้นในการปกป้องภูมิคุ้มกันและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ยังไม่ชัดเจน การศึกษาบางชิ้นพบว่าขมิ้นช่วยลดคอเลสเตอรอล "เลว" (LDL) ลงได้ ในขณะที่งานวิจัยชื้นอื่น ๆ สรุปว่าเครื่องเทศไม่มีผลต่อการลดคอเลสเตอรอลหรือไขมันแต่อย่างใด นักวิทยาศาสตร์ยังคงศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการป้องกันหัวใจของขมิ้น การศึกษาวิจัยขนาดเล็กชิ้นหนึ่งระบุว่าขมิ้นถช่วยป้องกันโรคหัวใจในผู้ที่มีการผ่าตัดบายพาส

  1. โรคอัลไซเมอร์

ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีอาการอักเสบเรื้อรังและขมิ้นดูเหมือนจะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบตามธรรมชาติได้ ขมิ้นจะต่อสู้กับโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่? คำตอบก็คือ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนมายืนยันว่าขมิ้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

  1. ข้ออักเสบ

งานวิจัยบางชิ้นบอกว่า ขมิ้นอาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ อาการข้อแข็ง และการอักเสบได้ อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องมีงานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าขมิ้นจะยารักษาโรคข้ออักเสบได้ หากอยากลองใช้กับอาการปวดข้อ ให้กินขมิ้นชันแบบดิบ ๆ ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และหากกินพร้อมกับพริกไทยดำจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมขมิ้นชันได้ดีขึ้น

  1. มะเร็ง

ในการศึกษาในห้องทดลองและสัตว์พบว่า ขมิ้นหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอก ช่วยให้เอนไซม์ล้างพิษทำงานได้ดีขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย แม้ว่าการศึกษาวิจัยเหล่านี้ไม่สามารถบอกเราได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในร่างกายมนุษย์เมื่อคนเรากินขมิ้น นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่ขมิ้นอาจลดทอนฤทธิ์ยาเคมีบำบัดบางชนิด

  1. อาการลำไส้แปรปรวน

การวิจัยก่อนหน้านี้ รวมถึงการศึกษานำร่องของผู้ใหญ่ 207 คน และอีกหนึ่งงานวิจัยที่ใช้หนูทดลอง พบว่าขมิ้นช่วยปรับปรุงอาการ IBS เช่น อาการปวดท้อง เช่นเดียวกับโรคหรืออาการอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ เรายังต้องการงานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อมายืนยันการใช้ขมิ้นในการรักษาโรค นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาการใช้ขมิ้นในการรักษาโรค เช่น โรคโครห์น (Crohn's Disease) และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative Colitis)

  1. สิว

บางคนอ้างว่า การแปะถุงขมิ้นบนผิวหนังหรือกินขมิ้นจะช่วยกำจัดสิวที่ฝังลึก ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะคุณสมบัติของขมิ้นในการต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบของเครื่องเทศ น่าเสียดาย ที่ยังไม่มีวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนมาช่วยสนับสนุนสิ่งนี้

หมายเหตุ: 

เว็บไซต์ CheckSukkaphap (เช็คสุขภาพ) ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ไม่ได้ทำการวินิจฉัยโรค หรือไม่ได้รักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา: 

Healthline. (2019). Turmeric vs Curcumin: Which Should You Take?. Accessed: 3 September 2019. 

NCBI. (2019). Curcumin: A Review of Its’ Effects on Human Health. Accessed: 3 September 2019.

WebMD. (2019). Turmeric (Curcumin). Accessed: 3 September 2019.

เช็คสุขภาพ. (2562). ขมิ้นชัน (Curcuma). เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562.

เช็คสุขภาพ. (2562). ขมิ้นอ้อย (Zedoary). เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562.

03/09/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง

จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หากคุณหยุดมีเซ็กส์ไป ไม่ว่าจะในระยะเวลาสั้น หรือนานขึ้น วันนี้ "เช็คสุขภาพ" มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับการงดมีเซ็กส์



หลังจากการคลอดบุตร เพศสัมพันธ์อาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณจะนึกถึง ไหนจะลูก ไหนจะร่างกายของคุณ อย่างไรก็ตาม เพศสัมพันธ์นั้นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตและความสัมพันธ์ของคุณ คุณจะกลับเข้าสู่ชีวิตรักได้เมื่อไร และคุณจะมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างสบายใจได้ยังไง นี่คือคำแนะนำที่คุณควรพิจารณา



งานวิจัยเปิดเผยว่าเพศสภาพของคนเรามีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาแต่ละชนิด โดยเพศอาจเป็นตัวกำหนดทั้งศักยภาพ ความมีประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของตัวยา


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว