เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ไทยเตรียมนำเข้าวัคซีนโควิด 2 แสนโดสปลายกุมภาพันธ์
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
ไทยเตรียมนำเข้าวัคซีนโควิด 2 แสนโดสปลายกุมภาพันธ์

3 มกราคม 2564, กรุงเทพ - นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และรองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพื่อคนไทย กล่าวว่า บริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) เตรียมนำเข้าวัคซีน 2 แสนโดสเข้าไทยปลายกุมภาพันธ์ ส่วนอีก 8 แสนโดส นำเข้าปลายเดือนมีนาคม และอีก 1 ล้านโดสนำเข้าปลายเดือนเมษายน รวมทั้งหมด 2 ล้านโดส 

นายแพทย์ ศุภกิจ กล่าวว่า คณะกรรมการทำเรื่องการนำเข้าวัคซีนกันตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ในช่วงนั้น ยังไม่ทราบเลยด้วยซ้ำว่า จะประสบความสำเร็จหรือไม่ มีการเตรียมข้อมูล วางเป้าหมาย มีกลไกที่ทำให้ได้วัคซีน ซึ่งเป้าหมายคือ ยังจะต้องฉีดวัคซีนให้คนไทยโดยรัฐ ซึ่งจะเป็นการฉีดวัคซีนฟรีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากร ซึ่งหากคำนวณตามตัวเลข ก็คือจะต้องฉีดวัคซีน 70 ล้านโดส 

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เคยเจรจากับบริษัทแอสตร้าเซเนก้า ที่ใช้เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ทำสัญญาไว้ 26 ล้านโดส ซึ่งอยู่ระหว่างการผลิตในประเทสไทย คาดว่า ปลายเดือนพฤษภาคม 2564 น่าจะได้ฉีดให้คนไทย อีกร้อยละ 20 ประเทสไทยได้มีการเจรจากับโคแวกซ์ (COVAX) แต่ข้อตกลงมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากยุ่งยาก เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนไป และอีกร้อยละ 10 ทำข้อตกลงกับบริษัทที่คิดว่ามีโอกาสผลิตวัคซีนสำเร็ต นายแพทย์ ศุภกิจ กล่าว

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังได้พยายามเจรจากับหลายฝ่าย ทั้งไฟเซอร์ โมเดิร์นน่า วัคซีนจากประเทศจีน และอาจจะขอซื้อเพิ่มจากแอสตราเซเนก้า และข่าวดีคือ บริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) จะนำเข้าวัคซีน 2 แสนโดสในไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์

นายแพทย์ ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า วัคซีนไม่ใช่สินค้าที่จะช้อปปิ้งกันได้ที่ไหนง่าย ๆ สภาพตลาดปัจจุบัน วัคซีนไม่ได้มีอยู่มากมาย ที่สำคัญต้องมีระบบควบคุมคุณภาพและปลอดภัย หากมีคนเอามาขายจากโรงงานที่ไม่ได้มาราฐาน และทำให้เกิดปัญหา เราคงซื้อมาฉีดให้คนไทยไม่ได้ 

นายแพทย์ ศุภกิจ ย้ำว่า ไม่ได้ห้ามเอกชนนำเข้าวัคซีนเอง แต่ทุกอย่างต้องผ่านกระบวนการขององค์การอาหารและยา (อย.) ก่อนเสมอ ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบเรื่องผลการทดลองว่าเป็นไปตามมาตราฐานหรือไม่ และทุกล็อตที่จะนำไปฉีด จะต้องผ่านการตรวจจากกรมวิทย์ฯ ว่า มีคุณภาพตามที่ได้กล่าวอ้างจริง ทั้งหมดนี้ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แม้จะได้ยามา แต่ไม่ได้รับความยืนยันว่าปลอดภัย แพทย์ก็จะไม่กล้าฉีดให้ประชาชนแน่นอน

03/01/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง

โฆษก ศบค. เผย ไม่ล็อกดาวน์ แต่แบ่งพื้นที่ควบคุม 4 โซน เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง


สำนักงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (MHRA) ในสหราชอาณาจักร อนุมัติวัคซีนต้านโคโรนาไวรัส ของบริษัทไฟเซอร์ เป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อวันพุธที่ผ่านมา


ไฟเซอร์ จับมือ เมืองไทยประกันชีวิต และกรุงเทพดุสิตเวชการ ร่วมเติมเต็มโครงการ MTL Health Buddy

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว