เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / หมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Disc) สาเหตุ อาการและวิธีรักษา
โดย : ดารินี พรหมโยธิน
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
หมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Disc) สาเหตุ อาการและวิธีรักษา

หมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Disc) เป็นภาวะที่เยื่อหุ้มหมอนรองกระดูก โป่ง เคลื่อน แตกหรือฉีกขาด ซึ่งเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกนี้อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังทุกข้อ หมอนรองกระดูกสันหลังชั้นในมีความนุ่มและมีเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายเจล หมอนรองกระดูกสันหลังชั้นนอกมีลักษณะเป็นวงแข็งและเหนียว หมอนรองกระดูกเคลื่อนจะเกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังและอาจไปทับเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงได้ ผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนมักจะรู้สึกชาหรืออ่อนแรงที่แขนหรือขา หลายคนไม่มีอาการ บางคนไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

สัญญาณและอาการแสดงของหมอนรองกระดูกเคลื่อน

อาการส่วนใหญ่ของหมอนรองกระดูกเคลื่อนมักจะเกิดขึ้นที่หลังบริเวณส่วนล่าง
ในบางกรณีสามารถเกิดขึ้นที่คอ หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาททำให้แสดงสัญญาณและอาการบริเวณที่เกิดขึ้นหรืออาจไม่แสดงอาการ อาการที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมักจะเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • มีอาการปวดแขนหรือขา: หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนเกิดขึ้นที่หลังส่วนล่าง จะมีอาการเจ็บมากที่สุดที่ก้น ต้นขา และน่อง
    หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนเกิดขึ้นที่คอ จะมีอาการเจ็บมากที่สุดที่ไหล่และแขน จะรู้สึกเจ็บแปลบหรือปวดแสบปวดร้อนที่แขนหรือขาเมื่อไอ จาม หรือเมื่อขยับบางตำแหน่ง
  • อาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่า: ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ส่งผลต่อเส้นประสาท มักจะมีอาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่าแผ่ลงมาในส่วนของร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากหมอนรองกระดูก
    การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ: กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวมักจะอ่อนแรงลง ภายใต้อาการนี้อาจทำให้สะดุดล้ม และส่งผลต่อความสามารถในการยกหรือถือสิ่งของ
  • ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการ แม้ว่าจะมีหมอนรองกระดูกเคลื่อน ดังนั้นอาจไม่ทราบอาการจนกว่าจะยืนยันด้วยผลทดสอบทางภาพของกระดูกสันหลัง

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดหลังหรือปวดคอเคลื่อนลงมาตามแขนหรือขา หากมีอาการชา รู้สึกเสียวซ่า หรืออ่อนแรง แพทย์จะช่วยระบุสาเหตุและช่วยหาทางรักษาอาการดังกล่าว

สาเหตุของหมอนรองกระดูกเคลื่อน

โดยปกติการเสื่อมสภาพจะค่อยๆเกิดขึ้นและเมื่อมีอายุมากขึ้นจะทำให้เกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อน ภาวะนี้เรียกว่าหมอนรองกระดูกเสื่อม เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง  มีแนวโน้มที่จะฉีกและแตกด้วยแรงกดทับหรือบิดเพียงเล็กน้อย

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของหมอนรองกระดูกเคลื่อน

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของหมอนรองกระดูกเคลื่อน ได้แก่:
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไป: หากมีน้ำหนักตัวเกิน หมอนรองกระดูกต้องแบกรับแรงกดทับมากขึ้น
  • งานที่ต้องออกแรงหรือใช้กำลังมาก: ถ้าเป็นงานที่ต้องออกแรงมาก จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาที่บริเวณหลัง หากทำกิจกรรมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการยก ดึง ดัน งอไปด้านข้าง และบิดตัว จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
  • การสืบทอดมาจากพ่อแม่: ผู้ป่วยบางรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (herniated disc) จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้
  • การสูบบุหรี่: การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ไปลดปริมาณการนำพาออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนเวลา

แพทย์จะวินิจฉัยหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้อย่างไร

แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัย เช่น
การฉายภาพ:

  • การเอกซเรย์
  • ซีทีสแกน
  • การสแกนด้วยเครื่องเอ็ม อาร์ ไอ (MRI)
  • การฉีดสีเข้าไขสันหลังแล้วถ่ายภาพรังสี
การตรวจเส้นประสาท:
แพทย์สามารถวัดแรงกระตุ้นไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ในเนื้อเยื่อเส้นประสาทว่าตอบสนองได้ดีเพียงใดโดยใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจและศึกษาการนำกระแสประสาท
  • การศึกษาการนำกระแสประสาท: แพทย์ใช้การทดสอบนี้เพื่อวัดแรงกระตุ้นของเส้นประสาทไฟฟ้า เช่นเดียวกับการทำงานในกล้ามเนื้อและเส้นประสาทผ่านอิเล็กโทรดที่วางอยู่บนผิวหนัง การทดสอบสามารถวัดแรงกระตุ้นไฟฟ้าในสัญญาณประสาทได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กไหลผ่านเส้นประสาท
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ  (EMG): แพทย์จะใช้อิเล็กโทรดแบบเข็ม สอดเข้าไปในกล้ามเนื้อต่างๆ และประเมินกิจกรรมทางไฟฟ้าของกล้ามเนื้อเมื่อกล้ามเนื้อพักและหดตัว

แพทย์รักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนอย่างไร

แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและการใช้ยาแก้ปวด
 
การใช้ยา:
แพทย์อาจแนะนำยาดังต่อไปนี้:
  • ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การฉีดคอร์ติโซน
  • ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป
กายภาพบำบัด:
แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด

การผ่าตัด:
ผู้ป่วยบางรายที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดหากการรักษาต่อเนื่องไม่ประสบความสำเร็จหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการดังนี้:
  • สูญเสียการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
  • ยืนหรือเดินลำบาก
  • มีอาการชาหรืออ่อนแรง
  • ควบคุมอาการปวดไม่ได้
ในกรณีทั่วไปแพทย์สามารถกำจัดหมอนรองกระดูกส่วนที่ยื่นออกมาได้ อย่างไรก็ตามในบางกรณีซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ผู้ป่วยต้องถอดหมอนรองกระดูกทั้งหมดออก ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดหมอนรองกระดูกเทียมซึ่งพบได้น้อยราย


การเตรียมความพร้อมก่อนพบแพทย์:

ก่อนพบแพทย์ ขอแนะนำให้เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับอาการ ยาที่ใช้ทั้งหมด และคำถามที่จะต้องการปรึกษาแพทย์ ฯลฯ


สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพบแพทย์

แพทย์อาจซักถามอย่างละเอียด เช่น เริ่มมีอาการเกิดขึ้นเมื่อใด มีอาการรุนแรงแค่ไหน สมาชิกในครอบครัวมีใครเป็นโรคนี้หรือไม่ เป็นต้น

ประวัติเจ้าของบทความ

ดารินี พรหมโยธิน จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านเคมีเชิงฟิสิกส์ เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลงานตีพิมพ์ (Corresponding Author) และเป็น Reviewer ในวารสารระดับนานาชาติ 

ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำ นักแปลอิสระด้านวิทยาศาสตร์และเภสัช เป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

15/06/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว