เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ไข้เด็งกี (Dengue Fever) สาเหตุ อาการและวิธีการรักษา
โดย : ทิพวัลย์ กิจสกุณี
ทบทวนบทความโดย :
ไข้เด็งกี (Dengue Fever) สาเหตุ อาการและวิธีการรักษา

ในทุก ๆ ปี ไข้เด็งกี (Dengue Fever) คร่าชีวิตผู้ติดเชื้อนับล้านทั่วโลก ถึงแม้ว่าโรคนี้จะพบได้มากที่สุดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก แต่ก็มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในละตินอเมริการวมถึงแถบแคริเบียนด้วย

โรคที่มียุงเป็นพาหะนั้นแพร่ระบาดสู่คนจากการโดนยุงตัวเมียกัด ทำให้เกิดไข้สูงและผื่นขึ้น  ในผู้ป่วยไข้เด็งกีที่ไม่รุนแรงนอกจากอาการเหล่านี้แล้วการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อก็เป็นอาการที่แสดงในผู้ป่วยไข้เด็งกีที่ไม่รุนแรงเช่นกัน  ส่วนอาการเลือดออกรุนแรงและความดันโลหิตลดลงเฉียบพลันจนถึงขั้นเสียชีวิตนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยไข้เด็งกีแบบรุนแรง ซึ่งเรียกว่าไข้เลือดออกเด็งกี     

ไข้เด็งกีมีสาเหตุมาจากไวรัสเด็งกี 4 ชนิด คือ DENV-1, -2, -3 และ -4 ไวรัสนั้นเป็นอันตรายมากจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถสู้กับไวรัสได้  ในขณะที่นักวิจัยกำลังวิจัยวัคซีน การป้องกันไวรัสเด็งกีที่ดีที่สุดคือการลดจำนวนยุงที่เป็นพาหะของโรค 

สถานการณ์ในประเทศไทย

มีการรายงานการติดเชื้อเด็งกีในประเทศไทยมากกว่า 50 ปี  ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของเชื้อไปทั่วทั้งประเทศ ภายในปี 2020 มีผู้ป่วยเด็งกีประมาณ 140,000 ราย ซึ่งใกล้เคียงกับการระบาดในปี 2015 โดยมีไวรัส DENV-1 และ DENV-2 เป็นสายพันธุ์หลักและมีแนวโน้มคงที่  กลุ่มที่เสี่ยงต่อไข้เด็งกียังคงอยู่ในกลุ่มของเด็กวัยเรียน (5-14 ปี) แต่ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตนั้นอยู่ในกลุ่มของผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง

อาการเป็นอย่างไร

ในเด็กและวัยรุ่นจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง คือจะไม่มีสัญญาณหรืออาการแสดงให้เห็น อย่างไรก็ตามหลังจากถูกยุงกัดใน 4-7 วัน อุณหภูมิร่างกายของคุณจะเพิ่มขึ้นถึง 104 องศาฟาเรนไฮต์ (40 องศาเซลเซียส) ซึ่งร้ายแรงและเป็นอันตรายจนคุณต้องได้รับการรักษา นอกจากนั้นบางอาการอาจแสดงให้เห็นดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยส่วนมากอาจฟื้นตัวภายใน 1 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น  อาการของผู้ป่วยบางรายอาจแย่ลงและอันตรายถึงชีวิต ในขณะที่หลอดเลือดได้รับความเสียหายและรั่วทำให้จำนวนเซลล์ที่ก่อตัวเป็นก้อนหรือที่เรียกว่าเกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดลดลง ในสภาวะนี้ส่งผลให้เป็นไข้เด็งกีแบบรุนแรงได้ ซึ่งบางครั้งเรียกว่าไข้เลือดออกเด็งกีหรือกลุ่มอาการไข้เลือดออกเด็งกีช็อก สัญญาณและภาวะของไข้เลือดออกเด็งกีมีดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยล้า
  • อาเจียนหลายครั้ง
  • ปวดท้องรุนแรง
  • มีเลือดออกที่เหงือกหรือจมูก
  • หายใจลำบาก
  • เกิดอาการช็อกรวมทั้งมีผิวหนังที่เย็นและชื้น
  • มีเลือดปนในอุจจาระ อาเจียนหรือปัสสาวะ 
  • มีจุดจ้ำเลือดที่อาจเกิดจากเลือดออกใต้ผิวหนัง
  • หงุดหงิดและกระสับกระส่าย

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

หากคุณเคยไปในพื้นที่ที่มีไข้เด็งกีแพร่ระบาด และคุณเคยมีประสบการณ์ เช่น ปวดเกี่ยวกับช่องท้องอย่างรุนแรง อาเจียนหลายครั้ง หายใจลำบาก มีเลือดออกที่เหงือกหรือจมูก แนะนำให้คุณโทร 1669 หรือไปห้องฉุกเฉินใกล้คุณทันที

อะไรคือสาเหตุ

เมื่อยุงไปกัดคนที่มีไวรัสเด็งกีทำให้ยุงตัวนั้นติดเชื้อ หลังจากนั้นเมื่อยุงไปกัดคนอื่น คนคนนั้นก็จะติดไวรัส 

มนุษย์สามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของโรคได้ แต่ถึงอย่างนั้นคุณจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีที่คุณได้เพียงชนิดเดียวเท่านั้น แต่ไม่ใช่กับไวรัสชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้โอกาสที่คุณจะป่วยด้วยไข้เด็งกีรุนแรงหรือไข้เลือดออกเด็งกีนั้นมีสูงหากคุณติดเชื้อซ้ำแล้วซ้ำอีก 

อะไรคือปัจจัยเสี่ยง

2  ปัจจัยที่ทำให้คุณอยู่ในความเสี่ยงของการพัฒนาโรคหรืออาจมีอาการของไข้ที่รุนแรงมากขึ้น ประกอบไปด้วย

  • อาศัยอยู่หรือเดินทางในพื้นที่เสี่ยงซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโรคระบาด เช่น ประเทศเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้คุณติดเชื้อไวรัสเด็งกี 
  • คุณมีโอกาสสูงที่จะมีอาการรุนแรงหากคุณติดเชื้อไวรัสเด็งกีซ้ำ 

แพทย์วินิจฉัยโรคอย่างไร

มันไม่ง่ายที่จะวินิจฉัยโรค คุณสามารถมีสัญญาณและอาการเดียวกันกับไข้เด็งกี แต่ก็ยังสามารถได้รับการวินิจฉัยร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น มาลาเรีย โรคฉี่หนู ไข้ไทฟอยด์ และอื่น ๆ 

เมื่อมีสัญญาณและอาการแสดงให้เห็น อาจเป็นไปได้ว่าแพทย์จะต้องตรวจเพิ่มเล็กน้อยเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์และประวัติการเดินทางของคุณ ถ้าพูดถึงเรื่องสถานการณ์นี้ แนะนำให้คุณเปิดเผยรายละเอียดการเดินทางระหว่างประเทศขอคุณตลอดจนประเทศที่คุณเคยไป และวันที่ในสถานที่ที่คุณอยู่เพื่อดูว่าคุณมีโอกาสติดเชื้อหรือไม่

เนื่องจากสัญญาณและอาการอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ แพทย์อาจแนะนำคุณให้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเล็กน้อยเพื่อตรวจหาหลักฐานของไวรัสเด็งกี

วิธีการรักษาเป็นอย่างไร

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับไข้เด็งกี คุณอาจได้รับการแนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากร่างกายอาจขาดน้ำจากการอาเจียนหลายครั้งและไข้สูง 

ถึงแม้ว่าอาการไข้จะดีขึ้น แต่ยังแนะนำให้คุณสังเกตสัญญาณและอาการขาดน้ำ ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อคุณมีสัญญาณและอาการบางอย่างดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะออกน้อย
  • มีน้ำตาน้อยหรือไม่มีเลย
  • ปากและริมฝีปากแห้ง
  • มีอาการเซื่องซึมหรือสับสน
  • มีอาการหนาวหรือมือเท้าเย็น

ยาพาราเซตามอลหรืออะเซตามีโนเฟน รวมไปถึงไทลีนอลและอื่น ๆ สามารถช่วยลดอาการปวดและบรรเทาไข้ได้ ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดประเภทแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และ นาพรอกเซนโซเดียม เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกมากเกินไปได้ สำหรับไข้เด็งกีรุนแรงแนะนำให้คุณ 

  • เข้ารับการรักษาแบบประคับประคองอาการในโรงพยาบาล
  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและเกลือแร่ทดแทน
  • วัดความดันโลหิตตามคำแนะนำของแพทย์
  • พิจารณาการให้เลือดเพื่อทดแทนการสูญเสียเลือด

เราจะป้องกันการติดเชื้อเด็งกีได้อย่างไร

มาตรการป้องกันและควบคุมไข้เด็งกีนั้นควรทำ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงทั้งในบ้าน ชุมชน และสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะในโรงเรียนและโรงพยาบาล อัตราการเกิดตัวอ่อนของยุงควรเท่ากับศูนย์ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่ควรควบคุมโรคคือตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน เพราะเป็นช่วงเวลาที่โรคแพร่กระจายน้อยที่สุดและมีผลต่อจำนวนของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างฤดูฝน (พฤษภาคม-สิงหาคม)

ปัจจุบัน 65% ของวัคซีนเด็งกีที่ขึ้นทะเบียนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสเด็งกีทุกสายพันธุ์ ประเทศไทยมีการใช้วัคซีนมาตั้งแต่ปี 2017 จากข้อมูลของโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนพบว่าผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนมีเพียง 0.22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งล้วนไม่รุนแรง  องค์กรอนามัยโลกแนะนำให้ใช้วัคซีนกับคนที่มีอายุ 9-45 ปี และคนที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เด็งกีมาก่อน แพทย์ต้องพิจารณาการฉีดวัคซีนเป็นรายบุคคล

การเตรียมพร้อมสำหรับการนัดหมาย

ก่อนพบแพทย์ แนะนำให้คุณเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับอาการ การใช้ยาทั้งหมด และคำถามที่จะถามแพทย์ของคุณ และอื่น ๆ

การคาดการณ์จากแพทย์คืออะไร

คุณอาจถูกถามด้วยชุดคำถาม เช่น เริ่มมีอาการตั้งแต่เมื่อไหร่ อาการรุนแรงแค่ไหน หรือสมาชิกในครอบครัวมีโรคหรือไม่ และอื่น ๆ 

ประวัติเจ้าของบทความ

ทิพวัลย์ กิจสกุณี เป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาเอเชียศึกษา(ภาษาจีน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านการอบรมการแปลของชมรมนักแปลและล่ามอาชีพ (Professional Translators and Interpreters Society) หลักสูตรการแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นไทย รุ่นที่ 1 (Intermediate Level - คู่ภาษาอังกฤษ - ไทย)

ปัจจุบัน ทิพวัลย์ เป็นนักแปลและล่ามอิสระ

15/06/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว