เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / มะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar Cancer): สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : วรางคณา ชื่นชม
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
มะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar Cancer): สาเหตุ อาการและการรักษา

มะเร็งปากช่องคลอด ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ภายนอกของเพศหญิง ซึ่งประกอบด้วย ช่องคลอด แคม คลิตอริส ผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ปกคลุมกระดูกหัวหน่าว โดยมากแล้วมะเร็งปากช่องคลอดจะแสดงอาการในบริเวณภายนอกของแคม แต่จะมีบ้างที่ลามเข้าไปในส่วนของคลิตอริส มะเร็งชนิดนี้ถือว่าหายาก เมื่อเทียบกับมะเร็งในระบบสืบพันธุ์อื่นๆเช่น มะเร็งรังไข่หรือมะเร็งมดลูก พบเจอเพียง 1%ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

อาการและอาการแสดง

อาการและอาการแสดงของมะเร็งชนิดนี้ อาจสังเกตได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ การเจ็บบริเวณปากช่องคลอดเมื่อมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ อาการคันติดต่อกัน บริเวณแคมหนาหรือบวมขึ้น มีเม็ดลักษณะคล้ายหูดที่ปากช่องคลอด อาการเลือดไหลโดยไม่เกี่ยวกับประจำเดือน สีของปากช่องคลอดเปลี่ยน ตามปกติแล้วมะเร็งปากช่องคลอดมักไม่แสดงอาการในช่วงแรก แต่เมื่อคุณสังเกตเห็นอาการดังกล่าว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจ และถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นมะเร็งปากช่องคลอด คุณสามารถป้องกันได้โดยขอรับวัคซีนชนิดสี่สายพันธุ์ (HPV) ซึ่งวัคซีนชนิดนี้จะฉีดในผู้หญิงอายุ 13-26 ปี

สาเหตุและวิธีการรักษา

สาเหตุนั้นยังไม่แน่ชัด ตามปกติมะเร็งจะก่อตัวจากเซลล์ที่กลายพันธุ์ใน DNA การกลายพันธ์นี้ทำให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว พวกมันและลูกหลานของมันจะมีชีวิตอยู่เพื่อแพร่พันธุ์ในขณะที่เซลล์ปกติจะตายลง เซลล์ที่สะสมจนเป็นเนื้องอก อาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่บุกรุกเนื้อเยื่อใกล้เคียงและลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ในส่วนของการรักษานั้น ข้อมูลต่อไปนี้ไม่สามารถแทนข้อมูลทางการแพทย์ได้ กรุณาปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ การรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของมะเร็ง สำหรับมะเร็งขนาดเล็ก อาจใช้แค่ลำแสงเลเซอร์ยิงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งบนพื้นผิวเซลล์ ส่วนมะเร็งระดับกลางและใหญ่ อาจจะต้องตัดชิ้นเนื้อที่มีเซลล์ผิดปกติบางส่วนออกหรือใช้วิธีผ่าตัดช่องคลอด (vulvectomy) เพื่อนำส่วนของปากช่องคลอดทั้งหมดออก

การลดความเสี่ยงและการรับมือมะเร็งที่บ้าน

ความเสี่ยงบางอย่างไม่สามารถเลี่ยงได้ เช่น อายุที่มากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยอื่นๆสามารถป้องกันได้ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ควรมีแบบปลอดภัยเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ HPV และโรคทางเพศสัมพันธ์ ควรลดการสูบบุหรี่ การเฝ้าระวังเมื่อมีประวัติเป็นมะเร็งปากช่องคลอดระยะเริ่มต้น หรือมีอาการผิดปกติในผิวหนังใกล้ปากช่องคลอด ควรพบแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสอบ หรือติดตามระยะของมะเร็ง ทำตามคำสั่งแพทย์และกินยาสม่ำเสมอ ลดปัจจัยเสี่ยงด้านเพศที่กล่าวมาและอย่าละเลยอาการบวมหรือเจ็บบริเวณปากช่องคลอด

ประวัติผู้แปล

วรางคณา ชื่นชม จบการศึกษาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Arts, English Language) สาขาภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประสบการณ์ทำงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสอนภาษา ทั้งสอนภาษาอังกฤษให้คนไทยและภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ และการทำงานล่ามสนามในงานด้านสังคมศาสตร์ละกฎหมาย รวมถึงงานรับจ้างแปลเอกสารวิชาการ บทคัดย่อและงานวิจัย ปัจจุบันเป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

27/11/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว