เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / มะเร็งสมอง (Brain Cancer): อาการ สาเหตุและการรักษา
โดย : ณัฐชนันท์ นิธิรุ่งเรือง
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
มะเร็งสมอง (Brain Cancer): อาการ สาเหตุและการรักษา

มะเร็งสมองคือโรคที่เกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ กลายเป็นเนื้อร้ายในสมอง แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือ มะเร็งสมองปฐมภูมิ เกิดจากเนื้องอกของเซลล์ที่อยู่ที่สมองเอง มักพบได้ในเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่พบได้น้อย และประเภทที่สองคือ มะเร็งสมองทุติยภูมิ เกิดจากเนื้องอกที่บริเวณอื่นของร่างกายแล้วแพร่กระจายลุกลามมาที่สมอง ซึ่งพบได้มากกว่าประเภทแรก และมักพบในผู้ใหญ่  มะเร็งสมองถือเป็นหนึ่งในสาเหตุต้น ๆ ของการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง  แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีรักษามะเร็งสมองให้หายขาด แต่การตรวจพบเนื้อร้ายตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้

อาการของมะเร็งสมอง

อาการของมะเร็งสมองที่พบบ่อย ได้แก่ มักปวดศีรษะในตอนเช้า คลื่นไส้ อาเจียน มีปัญหาในการพูด ฟัง และมองเห็น ทรงตัวหรือเดินลำบาก มีปัญหาทางความคิดหรือสูญเสียความทรงจำ รู้สึกอ่อนแรงหรือเพลีย บุคลิกภาพและนิสัยเปลี่ยนแปลงไป และอาการชัก

สาเหตุของมะเร็งสมอง

มะเร็งสมองปฐมภูมินั้นมีหลากหลายประเภทแยกย่อยกันไป ขึ้นอยู่กับเซลล์ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ในบางรายอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เนื้อเยื่อ ซึ่งส่งผลให้เซลล์มะเร็งเติบโตและลุกลามอย่างรวดเร็ว ส่วนมะเร็งสมองทุติยภูมินั้นมักพบได้ในกลุ่มบุคคลที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งมาก่อน เซลล์มะเร็งที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งสมองทุติยภูมินั้น อาจมาจากส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ที่พบได้บ่อย มักจะมาจากมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งไต มะเร็งปอด และมะเร็งผิวหนัง  ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสมองคือ อายุที่มากขึ้น แม้เนื้องอกในสมองบางประเภทจะพบได้เฉพาะในเด็กก็ตาม  ปัจจัยอื่น ๆ นอกจากอายุ ได้แก่ การอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับรังสี และคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งสมอง

การรักษามะเร็งสมอง

ในปัจจุบัน แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในสมองมีอยู่ 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด  การผ่าตัดช่วยทำให้แพทย์ระบุประเภทของมะเร็งสมองได้ง่ายขึ้น เพื่อวินิจฉัยว่าจะสามารถผ่าเอาเนื้องอกออกมาทั้งหมดได้หรือไม่ ซึ่งช่วยลดแรงกดดันในสมอง  ในขณะที่การฉายรังสีมักจะใช้สำหรับเนื้องอกส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากที่แพทย์ได้ตัดเอาเฉพาะเนื้องอกส่วนที่ตัดออกได้เท่านั้น  ส่วนการให้ยาเคมีบำบัด ทำได้เฉพาะกับมะเร็งสมองทุติยภูมิเท่านั้น และต้องอาศัยตัวยาที่มีคุณสมบัติต้านอาการชัก โดยมักจะใช้กับผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันอาการชัก  ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการสมองบวม แพทย์อาจให้ยาสเตอรอยด์ร่วมด้วย

ผู้ป่วยที่พบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งสมอง จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิตและรู้จักวิธีการดูแลตนเองที่บ้าน เพื่อประคับประคองอาการ โดยอาจเริ่มจากการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือผู้ป่วยด้านการใช้ชีวิตประจำวัน และเสริมสร้างกำลังใจให้กันและกัน  นอกจากนี้ ยังต้องหมั่นพบแพทย์เป็นประจำ โดยแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรืออาการที่ทรุดหนักลง  รวมทั้งเข้าพบแพทย์ทันทีที่มีอาการชักหรืออาการปวดหัวชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาในภายหลัง

มะเร็งสมองคือโรคที่เกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ กลายเป็นเนื้อร้ายในสมอง แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือ มะเร็งสมองปฐมภูมิ เกิดจากเนื้องอกของเซลล์ที่อยู่ที่สมองเอง มักพบได้ในเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่พบได้น้อย และประเภทที่สองคือ มะเร็งสมองทุติยภูมิ เกิดจากเนื้องอกที่บริเวณอื่นของร่างกายแล้วแพร่กระจายลุกลามมาที่สมอง ซึ่งพบได้มากกว่าประเภทแรก และมักพบในผู้ใหญ่  มะเร็งสมองถือเป็นหนึ่งในสาเหตุต้น ๆ ของการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง  แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีรักษามะเร็งสมองให้หายขาด แต่การตรวจพบเนื้อร้ายตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้

อาการของมะเร็งสมอง

อาการของมะเร็งสมองที่พบบ่อย ได้แก่ มักปวดศีรษะในตอนเช้า คลื่นไส้ อาเจียน มีปัญหาในการพูด ฟัง และมองเห็น ทรงตัวหรือเดินลำบาก มีปัญหาทางความคิดหรือสูญเสียความทรงจำ รู้สึกอ่อนแรงหรือเพลีย บุคลิกภาพและนิสัยเปลี่ยนแปลงไป และอาการชัก

สาเหตุของมะเร็งสมอง

มะเร็งสมองปฐมภูมินั้นมีหลากหลายประเภทแยกย่อยกันไป ขึ้นอยู่กับเซลล์ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ในบางรายอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เนื้อเยื่อ ซึ่งส่งผลให้เซลล์มะเร็งเติบโตและลุกลามอย่างรวดเร็ว ส่วนมะเร็งสมองทุติยภูมินั้นมักพบได้ในกลุ่มบุคคลที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งมาก่อน เซลล์มะเร็งที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งสมองทุติยภูมินั้น อาจมาจากส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ที่พบได้บ่อย มักจะมาจากมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งไต มะเร็งปอด และมะเร็งผิวหนัง  ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสมองคือ อายุที่มากขึ้น แม้เนื้องอกในสมองบางประเภทจะพบได้เฉพาะในเด็กก็ตาม  ปัจจัยอื่น ๆ นอกจากอายุ ได้แก่ การอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับรังสี และคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งสมอง

การรักษามะเร็งสมอง

ในปัจจุบัน แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในสมองมีอยู่ 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด  การผ่าตัดช่วยทำให้แพทย์ระบุประเภทของมะเร็งสมองได้ง่ายขึ้น เพื่อวินิจฉัยว่าจะสามารถผ่าเอาเนื้องอกออกมาทั้งหมดได้หรือไม่ ซึ่งช่วยลดแรงกดดันในสมอง  ในขณะที่การฉายรังสีมักจะใช้สำหรับเนื้องอกส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากที่แพทย์ได้ตัดเอาเฉพาะเนื้องอกส่วนที่ตัดออกได้เท่านั้น  ส่วนการให้ยาเคมีบำบัด ทำได้เฉพาะกับมะเร็งสมองทุติยภูมิเท่านั้น และต้องอาศัยตัวยาที่มีคุณสมบัติต้านอาการชัก โดยมักจะใช้กับผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันอาการชัก  ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการสมองบวม แพทย์อาจให้ยาสเตอรอยด์ร่วมด้วย

ผู้ป่วยที่พบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งสมอง จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิตและรู้จักวิธีการดูแลตนเองที่บ้าน เพื่อประคับประคองอาการ โดยอาจเริ่มจากการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือผู้ป่วยด้านการใช้ชีวิตประจำวัน และเสริมสร้างกำลังใจให้กันและกัน  นอกจากนี้ ยังต้องหมั่นพบแพทย์เป็นประจำ โดยแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรืออาการที่ทรุดหนักลง  รวมทั้งเข้าพบแพทย์ทันทีที่มีอาการชักหรืออาการปวดหัวชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาในภายหลัง

ประวัติผู้แปลโดยสังเขป

ณัฐชนันท์ นิธิรุ่งเรือง มีความรักและหลงใหลในภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลและล่าม จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ เอกภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มีประสบการณ์ด้านการสอนภาษาอังกฤษ กว่า 8 ปี และด้านการแปลและล่ามกว่า 5 ปี เคยทำงานแปลและล่ามด้านการธนาคาร ธุรกิจ สาธารณสุข และบันเทิงคดี นอกจากนี้ ยังชื่นชอบการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ จนเสียงเพลงได้นำพาให้มีโอกาสไปเป็นทั้งนักร้องและพิธีกรตามงานต่าง ๆ  

ปัจจุบัน ณัฐชนันท์ นิธิรุ่งเรือง เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

 

แหล่งอ้างอิง:

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Bản tải về

"Brain Cancer." National Cancer Institute. http://www.cancer.gov/types/brain. Ngày truy cập 28/09/2015

28/11/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว