เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / อีสุกอีใส (Chicken Pox): อาการ สาเหตุและการรักษา
โดย : ภัทรลดา ปามา
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
อีสุกอีใส (Chicken Pox): อาการ สาเหตุและการรักษา

อีสุกอีใส (Chicken Pox) คืออะไร โรคอีสุกอีใสหรือที่เรียกว่า วิริเซลลา เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อผิวหนังและเยื่อเมือก ซึ่งทำให้เกิดผื่นคล้ายตุ่มพองทั่วร่างกายและใบหน้า เป็นโรคติดต่อได้ทั้งกับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส โรคนี้มีสาเหตุมาจากไวรัสเริมทั่วไปที่ชื่อว่าไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสในวัยเด็ก แต่ในวัยผู้ใหญ่จะเกิดเป็นโรคงูสวัด (โรคงูสวัด) โรคงูสวัดเป็นโรคที่เจ็บปวดและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน 

โรคอีสุกอีใสพบบ่อยแค่ไหน โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อทั่วไป ที่สามารถส่งผลกระทบได้ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันโรคต่ำมีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กทารก สตรีมีครรภ์ และคนวัยชรา วัคซีนสามารถช่วยป้องกันสาเหตุการเกิดโรคอีสุกอีใส หรือทำให้อาการโรคนั้นทุเลาลง โดยทั่วไปอาการจะหนักในวัยผู้ใหญ่ 

อาการแสดงและอาการของโรคอีสุกอีใส

อาการแสดงและอาการของโรคอีสุกอีใสมีอะไรบ้าง ส่วนอาการแสดงและอาการของโรคอีสุกอีใสนั้นมักจะปรากฏชัดขึ้นมา 7 ถึง 21 วัน หลังจากได้รับการสัมผัส มักจะมีอาการไข้ขึ้นเล็กน้อย มีน้ำมูกไหล ไอเล็กน้อย ปวดหัว เหนื่อยล้า และไม่อยากอาหาร จุดแดงที่ปรากฏบนร่างกาย 2 ถึง 3 วันให้หลังจะพัฒนากลายเป็นผื่นคันที่ทำให้เกิดแผลพุพองซึ่งแห้งและกลายเป็นสะเก็ด ใน 4 ถึง 5 วัน บางคนอาจจะมีแค่ไม่กี่ตุ่ม หรือบางคนอาจมีมากกว่า 500 ตุ่ม โรคอีสุกอีใสนั้นสามารถติดต่อได้ 1ถึง 2 วันก่อนที่ผื่นคันจะขึ้น และหลังจาก 6 วันที่เกิดตุ่มพอง ปาก หู และตา สามารถมีแผลพุพองได้  อาจมีอาการที่ไม่ได้กล่าวเบื้องต้น หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ 

เมื่อไหร่ที่คุณควรไปหาหมอของคุณ คุณควรติดต่อแพทย์ของคุณเมื่อคุณมีอาการดังต่อไปนี้ จุดแดงกระจายไปที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง จุดกลายเป็น ไวต่อการกระตุ้นและร้อน อาการนี้อาจเป็นอาการติดเชื้อ อาการเวียนศรีษะ ความงุงงงสับสน หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ การสั่นเทา ไออย่างหนัก อาเจียน อาการตึงในลำคอหรือไข้ขึ้นสูงกว่า 39.4 องศา ประวัติครอบครัวของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีบุตรอายุต่ำกว่า 6 เดือน หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่กล่าวมาข้างต้นที่ไม่บรรเทาลงหรือแย่ขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ ร่างกายแต่ละคนแสดงออกต่างกัน สิ่งที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ของคุณว่าอะไรดีที่สุดในสถานการณ์ของคุณนั้นๆ 

สาเหตุของโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส คือ ไวรัสที่เรียกว่าไวรัสเริม งูสวัด  ผู้คนติดโรคอีสุกอีใสจากการสัมผัสเมื่ออยู่ใกล้คนที่ติดเชื้อ โดยการหายใจนำละอองที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป ผู้คนสามารถติดเชื้อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับแผลบนผิวหนังของผู้ติดเชื้อ

ปัจจัยเสี่ยง อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอีสุกอีใสของฉัน โรคอีสุกอีใสมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น เมื่อคุณไม่เคยมีประวัติโรคอีสุกอีใสมาก่อน หากคุณไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ทำงานที่สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนระดับประถมศึกษา หรืออาศัยกับเด็ก

การรักษาโรคอีสุกอีใส

เด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่จำเป็นต้องใช้ยาเฉพาะ แต่สามารถบรรเทาอาการเองได้ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่แอสไพริน เช่น อะซีตะมิโนเฟนสามารถลดไข้ได้ ไม่ควรให้ยาแอสไพรินกับเด็กที่ติดโรคอีสุกอีใส สารต้านฮิสทามีน เช่น คาลาไมน์ และน้ำอาบข้าวโอ๊ตสามารถช่วยลดอาการคัน แนะนำให้ดื่มของเหลวและพักผ่อน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคอีสุกอีใส เด็กควรอยู่ห่างจากผู้อื่นจนกระทั้งตุ่มพุพองแห้งเป็นสะเก็ด ผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เช่น ผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ ผู้ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน) อาจได้รับยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสโดยทั่วไปที่พบบ่อยที่สุดคืออะไร จุดที่เกิดจากโรคอีสุกอีใส มีความโดดเด่นต่างจากแบบจุดประเภทอื่น ดังนั้นการวินิจฉัยโรคจึงเป็นเรื่องง่าย แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยใช้ประวัติผู้ป่วยและจากการสังเกตุผื่นคัน

การดูแลรักษาที่บ้าน 

การปรับวิถีการใช้ชีวิตและการรักษาที่บ้านช่วยทำให้จัดการกับโรคอีสุกอีใสได้ วิถีชีวิตและการรักษาที่บ้านต่อไปนี้อาจช่วยคุณรักษาโรคอีสุกอีใสได้ โทรหาคุณหมอของคุณ หากพบว่าตั้งครรภ์และคิดว่ามีการติดเชื้อโรคอีสุกอีใส ล้างมือเป็นประจำและซักผ้าปูเตียงและผ้าที่เพิ่งสวมใส่ด้วยน้ำร้อนผสมสบู่ รักษาเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันการเกาและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ พักผ่อนและทำกิจกรรมเรียบๆได้  ใช้ยาที่ไม่ใช่แอสไพรินสำหรับลดไข้ แจ้งพยาบาลโรงเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนที่มีโอกาสติดเชื้อ ใช้ยาแก้แพ้และฟองน้ำเย็นๆอาบน้ำเพื่อลดอาการคัน โทรหาแพทย์ของคุณหากอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศา หรือหากมีอาการอ่อนแรง ปวดหัวหรือมีความไวต่อแสงเกิดขึ้น โทรหาแพทย์ของคุณ หากมีอาการอาเจียน กระสับกระส่าย และหงุดหงิดเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เข้าใจว่าวัคซีนสำหรับโรคอีสุกอีใสนั้นมีให้สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน

ประวัติส่วนตัวของผู้แปล 

ภัทรลดา ปามา เรียนรู้การแปลด้วยตัวเอง ทำงานเป็นพนักงานประสานงานให้กับองค์กรณ์หนึ่ง สนใจงานด้านการแปลต่างๆ

ปัจจุบัน ภัทรลดา ปามา เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

28/11/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว