เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / แผลติดเชื้อ (Wound Infection): อาการ สาเหตุ วิธีรักษา
โดย : ชนิดา แซ่ตั้ง
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
แผลติดเชื้อ (Wound Infection): อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

โดยปกติแล้ว กระบวนการหายของบาดแผลตามธรรมชาติอาจทำให้มีอาการบวมและอาการเจ็บเล็กน้อยจากน้ำเหลืองที่ไหลอยู่บริเวณที่เกิดบาดแผล การมีวงสีชมพูหรือสีแดงขนาด 2 ถึง 3 มิลลิเมตรรอบขอบบาดแผลนั้นอาจเป็นสิ่งปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบาดแผลที่ได้รับการเย็บ ซึ่งอาการแดงปกตินั้นไม่ควรแผ่กระจายเป็นวงกว้าง  อาการปวดและกดเจ็บที่บาดแผลนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป บาดแผลจะมีอาการปวดและบวมเป็นอย่างมากในช่วงวันที่สองแล้วหลังจากนั้นอาการจะลดลง  ดังนั้น เมื่อบุตรหลานของท่านเกิดบาดแผลบนผิวหนัง ควรสังเกตสัญญาณบ่งบอกการติดเชื้อ

สัญญาณและอาการของแผลติดเชื้อ

แผลที่มีการติดเชื้อนั้นจะมีอาการแดง, บวม, กดเจ็บ, และมีหนอง  ถ้าการติดเชื้อแพร่ไปเกินกว่าบริเวณบาดแผล เชื้อจะแพร่ไปตามท่อน้ำเหลืองและทำให้เกิดริ้วสีแดงขึ้น  หากการติดเชื้อลุกลามไปถึงกระแสเลือด (ภาวะโลหิตเป็นพิษ) จะทำให้มีอาการไข้

สาเหตุของการเกิดแผลติดเชื้อ

การแคะ แกะ เกา รอยแมลงกัด, สะเก็ดแผล, หรือผิวหนังที่มีอาการคันระคายเคือง เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้ รวมถึงการสัมผัสบาดแผลเปิดด้วยปากนั้น ก็เป็นอันตรายต่อบาดแผลเช่นกัน เพราะจะทำให้บาดแผลได้รับการปนเปื้อนจากเชื้อโรคมากมายที่อยู่ในปาก  นอกจากนี้ ควรล้างบาดแผลหลังได้รับบาดเจ็บทันทีที่เป็นไปได้ เพราะหากปล่อยไว้นานจะยิ่งไม่เป็นผลดีต่อบาดแผล 

วิธีการรักษา

แผลติดเชื้อนั้นจำเป็นต้องเริ่มการรักษาด้วยยาปฎิชีวนะ ซึ่งแผลที่ไม่สะอาดส่วนมากที่กำลังจะอักเสบทำเช่นนั้นภายใน 24 ถึง 72 ชั่วโมงหลังการเกิดบาดแผล  การบำบัดรักษาอาการแดงปกติที่ไม่รุนแรง สามารถทำได้ที่บ้าน โดยให้ใช้น้ำเกลืออุ่นแช่หรือประคบ (เกลือ 2 ข้อนชาต่อน้ำ 1 ควอร์ต)ที่บาดแผลเป็นเวลา 15 นาที 3 ครั้งต่อวัน หลังจากนั้นเช็ดแผลให้แห้งสนิท  ห้ามแช่แผลที่ได้รับการเย็บ เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ข้อแนะนำอื่นๆ เพิ่มเติม

  • เพื่อป้องกันการเกิดแผลติดเชื้อ ควรล้างบาดแผลที่เกิดใหม่ทั้งหมดให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่าเป็นเวลา 5 ถึง 10 นาทีเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย  สำหรับบาดแผลที่ถูกแทง ให้แช่ในน้ำสบู่อุ่นๆเป็นเวลา 15 นาที 
  • ติดต่อกุมารแพทย์หลังจากนี้ หากรอยแดงเริ่มขยายมากขึ้น, รู้สึกว่าบุตรหลานของท่านมีอาการแย่ลง, บุตรหลานของท่านเริ่มแสดงอาการบ่งชี้ใดๆที่ ”ควรติดต่อกุมารแพทย์ของท่าน”
  • ติดต่อกุมารแพทย์ของท่านภายใน 24 ชั่วโมง  หากท่านพบหนองที่บาดแผล หรือมีหนองไหลออกมาจากบาดแผล, เริ่มมีตุ่มขึ้นบริเวณรอยแผลที่ไหมละลายไม่หมด, บาดแผลเริ่มเจ็บมากขึ้นกว่าที่เป็นในวันที่สองของการมีบาดแผล, หรือคิดว่าบุตรหลานของท่านจำเป็นต้องไปพบแพทย์
  • รีบติดต่อกุมารแพทย์โดยทันที หากมีอาการเจ็บที่บาดแผลเป็นอย่างมาก, เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ (ไข้สูงกว่า 100°F), มีริ้วสีแดงออกมาจากบริเวณบาดแผล, มีแผลติดเชื้อบนใบหน้า, หรือมีท่าทีหรือดูเหมือนว่าป่วยหนัก

ชนิดา แซ่ตั้ง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้มีโอกาสทำงานต่างประเทศและใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานมากกว่า 10 ปี ค้นพบว่าตัวเองมีความชื่นชอบด้านภาษาและการแปล จึงศึกษาเพิ่มเติม ปัจจุบันเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในอิสระและนักแปลอาสาสมัครให้กับ Translators without Borders (องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ให้บริการด้านการแปลแก่องค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม) และเว็บไซต์ TED.com

ชนิดา แซ่ตั้ง ยังเป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์อีกด้วย

02/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง



เมื่อมีการแจ้งเหตุงูกัด การระบุชนิดของงูที่กัดในบางครั้งก็อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากงูตัวดังกล่าวอาจจะหนีหายไปก่อนที่จะแจ้งเหตุ

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว