เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ภาวะขาดอากาศหายใจ (Suffocation): สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : วชิราพร กลัดเจริญ
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ภาวะขาดอากาศหายใจ (Suffocation): สาเหตุ อาการและการรักษา

ภาวะขาดอากาศหายใจ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กทารกอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 เดือน ซึ่งนอนคว่ำลงบนเบาะหรือที่นอนที่มีความนุ่มเป็นพิเศษ เนื่องจากเด็กในวัยดังกล่าวอวัยวะหรือศีรษะของพวกเขายังไม่มีความแข็งแรงมากพอที่จะสามารถพยุงตนเองเพื่อหายใจได้  ภาวะขาดอากาศหายใจนี้มักเกิดขึ้นบ่อยกับเด็กที่ไม่ได้นอนบนเตียงนอนสำหรับเด็ก หรือ เด็กที่ได้รับการดูแลจากผู้ที่ไม่ทราบความสำคัญของเรื่องดังกล่าว รวมถึงการนอนบนเตียงเดียวกันกับผู้ใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวเนื่องจากเตียงขอใหญ่มีความนุ่มมากเกินไป และมีความเสี่ยงที่เด็กทารกเกิดอาการหายใจไม่ออกเนื่องจากการนอนทับของคุณแม่ซึ่งนอนหลับอยู่ 

อาการแสดงและอาการทั่วไป   

ภาวะขาดอากาศหายใจดังกล่าวอาจมีการแสดงอาการให้สังเกตให้เห็นในขณะที่นอนหลับ จากเสียงหายใจที่ผิดปกติ อาทิ เสียงแหบฮื้ด เสียงหวีด หรือ มีการหายใจแบบติดขัด รวมถึงการแสดงออกทางร่างกายโดยหากเด็กทารกมีสีผิวที่เปลี่ยนไปเช่น ลำตัวเขียว หรือ ซีดมากกว่าปกติ อีกด้วย

สาเหตุของการเกิดภาวะขาดอากาศหายใจ  

ภาวะดังกล่าวมักเกิดจากการที่เด็กนอนคว่ำบนเบาะที่ไม่เหมาะสมโดยอาจมีความนุ่มมากเกินไป ซึ่งทำให้ไม่สามารถหายใจได้ รวมถึงอาจเกิดจากมีวัตถุปิดคลุมใบหน้า อาทิ ตุ๊กตาของเล่น ผ้าห่ม ผ้าคลุม ทำให้เด็กไม่สามารถหายใจได้  ทั้งนี้ถุงพลาสติกเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะดังกล่าว เพราะเด็กอาจนำถุงพลาสติกมาสวมหัวหรือคลานเข้าในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ จนทำให้หายใจไม่ออกได้

วิธีการรักษา และปฐมพยาบาลเบื้องต้น  

เมื่อเด็กมีอาการที่แสดงออกให้เห็นถึงภาวะขาดอากาศหายใจหรือหายใจไม่ออกดังกล่าว ให้รีบนำเด็กนอนหงาย ใช้มือข้างหนึ่งยกศีรษะขึ้น อีกข้างหนึ่งเชยคางของเด็กขี้น ตรวจสอบลมหายใจของเด็ก และตรวจสอบชีพจร โดยนำนิ้วสองข้างวางบริเวณลำคอใกล้เคียงกับลูกกระเดือก หากเป็นเด็กทารกตรวจสอบชีพจรจากบริเวณแขนด้านในระหว่างข้อศอกกับหัวไหล่ หากเด็กอยู่ในภาวะไม่หายใจหรือไม่มีชีพจร ให้รีบดำเนินการปั๊มหัวใจ หรือทำ  CPR โดยทันที ทั้งนี้ให้โทรหาหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน

วิธีป้องกัน 

การป้องกันการเกิดภาวะขาดอากาศหายใจดังกล่าว สามารถทำได้โดยให้เด็กนอนในที่นอนสำหรับเด็ก หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำบนที่นอนที่มีความนุ่ม รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าห่มหรือผ้าคลุมในเด็กทารก โดยให้เด็กทารกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีความอุ่นมากพอ หลีกเลี่ยงการให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เล่นถุงพลาสติกโดยให้เก็บบรรดาถุงพลาสติกเหล่านนั้นให้พ้นจากมือเด็ก

ประวัตินักแปล

วชิราพร กลัดเจริญ สำเร็จการศึกษาสาขานิติศาสตร์บัณฑิต และมีอาชีพทนายความ

ปัจจุบัน เป็นนักแปลและล่ามอาชีพ สายกฎหมายและการแพทย์

04/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว