เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคงูสวัด (Shingles): อาการ สาเหตุและการรักษา
โดย : กุลริศา หมอนสอาด
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
โรคงูสวัด (Shingles): อาการ สาเหตุและการรักษา

โรคงูสวัด โดยชื่อภาษาอังกฤษ คือ Shingles หรือ Herpes zoster เป็นตุ่มบริเวณผิวหนังที่มีอาการเจ็บและปวดแสบ เกิดจากการรับเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) โดยจะเกิดขึ้นเป็นแนว หรือเป็นบริเวณเล็กๆ เพียงซีกหนึ่งซีกใดของใบหน้าหรือร่างกาย

สาเหตุของโรค

โดยปกติโรคงูสวัดจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากความเครียด การบาดเจ็บ การใช้ยาบางชนิด หรือสาเหตุอื่นๆ และคนส่วนใหญ่เมื่อหายจากโรคงูสวัดแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นอีก แต่อย่างไรก็ตามสามารถกำเริบขึ้นมาได้หากได้รับเชื้อซ้ำ โดยเชื้อโรคงูสวัดเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) หากได้รับครั้งแรกจะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อหายแล้วเชื้อจะไปซ้อนที่ปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอและภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง จะทำให้เชื้อกลับมากำเริบอีกครั้ง โดยสาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนว่าจะมาจากโรค ความเครียดและอายุที่สูงขึ้น หรือยาบางชนิดก็อาจจะไปกระตุ้นให้เชื้อกำเริบได้ ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นโรคงูสวัดเท่านั้นไม่ใช่โรคอีสุกอีใส

(อ้างอิงจาก webmd.com)

อาการของโรคงูสวัด

ลักษณะอาการ:

  • ผื่นเป็นแถบตามแนวเส้นประสาท 1 เส้นหรือมากกว่า
  • ผื่นเกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • ผื่นจะเริ่มต้นเป็นตุ่มแดง และกลายเป็นตุ่มน้ำใส สุดท้ายจะแห้งตกสะเก็ด (ลักษณะคล้ายอีสุกอีใส)
  • หลัง หน้าอก และหน้าท้องเป็นจะเป็นบริเวณที่พบได้บ่อยที่สุด
  • ผื่นมักจะไม่ไหม้หรือคันในเด็ก (ตรงกันข้ามกับผู้ใหญ่)
  • เด็กไม่มีไข้หรือรู้สึกไม่สบาย
  • เด็กเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
  • หากพบในเด็กว่ามีอาการแตกต่างจากนี้ ให้รีบพบแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ

วิธีการรักษา

การบรรเทาอาการ - เด็กส่วนใหญ่จะไม่พบอาการ แต่หากพบว่ามีอาการปวด ให้ทานยาอะเซตามิโนเฟนหรือ ยาไอบูโพรเฟนเท่าที่จำเป็น งดทานยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคงูสวัดซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม(Reye'syndrome) หลีกเลี่ยงการเกาและแกะผื่นจากอาการคัน และไม่จำเป็นต้องใช้ครีมในการบรรเทาอาการ

กรณีเกิดโรคติดต่อ - เด็กที่เป็นโรคงูสวัดสามารถแพร่เชื้ออีสุกอีใสให้ผู้อื่นได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นโดยการสัมผัสผื่นงูสวัด แม้ว่าโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสได้น้อยมากกับเด็กที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส ซึ่งเด็กที่เป็นโรคงูสวัดควรงดเว้น ไปโรงเรียนเป็นเวลา 7 วัน จนกว่าผื่นโรคงูสวัดจะตกสะเก็ดและลอกออก อย่างไรก็ตาม เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสควรหลีกเลี่ยงการไปพบเด็กที่เป็นโรคงูสวัด

อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบกุมารแพทย์

(1) โทรหากุมารแพทย์ในช่วงเวลาทำการหาก:

  • มีอาการเจ็บปวดหรือคันมากจากผื่น
  • เกิดผื่นขึ้นบริเวณใกล้ดวงตา
  • หากคุณคิดว่าลูกของคุณต้องการพบแพทย์

(2) โทรหากุมารแพทย์ในภายหลังหาก:

  • เป็นผื่นบนผิวหนังนานกว่า 14 วัน
  • คุณรู้สึกว่าลูกของคุณมีอาการแย่ลง
  • ลูกของคุณมีอาการนอกเหนือจากข้างต้นให้โทรปรึกษากุมารแพทย์ทันที

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

ควรหลีกเลี่ยงอย่างไร

วัคซีนโรคงูสวัดเหมือนกับวัคซีนอีสุกอีใส คือ ไม่สามารถรับประกันว่าผู้ที่ฉีดแล้วจะไม่กลับมาเป็นโรคงูสวัดซ้ำอีก แต่วัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงที่จะทำให้มีอาการปวดปลายประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด (postherpetic neuralgia, PHN) อย่างไรก็ตาม วัคซีนโรคงูสวัดจะใช้สำหรับการป้องกันโรคเท่านั้น และไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ โดยวัคซีนจะเป็นวัคซีนเชื้อเป็นและไม่เหมาะกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ

(อ้างอิงจาก mayoclinic.com)

กุลริศา หมอนสอาด "ปัจจุบัน เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์"

05/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว