
แผลในปาก หรือเรียกว่า แผลร้อนใน เป็นแผลขนาดเล็ก ตื้น ที่พัฒนามาจากเนื้อเยื่ออ่อนภายในปากหรือโคนเหงือก อาจมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้รับประทานอาหารและพูดลำบาก อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่โรคติดต่อและอาจเกิดขึ้นหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งก็ได้ ไม่ว่าใครก็ตามสามารถเป็นได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะพบในเด็กและวัยรุ่น รวมทั้ง ยังพบในเพศหญิงเป็นส่วนมาก แผลในปากขนาดใหญ่อาจพบได้ยากแต่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้มีประวัติเคยเป็นแผลในปากมากก่อน
อาการของโรค: แผลในปากส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นวงกลม หรือวงรี โดยมีจุดกึ่งกลางสีขาวหรือสีเหลือง และมีขอบสีแดง ซึ่งก่อตัวขึ้นจากภายในปาก บริเวณด้านบนหรือใต้ลิ้น, ภายในแก้ม, ริมฝีปาก, โคนเหงือก หรือบนเพดานอ่อน ซึ่งคุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการแสบร้อนใน 1-2 วันก่อนแผลจะเกิดขึ้น ลักษณะของแผลในปากมีหลายประเภท ประกอบด้วย แผลขนาดเล็ก แผลขนาดใหญ่ และแผลเฮอร์ปิติฟอร์ม
- แผลในปากขนาดเล็ก มักพบเป็นส่วนใหญ่ มีขนาดเล็ก เป็นรูปวงรี มีขอบสีแดง และสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
- แผลในปากขนาดใหญ่ ปกติมักจะพบน้อย มีขนาดใหญ่ แต่ลึกกว่าแผลในปากขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นวงกลม โดยไม่มีขอบ แต่อาจจะมีขอบเมื่อมีลักษณะใหญ่ขึ้น มีอาการเจ็บปวดมาก และใช้เวลาราว 6 สัปดาห์ ในการรักษาและอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้มากมาย
- แผลเฮอร์ปิติฟอร์ม มักไม่ค่อยพบและเกิดขึ้นในภายหลัง แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเริม ซึ่งมีขนาดที่แน่นอน มักเกิดเป็นกลุ่ม 10-100 แผล แต่อาจรวมเป็นแผลขนาดใหญ่ได้ มีขอบไม่เรียบ สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น
ทั้งนี้ อาจมีสัญญาณหรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ถ้าหากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการนี้ สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรได้
สาเหตุการเกิดโรค: สาเหตุที่แท้จริงยังไม่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ในบางกรณีอาการบาดเจ็บบริเวณเนื้อเยื่อภายในปากอาจก่อให้เกิดโรคแผลในปากได้
วิธีการรักษา: พิจารณาเคล็ดลับเหล่านี้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดให้หายเร็วขึ้น
- บ้วนปาก โดยใช้น้ำเกลือหรือเบกกิ้งโซดา (ละลายเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาต่อน้ำอุ่น ½ ถ้วย)
- แต้มนมแม็กนีเซียมเพียงเล็กน้อยบนแผลในปาก 2-3 ครั้งต่อวัน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์ กัดกร่อน กรด หรือรสเผ็ด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองและเจ็บปวดได้
- ใช้น้ำแข็งประคบแผลในปาก ซึ่งน้ำแข็งจะค่อยๆช่วยละลายไปตามแผล
- แปรงฟันเบาๆ โดยใช้แปรงขนนุ่มและยาสีฟันที่ไม่มีฟอง เช่น ไบโอทีน หรือเซ็นโซดายน์ โปรนาเมล
ข้อแนะนำอื่นๆ: กรุณาปรึกษาทันตแพทย์ หากคุณเคยมีแผลขนาดใหญ่ผิดปกติ มีแผลเป็นๆหายๆเกิดใหม่ก่อนแผลเก่าจะหาย หรือระบาดบ่อยๆ มีแผลเรื้อรั้งนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีแผลที่ขยายเข้าไปในบริเวณขอบริมฝีปาก มีอาการปวดที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำลำบากมาก และมีไข้ขึ้นสูงร่วมกับแผลในปาก หรือหากคุณมีผิวฟันที่แหลมคมหรือมีอุปกรณ์ทันตกรรมที่ดูเหมือนก่อให้เกิดแผลในปาก
วิธีป้องกัน: แผลในปากมักเกิดขึ้นอีก แต่คุณสามารถลดความถี่การเกิดได้โดยการทำตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้
- สังเกตสิ่งที่คุณรับประทาน พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ระคายเคืองปาก ซึ่งอาจรวมถึง ถั่ว มันฝรั่งทอด เพรทเซล เครื่องเทศบางชนิด อาหารรสเค็ม และผลไม้ที่เป็นกรด เช่น สับปะรด เกรปฟรุต และส้ม หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาหารแพ้ง่ายหรือแพ้
- เลือกอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อช่วยป้องกันการขาดสารอาหาร รับประทานผลไม้ ผัก และธัญพืชไม่ขัดสี
- ปฏิบัติตามนิสัยสุขอนามัย แปรงฟันหลังอาหารเป็นประจำและใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง ซึ่งสามารถรักษาความสะอาดปากของคุณและไม่มีอาหารที่อาจก่อให้เกิดแผลได้ รวมทั้ง ใช้แปรงขนนุ่มช่วยป้องกันการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในปากและหลีกเลี่ยงยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีโซเดียมลอรัลฟันเฟต
- ปกป้องปากของคุณ หากคุณใส่เหล็กจัดฟันหรือใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรมอื่นๆ ให้ถามทันตแพทย์เกี่ยวกับขี้ผึ้งจัดฟัน เพื่อปกปิดขอบที่แหลมคม
- ลดความเครียด ถ้าหากแผลในปากของคุณดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับอาการเครียด เรียนรู้และใช้เทคนิคการคลายความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ และการจินตนาภาพ
หลังจากเรียนจบสายภาษา วิมลวรรณ สุทธิพิทักษ์ ได้เริ่มเส้นทางพนักงานประจำในแวดวงวิศวกรรมกว่า 7 ปี จากนั้น มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เอเจนซี่อยู่พักหนึ่ง ก่อนเปลี่ยนไปทำงานสายอุตสาหกรรมยา แต่ในระหว่างนั้นก็รับแปลเอกสารทั่วไปอยู่บ้าง และมีความสนใจการแปลอย่างจริงจัง จึงลงคอร์สเรียนการแปลกับสถาบัน SEAProTi ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคการแปลและเพิ่มพูนคำศัพท์ในแวดวงกฎหมายและการแพทย์มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน วิมลวรรณ สุทธิพิทักษ์ เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์