เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคฟันผุจากขวดนม: สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : วัชรี เลอมานกุล
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ

โรคฟันผุจากขวดนม: สาเหตุ อาการและการรักษา
โรคฟันผุจากขวดนมเป็นโรคฟันผุที่มักเกิดในทารกและเด็กเล็กๆ มีสาเหตุจากน้ำตาลที่อยู่ใน นม นมผสม และน้ำผลไม้ เกาะที่ฟันของลูกน้อยเป็นเวลานาน ๆ แบคทีเรียในช่องปากจะย่อยน้ำตาลเหล่านี้ให้กลายเป็นกรด ซึ่งไปทำลายฟัน ทำให้ฟันผุอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า โรคฟันผุจากขวดนม ช่วงที่ฟันค่อยๆผุกร่อนจะใช้เวลาหลายเดือน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่ สังเกตเห็น พอเคลือบฟันถูกทำลายแล้ว ฟันก็จะผุอย่างรวดเร็ว
โรคนี้รักษาอย่างไร
ขั้นตอนง่ายๆที่ช่วยขจัดโรคฟันผุจากขวดนม คือการรักษาสุขภาพปากและฟันตั้งแต่ลูกยังอายุน้อยๆ ด้วยวิธีต่อไปนี้
- ใช้สำลีก้อนหรือผ้าพันนิ้ว เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่ยังไม่มีฟันขึ้นเหงือกลูกน้อยหลังดูดนมทุกครั้ง
- เริ่มให้ลูกหัดแปรงฟันตั้งแต่เริ่มมีฟันขึ้นโดยไม่ต้องใส่ยาสีฟัน
- เมื่อลูกมีฟันขึ้นชิดกัน ให้ใช้ไหมขัดฟัน
- เคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ เพื่อลดปัญหาฟันผุ โดยพาลูกน้อยไปพบหมอฟันเป็นประจำ เพื่อรับสารเคลือบฟันที่ช่วยป้องกันฟันผุ และเมื่อมีความผิดปกติ ก็ควรพาไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด
- ให้หยุดนิสัยการดูดน้ำหวานจากขวด และไม่ปล่อยให้หลับเมื่อยังมีขวดนมคาอยู่ในปาก โดยใส่น้ำลงไปเจือจางนมในขวดนม ค่อยๆทำโดยอาจใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ใส่แต่น้ำเปล่าในขวด
เคล็ดลับการป้องกันฟันผุ
- อย่าให้ลูกกินน้ำหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม
- หากลูกติดขวดนม เมื่อลูกเข้านอนให้ใส่น้ำเปล่าในขวดนมเท่านั้น ไม่ควรใส่น้ำผลไม้ นม หรือเครื่องดื่มอื่นๆในขวด และให้เอาขวดนมออกเมื่อลูกหลับ
- เมื่ออายุถึง 6 – 12 เดือน ให้ลูกดูดขวดนมเมื่อต้องกินนมผสมเท่านั้น
- อย่าปล่อยให้ลูกเดินไปเดินมา โดยมีขวดนมที่มีน้ำหวานอยู่คาปาก พยายามอย่าให้ลูกดูดจุกนมนาน ๆ และไม่จุ่มจุกนมในน้ำผึ้ง น้ำที่มีความหวาน
- เริ่มสอนให้ลูกใช้ถ้วยดื่มเมื่ออายุถึง 6 เดือน และหยุดใช้ขวดนมเมื่ออายุประมาณ 12 – 14 เดือน
เคล็ดลับการดูแลฟันลูกน้อย
- หลังจากกินนมแล้ว ใช้ลำสีหรือผ้าเช็ดฟันและเหงือก เพื่อทำความสะอาดและขจัดคราบฟัน
- เริ่มให้ลูกแปรงฟันตั้งแต่เริ่มมีฟันขึ้น โดยแปรงฟันด้วยกันกับลูกอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งก่อนนอน เมื่อยังอยู่ในวัยทารกหรือวัยหัดเดิน ให้ใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์เพียงเล็กน้อย บีบใส่ผ้าและถูเบาๆบริเวณฟัน และเปลี่ยนเป็นยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เมื่อคุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่าลูกบ้วนปากได้แล้ว เมื่อลูกโตขึ้นให้เริ่มใช้แปรงสีฟันขนอ่อนๆ และใส่ยาสีฟันปริมาณน้อยๆ (ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว)
- เริ่มใช้ไหมขัดฟันเมื่อเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น (โดยทั่วไปประมาณ 2 ขวบครึ่ง)
- ไปพบทันตแพทย์ ตั้งแต่เริ่มมีฟันขึ้นหรือประมาณ 2 หรือ 3 ขวบ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อน เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ
02/05/2022