เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กรดโฟลิค (Folic Acid)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
กรดโฟลิค (Folic Acid)

สรรพคุณ

กรดโฟลิคใช้สำหรับป้องกันและรักษาการขาดโฟเลท (Folate) นอกจากนั้นยังสามารถแก้โรคโลหิตจาง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารในลำไส้ใหญ่ได้ดียิ่งขึ้น

กรดโฟลิค ยังใช้ในการรักษาโรคอื่นร่วมกับการขาดโฟเลท (Folate) ด้วย เช่น โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง และการล้างไต

ในหญิงตั้งครรภ์หรือเตรียมการตั้งครรภ์นั้น จะใช้ Folic acid เพื่อป้องกันการแท้งบุตร และป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) แต่กำเนิด เช่น ความบกพร่องของไขกระดูกสันหลัง

ในบางกลุ่มใช้ Folic acid เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งปากมดลูก และยังใช้ป้องกันโรคหัวใจกับโรคเส้นเลือดอุดตันได้ ด้วยการลดระดับ Homocysteine ในเลือด ซึ่งระดับ Homocysteine สูงทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้

Folic acid ใช้กับผู้ที่มีภาวะความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) ปัญหาสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุ ใช้ป้องกันโรคตา จอประสาทตาเสื่อมในผู้สุงอายุ macular degeneration (AMD) ชะลอวัย แก้โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) อาการขาอยู่ไม่สุข (restless leg syndrome) ปัญหาการนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า อาการปวดเส้นประสาท อาการปวดกล้ามเนื้อ AIDS โรคผิวหนังชื่อ โรคด่างขาว และโรคทางพันธุกรรม ชื่อว่า Fragile-X syndrome และยังใช้ช่วยลดผลข้างเคียงของการใช้ยา lometrexol และ ยาmethotrexate

บางคนใช้ Folic acid ทาโดยตรงเพื่อรักษาการติดเชื้อในเหงือก

บ่อยครั้งที่ Folic acid มักจะใช้ร่วมกับวิตามินบี อื่นๆ

กลไกการออกฤทธิ์

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของกรดโฟลิค ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันว่ากรดโฟลิค จำเป็นในการปรับสมดุลในการร่างกาย มีความสัมพันธ์กับกระบวนการผลิตสารพันธุกรรมที่เรียกว่า สาร DNA และ ระบบต่างๆ ในร่างกายมากมาย

ข้อควรระวังและคำเตือน  

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในกรดโฟลิค ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิคนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ความปลอดภัย

 

กรดโฟลิคปลอดภัยสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อรับประทานหรือรับเข้าสู่ร่างกาย

กรดโฟลิคอาจไม่ปลอดภัยสำหรับเมื่อรับประทานจำนวนมาก เป็นระยะเวลานาน

ข้อควรระวังและคำเตือน

ช่วงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: การใช้ Folic acid ปลอดภัยหากรับประทานอย่างเหมาะสมขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร การรับประทานในปริมาณ 300 – 400 ไมโครกรัม ต่อวัน ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งโดยปกติสามารถป้องกันความพิการแต่กำเนิดได้

ในขั้นตอนการขยายหลอดเลือดโดยการทำขดลวดบอลลูน (angioplasty): การใช้ Folic acid วิตามินบี 6 และวิตามินบี12 ในหลอดเลือดดำ (by IV) หรือโดยการรับประทานอาจทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงได้ ไม่ควรใช้กรดโฟลิค กับคนไข้ที่เพิ่งได้รับการทำบอลลูนหลอดเลือดแดง

โรคมะเร็ง: มีการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้แนะนำว่าการรับ Folic acid ปริมาณ 800-1000 ไมโครกรัม ต่อวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้ และคนไข้เคยป่วยเป็นมะเร็งก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Folic acid ในปริมาณมากด้วย

โรคหัวใจ: จากการศึกษาข้อมูลที่ผ่านมาแนะนำว่า การใช้ Folic acid ร่วมกับวิตามินบี 6 อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจกำเริบในผู้ที่มีประวัติการเป็นโรคหัวใจมาก่อน

โรคโลหิตจาง (Anemia) จากการขาดวิตามินบี 12: การใช้ Folic acid อาจปกปิดอาการของโรคโลหิตจางที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินบี 12 ได้ และยังทำให้ชะลอผลการรักษาอีกด้วย

อาการชัก: การใช้กรดโฟลิค เป็นอาหารเสริมอาจทำให้อาการชักแย่ลงในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติโรคชัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในปริมาณมาก

ผลข้างเคียง

ส่วนใหญ่จะไม่มีผลข้างเคียงในผู้ที่ใช้ในปริมาณ น้อยกว่า 1000 ไมโครกรัม ต่อวัน หากได้รับกรดโฟลิค ในปริมาณสูงจะทำให้ ปวดช่องท้องส่วนล่าง ท้องเสีย เกิดผื่นคัน โรตเกี่ยวกับการนอนหลับ ฉุนเฉียวง่าย อาการสับสน คลื่นไส้ ท้องปั่นป่วน พฤติกรรมเปลี่ยนไป ผิวหนังเกิดการแพ้หรือตอบสนอง อาการชัก เกิดแก๊สในท้อง เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเกิดการตอบสนอง และผลข้างเคียงอื่นๆ

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

กรดโฟลิคอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา

ตัวยาที่อาจมีปฏิกิริยากับกรดโฟลิคได้แก่

  • Fosphenytoin (Cerebyx)

Fosphenytoin (Cerebyx) ใช้รักษาอาการชัก เมื่อร่างกายสูญเสีย fosphenytoin (Cerebyx) และถูกขจัดออกไป Folic acid สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสีย fosphenytoin (Cerebyx) การใช้ Folic acid ร่วมกับยา fosphenytoin (Cerebyx) อาจลดประสิทธิภาพในการป้องกันอาการโรคชัก

  • Methotrexate (MTX, Rheumatrex)

Methotrexate (MTX, Rheumatrex) ออกฤทธิ์ลดประสิทธิภาพของ Folic acid ในเซลล์ร่างกาย การใช้ยา Folic acid ร่วมกับยา methotrexate อาจลดประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยา methotrexate (MTX, Rheumatrex)

  • Phenobarbital (Luminal)

Phenobarbital (Luminal) ใช้รักษาโรคชัก การใช้ Folic acid สามารถลดประสิทธิผลของยา phenobarbital (Luminal) ในการออกฤทธิ์รักษาโรคชัก

  • Phenytoin (Dilantin)

เมื่อร่างกายสูญเสีย phenytoin (Dilantin) และถูกขจัดออกไป Folic acid สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสีย phenytoin (Dilantin) การใช้ยา Folic acid ร่วมกับยา phenytoin (Dilantin) อาจลดประสิทธิภาพยา phenytoin (Dilantin) และทำให้มีโอกาสเกิดอาการชักเพิ่มขึ้น

  • Primidone (Mysoline)

Primidone (Mysoline) ใช้รักษาโรคชัก Folic acid อาจทำให้เกิดอาการชักในบางคน การใช้ยา Folic acid ร่วมกับยา primidone (Mysoline) สามารถลดประสิทธิผลของยา primidone ในการออกฤทธิ์ป้องกันโรคชัก

  • Pyrimethamine (Daraprim)

Pyrimethamine (Daraprim) ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากปรสิต Folic acid อาจลดประสิทธิภาพของยา pyrimethamine (Daraprim) ในการรักษาการติดเชื้อปรสิตได้

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้กรดโฟลิคอยู่ที่เท่าไร

ปริมาณการใช้กรดโฟลิค อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

จากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ควรใช้ยาในปริมาณต่อไปนี้:

ชนิดรับประทาน:

  • ภาวะขาดกรกโฟลิค: ปริมาณใช้ยา ระหว่าง 250 – 1000 ไมโครกรัมต่อวัน
  • ใช้ป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) แต่กำเนิด: ใช้ Folic acid อย่างน้อย 400 ไมโครกรัม ต่อวัน สำหรับปริมาณอาหารเสริมที่ใช้ ควรใช้กับผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ไปจนถึงระยะตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด แต่กำเนิด ให้ใช้ปริมาณ 4 มิลลิกรัม ต่อวัน ตั้งแต่ระยะก่อนเริ่มตั้งครรภ์1เดือนจนพ้นอายุครรภ์ 3 เดือนไปแล้ว
  • ใช้ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่: 400 ไมโครกรัม ต่อวัน
  • ลดระดับสารโฮโมซีสทีน ในเลือด: ใช้ 0.5 – 5 มิลลิกรัม ต่อวัน ถึงแม้ว่า ปริมาณ 0.8 – 1มิลลิกรัม ต่อวันนั้นจะได้ผลการรักษามากกว่า
  • ในคนไข้โรคไตระยะสุดท้าย ระดับของสารโฮโมซีสทีน จะสูงจนยากที่จะทำการรักษาได้ ปริมาณที่ใช้ 0.8 – 15 มิลลิกรัม ต่อวัน การใช้ปริมาณยาแบบอื่น คือ 2.5 – 5 มิลลิกรัม สัปดาห์ละ 3 ครั้ง หากรับปริมาณยาที่เกินกว่า 15 มิลลิกรัม ต่อวันนั้นก็ไม่ได้ส่งผลทางการรักษาที่ดีกว่าเดิมแต่อย่างใด
  • สำหรับการใช้เพิ่มการตอบสนองของยารักษาอาการซึมเศร้า: ใช้ปริมาณ 200 – 500 ไมโครกรัม ต่อวัน
  • สำหรับโรคด่างขาว: ใช้ปริมาณ 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
  • ใช้ลดพิษร่วมกับการบำบัดด้วยยา ยาเมโธเทรกเซทสำหรับโรคไขข้ออักเสบ (RA)) หรือ โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis): ใช้ปริมาณที่เพียงพอจำนวน 1 มิลลิกรัม ต่อวัน แต่อาจใช้มากกว่า 5 มิลลิกรัม ต่อวันได้
  • สำหรับป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม: Folic acid ปริมาณ 2.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 12 (cyanocobalamin) 1000 ไมโครกรัม และวิตามินบี 6 50 มิลลิกรัม ต่อวัน

ปริมาณที่เพียงพอ (The adequate intakes (AI)) สำหรับเด็กทารก 65 ไมโครกรัม สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน และปริมาณ 80 ไมโครกรัม สำหรับเด็กทารกอายุ 7 – 12 เดือน ปริมาณสารอาหารที่แนนำในแต่ละวัน (The recommended dietary allowances (RDAs)) ของ folate ใน DFE ซึ่งประกอบด้วยอาหารที่มี folate และ folic acid จากการเพิ่มคุณค่าอาหาร และอาหารเสริม คือ: เด็กอายุช่วง 1 – 3 ปี จำนวน 150 ไมโครกรัม เด็กอายุ 4 – 8 ปี ปริมาณ 200 ไมโครกรัม เด็กอายุ 9 – 13 ปี ปริมาณ 300 ไมโครกรัม ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป ปริมาณ 400 มิลลิกรัม ในสตรีมีครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 600 ไมโครกรัม และสตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ปริมาณ 500 ไมโครกรัม ระดับยาที่จำนวนจำกัด (The tolerable upper intake levels (UL)) ของปริมาณ folate คือ 300 ไมโครกรัม สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี ปริมาณ 400 ไมโครกรัม สำหรับเด็กอายุ 4 – 8 ปี ปริมาณ 600 ไมโครกรัม สำหรับเด็กอายุ 9 – 13 ปี ปริมาณ 800 ไมโครกรัม สำหรับเยาวชนอายุ 14 – 18 ปี และ ปริมาณ 1000 ไมโครกรัม สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

รูปแบบของกรดโฟลิค

กรดโฟลิคอาจจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูล Folic acid
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว