เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เฮมล็อก สปรูซ (Hemlock Spruce)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เฮมล็อก สปรูซ (Hemlock Spruce)

สรรพคุณ

เฮมล็อก สปรูซ ใช้รักษาอาการไอ ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ วัณโรค เป็นไข้ อาการปวดหรือบวม (การอักเสบ) ของช่องปากและลำคอ อาการอักเสบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท โรคข้ออักเสบ และยังต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย

บางรายอาจใช้ เฮมล็อก สปรูซ ทาตรงบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เช่น ระบบทางเดินหายใจ บริเวณข้ออักเสบ บริเวณที่มีอาการอักเสบของเส้นประสาท รู้เวลาที่รู้สึกตึงเครียด นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและใส่ลงในอ่างอาบน้ำสำหรับผู้ป่วยสุขภาพจิต

เฮมล็อก สปรูซ อาจฟังดูคล้ายกับ วอเตอร์ เฮมล็อก และ ยูโรเปียน วอเตอร์ เฮ็มล็อก ซึ่งจริงๆแล้วเป็นพืชที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่าสับสนระหว่างเฮมล็อก สปรูซและ วอเตอร์ เฮมล็อกในแบบอื่นๆ เพราะวอเตอร์ เฮมล็อก เป็นพืชที่มีพิษรายแร้ง.

กลไกการออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเฮมล็อค สปูซไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในเฮมล็อค สปูซ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

 

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ความปลอดภัย

ยังไม่เป็นที่ทราบถึงความปลอดภัยในใช้เฮมล็อก สปรูซ หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรชนิดนี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้

โรคหอบหืด: ไม่ควรใช้เฮมล็อก สปรูซหากเป็นโรคหอบหืด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

โรคไอกรน: ไม่ควรใช้เฮมล็อก สปรูซหากเป็นโรคไอกรน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

ผิวหนังถลอก: ไม่ควรทาเฮมล็อก สปรูซบริเวณที่มีผิวหนังถลอก.

โรคหัวใจ: ไม่ควรใช้เฮมล็อก สปรูซหากเป็นโรคหัวใจ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

ผลข้างเคียง:

หากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาต่อระหว่างยา:

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจมีปฏิกริยากับยาที่กำลังใช้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้.

ขนาดยา:

***ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ***

ขนาดปกติของการใช้เฮมล็อก สปรูซอยู่ที่เท่าไหร่:

ปริมาณการใช้เฮมล็อก สปรูซอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับ ช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม.

รูปแบบชองเฮมล็อก สปรูซ

เฮมล็อก สปรูซ อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้: น้ำมันสกัดบริสุทธิ์

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว