เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid)

สรรพคุณของกรดไฮยาลูรอนิค

กรดไฮยาลูรอนิคเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีความเข้มข้นสูงที่สุดอยู่ภายในดวงตาและข้อต่อ กรดไฮยาลูรอนิคสามารถทำมาเป็นยารักษาโรคโดยสกัดมาจากหงอนของไก่ตัวผู้หรือทำมาจากแบคทีเรีย

กรดไฮยาลูรอนิคมีสรรพคุณในการรักษาความผิดปกติเกี่ยวข้องกับข้อต่อ รวมถึงโรคข้อเสื่อมด้วย โดยการรับประทานหรือวิธีการฉีดเข้าไปที่บริเวณข้อต่อที่ได้รับผลกระทบโดยผู้เชี่ยวชาญ

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองการใช้กรดไฮยาลูรอนิคระหว่างการผ่าตัดตา รวมถึงการเอาต้อกระจกออก การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา รักษาจอประสาทตาหลุดลอก และอาการบาดเจ็บของดวงตาชนิดอื่น  โดยวิฉีดเข้าสู่ดวงตาเพื่อช่วยทดแทนของเหลวธรรมชาติ

กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) ยังใช้ฉีดเติมเต็มผิวปาก ในวงการการทำศัลยกรรม

อาจใช้กรดไฮยาลูรอนิคทาบนผิวหนังเพื่อสมานแผล แผลไหม้ หลอดเลือดที่ผิวหนัง และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว

อีกทั้ง ยังมีความน่าสนใจอีกมากในการนำกรดไฮยาลูรอนิคมาใช้เพื่อป้องกันผลกระทบจากการสูงวัย โดยแท้จริงแล้ว กรดไฮยาลูรอนิคได้รับการโฆษณาว่าเป็น “แหล่งน้ำพุแห่งความเป็นหนุ่มสาว” (fountain of youth) แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่สนับสนันว่าการทานหรือการทาผิวสามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการสูงวัยได้

กลไกการออกฤทธิ์

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชียวชาญสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นรายงานว่ากรดไฮยาลูรอนิคมีกลไกการทำงานคล้ายกับส่วนกันกระแทกและสารหล่อลื่นในข้อต่อและเนื้อเยื่ออื่น ๆ นอกจากนี้ อาจจะส่งผลกับการตอบสนองของร่างกายต่ออาการบาดเจ็บ

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

 

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้กรดไฮยาลูรอนิค

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากมีอาการตามลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะช่วงที่ควรได้รับยารักษาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่นชนิดอื่น ซึ่งรวมถึงยาที่ไม่มีใบสั่งยา
  • แพ้สารที่อยู่ในกรดไฮยาลูรอนิค หรือแพ้ยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • มีอาการแพ้ต่าง เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรศึกษาให้ละเอียดเพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่ามีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยจากการใช้กรดไฮยาลูรอนิค

กรดไฮยาลูรอนิคค่อนข้างปลอดภัย หากใช้รับประทาน ทาบนผิว หรือฉีด อย่างเหมาะสม

ข้อควรระวังและคำเตือน

หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร: กรดไฮยาลูรอนิคถือว่ามีความปลอดภัยเมื่อใช้ฉีดในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังมีไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของกรดไฮยาลูรอนิค หากรับประทานหรือทาบนผิวในระหว่างตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพื่อความปลอดภัย

กรดไฮยาลูรอนิคอาจเป็นอันตราย เมื่อฉีดในระหว่างให้นมบุตร นักวิจัยยังไม่พบข้อสรุปว่ากรดชนิดนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรกับน้ำนมแม่และทารกที่รับประทานเข้าไป ข้อมูลที่น่าเชื่อถือยังมีไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานกรดไฮยาลูรอนิคหรือทาบนผิวในระหว่างให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพื่อความปลอดภัย

 

 

 

ผลข้างเคียง

 

ผลข้างเคียงจากการใช้กรดไฮยาลูรอนิค

กรดไฮยาลูรอนิคอาจทำให้เกิดอาการแพ้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

เกิดปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อใช้กรดไฮยาลูรอนิค

 

กรดไฮยาลูรอนิคอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้หรือส่งผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ปริมาณของยา

 

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้ชนิดนี้ทุกครั้ง

ปริมาณการใช้กรดไฮยาลูรอนิคโดยทั่วไปอยู่ที่เท่าไร

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้กรดไฮยาลูรอนิคในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของกรดไฮยาลูรอนิค

กรดไฮยาลูอาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ชนิดน้ำ
  • แคปซูล
  • ซีรัม

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์, การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

 

แหล่งที่มา:

Hyaluronic acid https://www.drugs.com/cons/hyaluronic-acid-injection.html สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560

Hyaluronic acid http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1062-hyaluronic%20acid.aspx?activeingredientid=1062& สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว