เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ชาหมักคอมบูชา (KOMBUCHA TEA)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ชาหมักคอมบูชา (KOMBUCHA TEA)

ชาหมักคอมบูชา (KOMBUCHA TEA) คืออะไร

ชาหมักคอมบูชา (KOMBUCHA TEA) คือ เครื่องดื่มชาเขียว หรือ ชาดำ ที่หมักแอลกอฮอล์ให้มีรสหวานเล็กน้อย เพื่อบริโภคเพื่อสุขภาพ บางสูตรอาจเติมน้ำผลไม้หรือเครื่องปรุงอื่น ๆ ตามชอบ

สรรพคุณของชาหมักคอมบูชา

ชาหมักคอมบูชามีสรรพคุณช่วยรักษาและบรรเทา ภาวะสูญเสียความทรงจำ อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ปวดข้อ (โรคไขข้ออักเสบ) การแก่ตัว อาการเบื่ออาหาร โรคเอดส์ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง ท้องผูก ข้ออักเสบ และการปลูกผม  อีกทั้งใช้สำหรับเพิ่มปริมาณของเม็ดเลือดขาว (T-cell) เพิ่มภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญอาหาร

บางคนทาชาหมักคอมบูชาที่ผิวโดยตรงเพื่อลดความเจ็บปวด

กลไกการออกฤทธิ์:

การศึกษาเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นของชาหมักคอมบูชายังมีไม่เพียงพอ กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ อย่างไรก็ตาม มีการงานวิจัยบางชิ้นรายงานว่า ชาหมักคอมบูชาประกอบด้วย แอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู วิตามินบี คาเฟอีน น้ำตาล และสารอื่น ๆ และไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าชาหมักคอมบูชาออกฤทธิ์อย่างไรเมื่อใช้เป็นยา

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้ชาหมักคอมบูชา

หากมีข้อสงสัย ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากอยู่ในอาการที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับยารักษาโรคเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาชนิดอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในสมุนไพรนี้ หรือแพ้ยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับการใช้ชาหมักคอมบูชานั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่ามีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยจากการใช้ชาหมักคอมบูชา

การที่ชาหมักคอมบูชาเป็นอันตรายทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก หากใช้รับประทาน

และชาหมักคอมบูชานี้ค่อนข้างไม่ปลอดภัยกับคนที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เอชไอวี/โรคเอดส์ ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย และเมื่อใช้กับหม้อเซรามิคเคลือบตะกั่ว มีรายงานว่าพิษของตะกั่วจะเข้าไปอยู่ในชาหมักคอมบูชา

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สตรีตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร: เป็นไปได้ที่ชาหมักคอมบูชาไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพื่อความปลอดภัย

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน: ชาหมักคอมบูชาอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเฝ้าระวังสัญญาณที่บ่งชี้ว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ (ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย) และตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด หากเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและใช้ชาหมักคอมบูชา

อาการท้องร่วง: การใช้ชาหมักคอมบูชาซึ่งมีผสมคาเฟอีนเป็นส่วนผสมในปริมาณมากอาจทำให้อาการท้องร่วงรุนแรงขึ้นจากเดิม

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS): การใช้ชาหมักคอมบูชาซึ่งมีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมในปริมาณมากอาจทำให้อาการท้องร่วงและโรคลำไส้แปรปรวนรุนแรงขึ้นเดิม

การผ่าตัด: เนื่องจากชาหมักคอมบูชาอาจส่งผลต่อระดับกลูโคสในเลือด จึงมีความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงในการควบคุมกลูโคสในเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด ควรหยุดการใช้ชาหมักคอมบูชาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ: ไม่ควรใช้ชาหมักคอมบูชา หากเป็นโรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเอชไอวี/โรคเอดส์ หรือสาเหตุอื่น ๆ ชาหมักคอมบูชาช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราซึ่งอาจทำให้ติดเชื้ออย่างรุนแรงได้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สมุนไพร

  • เมื่อใช้ทาน ผลข้างเคียงมีดังนี้ ปัญหากระเพาะอาหาร ติดเชื้อรา อาการแพ้ ผิวเหลือง (ดีซ่าน) อาการคลื่นไส้ อาเจียน เจ็บศีรษะและคอ และตาย

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

เกิดปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อใช้สมุนไพร

  • อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานหรือส่งผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์อาจมีปฏิกิริยากับสมุนไพร ดังนี้

ยาอดเหล้าไดซัลฟิแรม (ยาอดเหล้า) ชาหมักคอมบูชามีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ร่างกายย่อยแอลกอฮอล์เพื่อกำจัด ยาอดเหล้าไดซัลฟิแรม (ยาอดเหล้า) ลดการย่อยแอลกอฮอล์ ดังนั้นการใช้ชาหมักคอมบูชาร่วมกับยาอดเหล้าไดซัลฟิแรม (ยาอดเหล้า) ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน ผิวหนังสีแดง และอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ อย่างหนัก

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลเหล้านี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้ทุกครั้ง

ปริมาณการใช้ชาหมักคอมบูชาโดยทั่วไปอยู่ที่เท่าไหร่

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของชาหมักคอมบูชา

ชาหมักคอมบูชาอาจพบในรูปแบบต่อไปนี้

  • อาหารเสริมโพรไบโอติกส์ชนิดเหลว (สารสกัดอินทรีย์คอมบูชะกับเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต)

*** คุณอาจสนใจอ่านบทความเหล่านี้ ***

ชาดอกกุหลาบ (RoseTea) ดีต่อสุขภาพอย่างไร

มะขามป้อมอินเดีย (Indian Gooseberry)

ตะไคร้ (Lemongrass)

 WebMD. (2020). Kombucha tea. Accessed 14 April 2020. 

 Drugs. (2020). Kombucha tea. Accessed 14 April 2020. 

WikiPedia. (2020). Kombucha. Accessed 14 April 2020.

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว