เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / คูเลีย (Quillaia)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
คูเลีย (Quillaia)

สรรพคุณของคูเลีย

คูเลียเป็นพืชชนิดหนึ่ง เปลือกไม้ข้างในใช้ทำเป็นยารักษาโรค

  • การไอ
  • โรคหลอดลมอักเสบ
  • ปัญหาการหายใจ

คูเลียใช้ทาบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้

  • แผลเปื่อยที่ผิวหนัง
  • โรคน้ำกัดเท้า
  • คันหนังศีรษะ
  • รังแค
  • ตกขาว

กลไกการออกฤทธิ์:

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของคูเลียยังมีไม่เพียงพอ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่าคูเลียประกอบด้วยแทนนิน (tannins) ที่มีความเข้มข้นสูง สารที่เป็นยาสมานแผล เช่น แทนนิน (tannins) มีเมือกที่เป็นสาเหตุให้เกิดอากรไอ อีกทั้งคูเลียยังมีสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนที่จะใช้คูเลีย

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับยารักษาโรคเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • ใช้ยาอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • แพ้สารที่อยู่ในคูเลีย หรือแพ้ยา หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรมีการศึกษาเพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่ามีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยจากการใช้

คูเลียค่อนข้างปลอดภัย หากใช้ในปริมาณอาหาร แต่อาจเป็นอันตรายเมื่อนำมาใช้รับประทานในขนาดยา

ยังไม่มีข้อสรุปว่าคูเลียปลอดภัยหรือไม่เมื่อใช้กับผิวหนังและในบริเวณช่องคลอด

ข้อควรระวังและคำเตือน:

ขณะที่คูเลียไม่ปลอดภัยสำหรับคนอื่น ๆ บางคนมีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับผลข้างเคียงที่ร้ายแรง มีการระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ใช้คูเลีย ถ้าคุณมีเงื่อนไข ดังนี้

ตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร: คูเลียอาจไม่ปลอดภัยทั้งแม่และทารก หลีกเลี่ยงการใช้

ปัญหากระเพาะอาหารและลำไส้ (กระเพาะและลำไส้, GI): คูเลียสามารถรบกวนทางเดินอาหาร อย่าใช้คูเลียถ้ามีความผิดปกติที่กระเพาะอาหาร หรือเกี่ยวกับลำไส้

โรคไต: ออกซาเลต (oxalate) ในคูเลียเป็นสาเหตุให้เป็นนิ่วในไต อย่าใช้คูเลียถ้าคุณเป็นโรคไต หรือมีประวัติเป็นนิ่วในไต

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คูเลีย

พืชอย่างเช่นคูเลียมีส่วนประกอบของแทนนิน (tannins) ที่มีปริมาณสูงสามารถทำให้เกิดการแปรปรวนเกี่ยวกับลำไส้และไต และตับถูกทำลาย

คูเลียประกอบด้วยสารเคมีเรียกว่า ออกซาเลต (oxalate) ซึ่งสามารถลดระดับบลัดแคลเซียม (bloodcalcium) และทำให้เป็นนิ่วในไต

อีกทั้งคูเลียทำให้เป็นอาการท้องร่วง ความเจ็บปวดที่กระเพาะ ปัญหาการหายใจอย่างรุนแรง อาการชักกระตุก โคม่า การทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง และไตล้มเหลว

และคูเลียสามารถทำให้ระคายเคืองและทำลายเยื่อบุของปาก คอ และระบบทางเดินอาหาร

ถ้าสูดหายใจ ผงสามารถเป็นสาเหตุให้จามได้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจมีอาการอื่นจากผลข้างเคียง ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

เกิดปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อใช้คูเลีย

คูเลียอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้หรือส่งผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับคูเลีย ได้แก่

  • ชนิดรับประทาน
  • คูเลียประกอบด้วยสารเคมีจำนวนมากเรียกว่าแทนนิน (tannins) ซึ่งจะดูดซับสารในกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้คูเลียร่วมกับยาทางปากสามารถลดจำนวนยาที่ร่างกายดูดซึม และลดประสิทธิภาพของยา ป้องกันการเกิดปฏิกิริยานี้ ให้ใช้คูเลียหลังทานยาอื่นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • เมทฟอร์มิน (Metformin)

เมทฟอร์มิน (Metformin เช่น Glucophage) ใช้ลดน้ำตาลในเลือด คูเลียอาจลดปริมาณการดูดซับเมทฟอร์มิน (Metformin เช่น Glucophage) ในร่างกาย การใช้คูเลียร่วมกับเมทฟอร์มิน (Metformin เช่น Glucophage) อาจลดประสิทธิภาพของเมทฟอร์มิน (Metformin เช่น Glucophage) สำหรับผู้ที่น้ำตาลในเลือดต่ำลง ควรตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด ปริมาณของเมทฟอร์มิน (Metformin เช่น Glucophage) อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดนี้ทุกครั้ง

ปริมาณการทั่วไปของการใช้คูเลีย

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้คูเลีย ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของคูเลีย

คูเลียอาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • ผงคูเลีย
  • คูเลียดิบ

 

เรียนรู้เกี่ยวกับคูเลีย คูเลียใช้สำหรับทำอะไร สิ่งที่ควรทราบก่อนที่จะใช้คูเลีย ผลข้างเคียง คำเตือน และยาอะไรบ้าง

 

แหล่งที่มา:

Quillaia http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-385-quillaia.aspx?activeingredientid=385&activeingredientname=quillaia สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560

Quillaia https://www.drugs.com/npp/quillaja.html สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว