เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / การปั้มหัวใจ (ซีพีอาร์) สำหรับเด็ก
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
การปั้มหัวใจ (ซีพีอาร์) สำหรับเด็ก

1. ตรวจสอบดูว่าเด็กยังมีสติอยู่หรือไม่
− ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทั้งคุณและเด็กนั้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
− จับตัวเด็กด้วยความระมัดรวัง
− ถามเด็กว่าพวกเขาได้ยินเสียงคุณหรือไม่
− ตรวจสอบอย่างรวดเร็วว่าเด็กมีอาการบาดเจ็บหรือเลือดออกหรือปัญหาทางการแพทย์ใดๆ
2. ตรวจสอบว่าเด็กยังหายใจ
วางหูบริเวณปากและหูของเด็กและตรวจสอบว่ายังมีลมหายใจอยู่หรือไม่ หน้าอกของเด็กยังมีการเคลื่อนไหวหรือไม่
3. เริ่มด้วยการกดหน้าอก
− หากเด็กไม่ตอบสนองและไม่หายใจ วางเด็กไว้บนหลัง สำหรับทารกควรรวังไม่ยืดหัวออกจากหลังมากหนัก ถ้าคุณสงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่คอหรือศรีรษะให้เคลื่อนย้ายทารกทั้งตัวภายในครั้งเดียว
− สำหรบทารก ให้วางมือทั้งสองข้างไว้บนหน้าอกสำหรับเด็กให้วางสันมือหนึ่งข้างไว้บนตรงกลางหน้าอกบริเวณหัวนม. คุณสามารถกดด้วยมือเดียวที่วางบนมืออีกข้างหนึ่งได้
− สำหรับเด็ก ให้กดลงประมาณ 5เซนติเมตร. ควรแน่ใจว่าไม่กดลงบนซี่โครงเนื่องจากมีความเปราะบางและมีโอกาสแตกหักได้
− -สำหรับเด็กทารก ให้กดลงประมาณ 3.8เซนติเมตร ประมาณ 0.8-1.3เซนติเมตรของความลึกของหน้าอก ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่ได้กดที่ส่วนปลายของกระดูกหน้าอก− ดำเนินการด้วยการกดหน้าอก 30ครั้งในทุกๆ 100นาที และปล่อยให้หน้าอกคลายขึ้นเต็มที่ระหว่างการกด
− ตรวจดูว่าเด็กได้เริ่มกลับมาหายใจหรือไม่
− ให้ทำการปั้มหัวใจ (ซีพีอาร์) จนกว่าจะได้รับหน่วยฉุกเฉินจะมาถึง
4. ทำการช่วยหายใจ
เพื่อที่จะเปิดทางลมหายใจ, ให้ยกคางเด็กด้วยมือข้างหนึ่ง พร้อมกับเอียงศีรษะให้ต่ำด้วยการกดหน้าผากด้วยมืออีกข้างหนึ่ง ห้ามเอียงศีรษะลงถ้าเด็กมีแนวโน้มที่จะมีอาการบาดเจ็บที่คอหรือศีรษะ
สำหรับเด็ก ให้ปิดปากให้แน่น บีบจมูกให้มิดและทำการช่วยหายใจ
สำหรับเด็กเล็ก ให้ปิดปากและจมูกด้วยปากของคุณและทำการช่วยหายใจ
ให้ทำการช่วยหายใจเด็กสองครั้งและสังเกตุหน้าอกที่ขึ้นในแต่ละครั้ง จังหวะหายใจในแต่ละครั้งควรใช้เวลาหนึ่งวินาที
5. ทำการกดและช่วยหายใจอีกครั้ง ถ้าเด็กยังคงไม่หายใจ
สามารถทำการช่วยหายใจได้สองครั้งหลังจากกดหน้าอกทุกๆ 30ครั้ง ถ้ามีคนคอยช่วยเหลือคุณ คุณควรทำการกดหน้าอก 15ครั้ง จากนั้นทำการหายใจอีก 2ครั้งทำการกดหน้าอกแบบนี้ 30ครั้ง เป็นรอบๆและช่วยหายใจ 2 ครั้ง จนกว่าเด็กเริ่มหายใจหรือจนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมาถึงถ้าคุณอยู่กับเด็กเพียงลำพังและได้ทำการปั้มหัวใจ(ซีพีอาร์)ไปแล้ว 2นาที (ประมาณ 5รอบ ของการกดหน้าอกและการช่วยหายใจ) ควรโทรเรียกแผนกฉุกเฉินและมองหาเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า(เออีดี)
6. เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า(เออีดี)ที่ใช้ได้ในทันที
สำหรับเด็กอายุ 9ปีขึ้นไป ให้ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ(เออีดี)ภายนอกได้ ถ้าหากไม่สามารถหาเครื่องกระตุ้นหัวใจ(เออีดี)สำหรับเด็กได้ สำหรับเด็กอายุ 1ปีและมากกว่า สามารถใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ(เออีดี)แบบมาตรฐานได้
− ทำการเปิดเครื่องกระตุ้นหัวใจ(เออีดี)
− ทำการเช็ดหน้าอกให้แห้งและวางแผ่นลองลง
− ให้ทำตามทีละขั้นตอนในการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ(เออีดี)
− เริ่มทำการกดหน้าอกและทำตามเครื่องกระตุ้นหัวใจ(เออีดี) จนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือฉุกเฉินหรือเด็กเริ่มหายใจ
ข้อห้าม
ถ้าหากคุณสงสัยว่าเด็กอาจมีอาหารบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังให้ดึงขากรรไกรไปข้างหน้าโดยต้องไม่ขยับศีรษะหรือคอ จำไว้ให้ขึ้นใจว่าอย่าให้ปากเด็กปิดเด็ดขาด
หากเด็กมีอาการหายใจปกติหรือไอหรือมีการเคลื่อนไหวแล้วไม่ควรทำการกดหน้าอกต่อ เนื่องจากการทำเช่นนี้อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ เว้นแต่คุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หากไม่ไม่ควรทำการตรวจชีพจรเอง สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท่านั้นที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้องในการตรวจชีพจร

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว