เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เมลาโทนิน (Melatonin)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เมลาโทนิน (Melatonin)

สรรพคุณ

 

เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนตามธรรมชาติที่พบในสมองซึ่งช่วยควบคุมการนอนวงจรการตื่นและการนอนหลับเ เมลาโทนินถูกนำมาใช้เป็นยาทางเลือกตัวหนึ่งที่มีประสิทธิผลในการรักษาโรคนอนไม่หลับหรือความผิดปกติทางการนอนหลับในผู้ป่วยที่พิการทางสายตา

เมลาโทนินยังใช้ในการรักษาอาการเมาเนื่องมาจากการบิน, ภาวะความดันโลหิตสูง, เนื้องอก, เกร็ดเลือดต่ำ(เซลล์เม็ดเลือดที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว) , อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากอาการถอนยา, หรือความวิตกกังวลที่เกิดจากการผ่าตัด, เป็นหมันหรือการเล่นกีฬามากเกินไป เมลาโทนินแบบใช้ภายนอกใช้ทาที่ผิวหนังอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันผิวไหม้จากแสงแดดได้

การใช้อื่นๆที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ด้วยการวิจัยได้แก่การใช้รักษาโรคซึมเศร้าโรคไบโพล่าร์, ภาวะสมองเสื่อม, โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ, โรคสมาธิสั้น, ต่อมลูกหมากโต,  กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง, โรคปวดกล้ามเนื้อ, โรคขาอยู่ไม่สุข, แผลในกระเพาะอาหาร, โรคลำไส้แปรปรวน, อาการขาดนิโคติน, และสภาวะอื่นๆอีกมากมาย

อย่างไรก็ตามอาจมีการสั่งใช้เมลาโทนินสำหรับอาการอื่นๆ  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

 

กลไกการออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเมลาโทนินไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารลินเดน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
    • โรคเบาหวาน
    • โรคซึมเศร้า
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดเช่น โรคฮีโมฟีเรีย
    • ภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
    • โรคลมชักหรือความผิดปกติเกี่ยวกับการชักอื่นๆ
  • มีการแพ้สารอื่นๆ  เช่นแพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร  สารกันบูด หรือสัตว์ต่างๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ความปลอดภัย

การตั้งครรภ์

การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้อาจไม่ปลอดภัยในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ โปรดแจ้งแพทย์ก่อนการการใช้ว่าคุณกำลังใช้เมลาโทนินและกำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์

ยานี้อาจรบกวนการตกไข่และทำให้ผู้หญิงบางรายตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น

การให้นมบุตร 

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเมลาโทนินสามารถส่งผ่านทางน้ำนมหรือเป็นอันตรายต่อเด็กที่ได้รับน้ำนมนั้นหรือไม่จึงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ในช่วงระหว่างการให้นมบุตรโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน

ผลข้างเคียง

เมลาโทนินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆเช่น:

  • อาการง่วงระหว่างวัน
  • ซึมเศร้า
  • หงุดหงิดง่าย
  • ปวดท้อง
  • ปวดหัว
  • เวียนศรีษะ
  • ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย
  • ลดจำนวนอสุจิผู้ชาย
  • แรงขับทางเพศลดลง

อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกตน นและยังอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากท่ามีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงกรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

เมลาโทนินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้อยู่หรือพยาธิสภาพต่างๆจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้ยา

ยาที่อาจเกิดปฎิกิริยากับเมลาโทนินหมายรวมถึง:

  • ยาปฎิชีวนะ
  • ยาผสมระหว่างแอสไพรินและอะซีตามิโนเฟน(ไทลินอล)
  • ยาคุมกำเนิด
  • อินซูลินหรือยาต้านเบาหวานตัวอื่นๆ
  • ยาแก้ปวดที่เป็นสารเสพติด
  • ยารักษาโรคกระเพาะเช่น แลนโซพราโซล(Prevacid), โอมีพราโซล (Prilosec), หรือออนแดนเซทรอน (Zofran)
  • ADHD medicationsยารักษาโรคสมาธิสั้น
  • ยารักษาโรคหัวใจหรือความดันเลือด
  • ยาที่ใช้รักษาหรือป้องกันการแข็งตัวของเลือดเช่น โคลพิโดเกล(Plavix) และวาร์ฟาริน(Coumadin, Jantoven)
  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)เช่น ไอบูโพรเฟน(Advil, Motrin),  นาพร็อกเซ็ก(Aleve), และอื่นๆ
  • ยาสเตียรอยด์
  • วิตามินบี12
  • สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต
  • สมุนไพรเอ็กไคนาเชีย
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรต่างๆ

 

ขนาดยา

คำแนะนำนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดปกติสำหรับการใช้เมลาโทนิน

ขนาดปกติสำหรับรักษาอาการนอนไม่หลับอยู่ที่0.3มิลลิกรัมถึง5มิลลิกรัมโดยให้รับประทานก่อนนอน

ขนาดยากำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ การใช้เมลาโทนินนั้นอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อให้ได้รับขนาดยาที่เหมาะสม

 

 

รูปแบบของเมลาโทนิน

เมลาโทนินอาจมีจำหน่ายในรูปแบบดังต่อไปนี้:

  • เมลาโทนินชนิดแคปซูล
  • เมลาโทนินชนิดเม็ดเคลือบควบคุมการหลั่ง
  • เมลาโทนินชนิดเม็ด
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว