เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ควินิน (Quinine)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ควินิน (Quinine)

สรรพคุณ

   ควินินต้องให้ร่วมกับยาอื่นเท่านั้นในการรักษาโรคไข้มาลาเรีย(โรคร้ายแรงชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายโดยยุงในบริเวณต่างๆทั่วโลกอย่างไรก็ตามอาจมีการสั่งใช้เมลาโทนินสำหรับอาการอื่นๆ  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

 

กลไกการออกฤทธิ์

ควินินออกฤทธิ์โดยฆ่าเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคแบคทีเรียโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

ควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารควินิน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

                        

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควินินมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ความปลอดภัย

หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร

 การรักษาโรคมาลาเรียมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นโรคที่ร้ายแรงสำหรับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ควินินได้แก่:

 

  • คลื่นไส้
  • กระสับกระส่าย
  • หูอื้อหรือได้ยินเสียงในหู
  • สับสน
  • อาการทางประสาท

ผลข้างเคียงบางประการอาจมีความรุนแรง หากท่านมีอาการต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์:

  • ผื่นแดง
  • ลมพิษ
  • อาการคัน
  • ร้อนวูบวาบ
  • เสียงแหบ
  • หายใจติดขัดหรือกลืนลำบาก
  • มีอาการบวมที่ใบหน้า, ลำคอ, ริมฝีปาก, ตา,มือ, เท้า,ข้อเท้า, หรือขาช่วงล่าง
  • มีไข้
  • เกิดตุ่มน้ำ
  • ความผิดปกติของทางเดินอาหาร
  • ปวดท้อง
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ตามัวหรือการมองเห็นสีเปลี่ยนไป
  • ความสามารถในการได้ยินหรือการมองเห็นแย่ลง
  • หน้ามืดเป็นลม
  • ฟกช้ำได้ง่าย
  • มีจุดสีม่วง, น้ำตาล หรือแดงที่ผิวหนัง
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • มีสีคล้ำ
  • มีเลือดกำเดาไหล
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • เจ็บคอ
  • หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ
  • เจ็บหน้าอก
  • อาการอ่อนแรง
  • เหงื่อออก
  • วิงเวียนศรีษะ

อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนทุกคนและยังอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียง   ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ควินินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่ท่านกำลังใช้อยู่หรือพยาธิสภาพต่างๆจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

 

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับควินินได้แก่

  • อะซีตาโซลาไมด์ (Diamox)
  • Sodium bicarbonate (Neut)
  • อะมิโนฟีลลีน(Truphylline)
  • ทีโอฟีลลิน (Theo-Dur)
  • ยาสำหรับรักษาโรคมะเร็ง เช่น อาร์เซนิกไตรออกไซด์(Trisenox), แวนดิทินิบ (Caprelsa), and อิมมาตินิบ (Gleevec)
  • Bosentan (Tracleer)
  • เมทธาโดน (Dolophine)
  • ทราโครลิมัส (Prograf)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต(hypericum perforatum)
  • ยาปฏิชีวนะบางนิด เช่น อะซิโธรมัยซินZithromax), คลาลิโธรมัยซิน (Biaxin), อิริโธรมัยซิน (E-Mycin), ลีโวฟลอกซาซิน(Levaquin Leva-Pak), moxifloxacin (Avelox), เพนตามิดีน(Nebupent), เทลิโธรมัยซิน (Ketek), เตตราไซคลิน(Sumycin)
  • ยาต้านโรคซึมเศร้า เช่น อะมิทริปไทลีน(Elavil), ไซตาโลแพรม(Celexa), โคลมิพรามีน (Anafranil), เดซิพรามีน(Norpramin), เนฟาโซโดน(Serzone), เวนลาฟาซีน(Effexor)
  • ยาต้านเชื้อรา เช่น ไอทราโคนาโซล (Sporanox),คีโตโคนาโซล(Nizoral), โพรโคนาโซล (Noxafil), โวริโคนาโซล (Vfend)
  • ยาลดคอเลสเตอรอล เช่น อะทอร์วาสแตติน (Lipitor), ซิมวาสแตติน (Zocor), โลวาสแตติน (Mevacor)
  • ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน
  • ยารักษาโรคหัวใจ(อะมิโอดาโรน, ดิจ๊อกซิน, โดฟีทิไลด์, ไดโซไพราไมด์, โดรเนดาโรน, ฟลีเคไนด์, ไอบูทิไลด์, เมโทโพรลอล, โปรเคนเอไมด์, โพรพาฟีโนนควินิดีน, โซทาลอล, วีราพามิล)
  • ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซี (โบซีพรีเวียร์, ทีลาพรีเวียร์)
  • ยารักษาโรคเอดส์ (อะทาซานาเวียร์, ดีลาเวอร์ดีน, เอฟฟาไวเร็นซ์, ฟอสแอมพรีนาเวียร์, อินดินาเวียร์, เนลฟินาเวียร์, เนวิราปีน, ริโทนาเวียร์, ซาควินาเวียร์)
  • ยาแก้คลื่นไส้และยาแก้อาเจียน (โดลาซีตรอน, ดรอเพอริดอล, ออนดาเซทรอน)
  • ยาต้านโรคจิต(โคลโพรมาซีน, โคลซาปีน, ฮาโลเพอริดอล, มีโซริดาซีน, พิโมไซด์, ไทโอริดาซีน, ไซพราซิโดน)
  • ยากันชัก(คาร์บามาเซพีน, ฟอสเฟนิโทอิน, ออกคาร์บามาเซพีน, ฟีโนบาร์บิทัล, เฟนิโทอิน , ไพรมิโดน)
  • ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (ไซเมทิดีน, รานิทิดีน; หรือยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม)
  • ยารักษาวัณโรค (ไรฟาบิวติน, ไรแฟมพิน, ไรฟาเพนติน)

 

ขนาดยา

คำแนะนำนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ของท่านก่อนใช้ยานี้เสมอ

 

ขนาดยาปกติสำหรับควินิน

ขนาดยาสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนั้นอาจไม่ปลอดภัย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อให้ได้รับขนาดยาที่เหมาะสม

รูปแบบของควินิน

 

ควินินอาจมีจำหน่ายในรูปแบบดังต่อไปนี้:

  • ชนิดแคปซูล
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว