เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ซีเซียม (Cesium)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ซีเซียม (Cesium)

สรรพคุณซีเซียม:

ซีเซียมเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ในสภาพทางธรรมชาติ ซีเซียมไม่ใช่กัมมันตรังสี เมื่ออยู่ในห้องทดลองก็สามารถใช้เป็นสารกัมมันตรังสี และสามารถนำซีเซียมในสภาพวะทั้งสองมาผลิตเป็นยา แม้จะยังมีข้อกังวลด้านความปลอดภัยในการใช้ซีเซียมสำหรับรับประทานอยู่บ้าง ซีเซียมที่ไม่ใช่สภาพกัมมันตรังสีก็ถูกนำมาใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง ในชื่อว่า High pH therapy ซีเซียมที่ไม่ใช่สภาพกัมมันตรังสียังสามารถนำมารักษาภาวะซึมเศร้า บางครั้งแพทย์รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยสารกัมมันตรังสีซีเซียม (Cesium-137)

กลไกการออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของซีเซียมไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ซีเซียม:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้ซีเซียม ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากซีเซียมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ซีเซียมปลอดภัยหรือไม่:

การใช้ซีเซียมในปริมาณสูงอาจไม่ปลอดภัย แต่ก็ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอว่าการใช้ในปริมาณน้อยจะปลอดภัยเช่นกัน

ข้อควรระวังและคำเตือน:

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ไม่มากพอที่จะยืนยันว่าการใช้ซีเซียมในช่วงให้นมบุตรนั้นปลอดภัยหรือไม่ จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ:

ซีเซียมอาจทำให้อาจการแย่ลง ฉะนั้น ห้ามใช้ ซีเซียมหากมีอาการอัตราการเต้นหัวใจไม่สม่ำเสมอ

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ซีเซียม

มีรายงานเกี่ยวกับอาการความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรงและอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอในผู้ที่ใช้ ซีเซียมปริมาณมากในเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ ผู้ที่บริโภคซีเซียมอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร และอาการเหน็บชาที่ริมฝีปาก มือและเท้า

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับซีเซียม

ซีเซียมอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ร่วมอยู่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับซีเซียม:

  • คิวที อินเทอร์วอล โพรลองกิง (QT interval-prolonging)

ซีเซียมอาจทำให้เกิดอาการอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ ฉะนั้น หากใช้ซีเซียมเมื่อมีอาการอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ อาจส่งผลข้างเคียงร้ายแรง เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ยาที่อาจทำให้เกิดอาการอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ มีดังต่อไปนี้: อะมิโอดาโรน (Amiodarone) หรือคาร์ดาโรน (Cordarone), ไดโซพีราไมด์ (Disopyramide) หรือนอร์เพซ (Norpace), โดเฟติไลน์ (Dofetilide) หรือติโคซิน (Tikosyn), ไอบูติไลด์ (Ibutilide) หรือโคเวอร์ท (Corvert), โพรเคนาไมด์ (Procainamide) หรือโพรเนสติล (Pronestyl), ควินนิไดน์ (Quinidine), โซทาโลล (Sotalol) หรือเบตาเพซ (Betapace), ธีโอริดาซีน (Thioridazine) หรือเมลลาริล (Mellaril) และอื่นๆ

  • ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ (ยาที่ใช้ลดอาการบวมและอักเสบของทางเดินหายใจ)

ยาบางชนิดที่ลดการอักเสบอาจทำให้โพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซีเซียมมีประสิทธิภาพในการลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายเช่นกัน ฉะนั้น ถ้าใช้ ซีเซียมคู่กับยาลดการอักเสบอาจทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายลดลงมากเกินไป

ยาลดการอักเสบ มีดังต่อไปนี้: ดีเซเมธาโซน (Dexamethasone) หรือดีคาโดรน (Decadron), ไฮโดรคอร์ทิโซน (Hydrocortisone) หรือคอร์เทฟ (Cortef), เมธิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) หรือเมโดรล (Medrol), เพรดนิโซน (Prednisone) หรือเดลตาโซน (Deltasone) และอื่นๆ

  • ยาขับปัสสาวะ

ปริมาณซีเซียมที่มากอาจทำให้โพแทสเซียมในร่างกาย ยาขับน้ำ (ยาขับปัสสาวะ) มีประสิทธิภาพในการลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายเช่นกัน ฉะนั้น ถ้าใช้ ซีเซียมคู่กับยาลดการอักเสบอาจทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายลดลงมากเกินไป

ยาขับปัสสาวะที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับโพแทสเซียม มีดังต่อไปนี้: คลอโรธีอาไซด์ (Chlorothiazide) หรือดิอูริล (Diuril), คลอธาริโดน (Chlorthalidone) หรือธาลิโทน (Thalitone), ฟูโรเซไมด์ (Furosemide) หรือเลซิกส์ (Lasix), ไฮโดรคลอโรธีอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) หรือเอชซีทีซี (HCTZ), ไฮโดรดิอูริล (Hydrodiuril), ไมโครไซด์ (Microzide) และอื่นๆ

ขนาดยา:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ ซีเซียมอยู่ที่เท่าไร:

ปริมาณการใช้ซีเซียมอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่นๆ การใช้ซีเซียมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

ซีเซียมมีจำหน่ายในรูปแบบใด:

ซีเซียมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ซีเซียมคลอไรด์ แคปซูล 500 มิลลิกรัม
  • ของเหลวไอออนิกซีเซียม
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว