เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ภาวะโลหิตจางในวัยรุ่น
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ภาวะโลหิตจางในวัยรุ่น

“ด้วยความต้องการต่างๆ ของโรงเรียนและกิจกรรมทางสังคม ก็เข้าใจได้ง่ายว่าทำไมวัยรุ่นถึงดูมีอาการเหนื่อยล้ามาก” คุณพ่อคณแม่ส่วนใหญ่มีความคิดดังนี้ เป็นเรื่องจริงที่มีเหตุผลมากมายที่ทำให้วัยรุ่นเหนื่อยล้ามาก อย่างไรก็ตาม แพทย์กล่าวว่าเหตุผลทั่วไปที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้านั้นคือภาวะโลหิตจาง 

ภาวะโลหิตจางคืออะไร
ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะทางสุขภาพที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบินในเลือดไม่เพียงพอ ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเม็ดเลือดแดงนั้นมีหน้าที่จับออกซิเจนลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของ หากว่าระดับฮีโมโกลบินในร่างกายต่ำกว่าที่ควร อวัยวะต่างๆ จะมีออกซิเจนไม่เพียงพอในการทำงาน
ภาวะโลหิตจางมีหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม มี 2 รูปแบบที่พบได้ทั่วไปในวัยรุ่นคือมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอและโรคโลหิตจางร้ายแรง (ขาดโฟเลทและ/หรือวิตามิน B12) ภาวะโลหิตจางอื่นๆ เช่นโลหิตจางจากโรคเรื้อรัง ภาวะไขกระดูกฝ่อ โลหิตจางจากโรคกดไขกระดูก โลหิตจางจากการทำลายเม็ดเลือดแดงก่อนอายุขัยและโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

เพราะเหตุใดวัยรุ่นจึงมีความเสี่ยงเป็นภาวะโลหิตจาง
วัยรุ่นมีความเสี่ยงเป็นโลหิตจางเพราะร่างกายกำลังมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเพิ่มขึ้นของเลือดและมวลกล้ามเนื้อ
เนื่องจากวัยรุ่นสามารถยกสิ่งของได้มากกว่าเด็กและมีแนวโน้มใช้พละกำลังกายมากกว่าผู้ใหญ่ จึงต้องการสารอาหารในปริมาณที่มากกว่า

ปัจจัยอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจางในวัยรุ่น
มังสวิรัติ: เนื้อโดนเฉพาะเนื้อสีแดง มีธาตุเหล็ก วิตามิน B12 และโฟเลทที่มากและง่ายต่อการดูดซึม การไม่รับประทานเนื้อในมื้ออาหารอาจเพิ่มความเสี่ยงในการขาดธาตุเหล็กและส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
ประจำเดือน: ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์นั้นอาจสูญเสียธาตุเหล็กจากการเสียเลือดประจำเดือน
สมาชิกในครอบครัวเป็นภาวะโลหิตจาง: ภาวะโลหิตจางบางประเภทเช่นภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียวและการทำลายเม็ดเลือดแดงก่อนอายุขัยนั้นส่งต่อทางพันธุกรรมได้
โรคเรื้อรังหรือความผิดปกติต่างๆ : ความผิดปกติภายใน ปัญหาที่ไตและโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ทำให้การดูดซึมสารอาหารไม่ปกติหรือทำให้เกิดการเสียเลือดนั้นอาจนำมาซึ่งปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ
ภาวะโลหิตจาง: สัญญาณและอาการ
- อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
- อาการมึนศีรษะและวิงเวียน
- อารมณ์แปรปรวน (โดยเฉพาะอารมณ์โกรธ)
- หายใจถี่สั้น
- หายใจไม่สม่ำเสมอ
- อุณหภูมิร่างกายต่ำ
- มือและเท้าเย็น
- เจ็บหน้าอก
- ผิวซีดหรือผิวเหลือง

ภาวะโลหิตจาง: การรักษาและป้องกัน
แม้ว่าภาวะโลหิตจางในวัยรุ่นนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีวิธีการรักษาและป้องกันอย่างง่าย สิ่งที่ต้องทำคือการเพิ่มปริมาณของธาตุเหล็ก วิตามิน B12 และโฟเลทด้วยอาหารที่มีสารอาหารสูง คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนให้เด็กๆ รับประทานอาหารที่มีวิตามิน C เมื่อรับประทานธาตุเหล็กเพื่อช่วยในการดูดซึมอย่างเช่นดื่มน้ำส้มหนึ่งแก้วหลังการรับประทานเนื้อ ไม่ควรดื่มชาหรือรับประทานอาหารที่แคลเซียมสูงร่วมกับอาหารที่มีธาตุเหล็กเพราะจะลดการดูดซึมได้

*** เช็คสุขภาพ ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด****

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว