เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ธูยา (Thuja)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ธูยา (Thuja)

ทูยาใช้ทำอะไร:

ทูยาเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบและน้ำมันใบใช้เป็นยา

ทูยาใช้สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่นหลอดลมอักเสบการติดเชื้อแบคทีเรียและโรคเริม

นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการเจ็บปวด เช่น โรคข้อเข่าเสื่อมและโรคประสาท โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า 

บางคนใช้ทูยา เพื่อคลายเสมหะ (เป็นยาขับเสมหะ) เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน (เป็นยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน) และเพิ่มการไหลเวียนของปัสสาวะ (เป็นยาขับปัสสาวะ) และยังใช้เพื่อทำให้เกิดการทำแท้ง

ทูยาใช้ทาผิวหนัง เพื่อรักษาอาการปวดข้อ, โรคข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้น้ำมันทูยายังใช้รักษาโรคหูดและมะเร็ง อีกทั้งใช้ทาเป็นเป็นยาไล่แมลง

ในอาหารและเครื่องดื่ม ทูยาใช้เป็นการปรุงรส

ในด้านผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นเครื่องหอมในเครื่องสำอางและสบู่

การออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า ทูยามีสารเคมีที่ต้านเชื้อไวรัส และยังมีสารเคมีที่เรียกว่าทูโจน ก่อให้เกิดอาการทางสมอง

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ทูยา

ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • แพ้สารบางอย่างในทูยา หรือยาตัวอื่น หรือสมุนไพรอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ ก่อนใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ทูยาปลอดภัยแค่ไหน:

ทูยาอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณอาหาร แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทราบว่าปลอดภัยหรือไม่เมื่อใช้ในปริมาณยาตามปกติ

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ:

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ทูจาอาจจะไม่ปลอดภัยหากรับประทานระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

นอกจากนี้ยังการรับประทานทูยาระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นอันตราย เนื่องจากเป็นพิษ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

โรคภูมิต้านตนเอง  (Auto-immune diseases) เช่นโรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม (multiple sclerosis ,MS) โรคลูปัส (lupus erythematosus, SLE), โรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis ,RA) หรืออาการอื่น ๆ ทูยาอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีทำงานหนักขึ้นและอาจเพิ่มความรุนแรงของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หากมีประวัติเป็นโรคดังกล่าว โปรดหลีกเลี่ยงการใช้ทูยา

อาการชัก: อาจทำให้เกิดอาการชักในผู้ป่วยบางรายเมื่อใช้ในการรับประทาน ฉะนั้นหากมีประวัติอาการชัก ไม่ควรรับประทานทูยา

ผลข้างเคียง

เกิดผลข้างเคียงอะไรหากใช้ทูยา

การใช้เทยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น อาเจียน  ท้องเสียเจ็บปวด  อาการหอบหืด อาการชักและเสียชีวิต

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของทูยา ซึ่งมีสารเคมีที่เรียกว่าทูโจน อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ อาการหอบหืด อาการชักและเสียชีวิต

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงที่นอกเหนือจากที่ไม่ได้ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ปฏิกิริยาต่อยา:

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับทูยา

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ร่วมอยู่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับทูยา ได้แก่ :

  • ยาที่กระตุ้นให้เกิดอาการชัก (Seizure threshold lowering drugs)

ยาบางชนิดเพิ่มโอกาสที่จะเกิดอาการชัก ซึ่งการรับประทานทูยาก็อาจทำให้เกิดอาการชักในผู้ป่วยบางรายเช่นกัน ฉะนั้นการใช้ยาที่เพิ่มโอกาสในการเกิดอาการชักควบคู่กับทูยา อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะการเกิดอาการชัก จึงไม่ควรรับระทานยาดังกล่าวควบคู่กัน

ยาบางชนิดที่เพิ่มโอกาสที่จะมีเกิดอาการชัก ได้แก่ ยาระงับความรู้สึก (โปรโพฟอล propofol และยาชนิดอื่น ๆ ), าหัวใจเต้นผิดจังหวะ antiarrhythmic (เมกซิทิล mexiletine), ยาปฏิชีวนะ (แอมโฟเทอริซินamphotericin, เพนิซิลลิน penicillin, เซฟาโลสปอริน cephalosporins, ไอมิเพเนม imipenem), ยารักษาอาการซึมเศร้า(บูโพรพิออน bupropion, อื่นชนิดอื่น ๆ ), ยาต้านฮิสตามีน antihistamines (ไซโปรเฮปตาดีนcyproheptadine, ยาชนิดอื่น ๆ ), ยากดภูมิต้านทาน immunosuppressants (ไซโคลสปอรินcyclosporine), ยาบรรเทาอาการปวด (เฟนทานิล fentanyl, และยาชนิดอื่น ๆ ), สารกระตุ้น stimulants (มทิลเฟนิเดต methylphenidate), ทีโอฟิลลีน theophylline และยาชนิดอื่น ๆ

  • ยาป้องกันอาการชัก Anticonvulsants

ยาบางชนิดที่ใช้ป้องกันอาการชักส่งผลต่อสารเคมีในสมอง และการใช้ทูยาอาจส่งผลต่อสารเคมีในสมองด้วยเช่นกัน โดยผลกระทบต่อสารเคมีสมองนี้เอง ทูจาอาจลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการป้องกันอาการชัก

ยาบางชนิดที่ใช้ในการป้องกันอาการชัก ได้แก่ ฟีโนบาร์บิทัล phenobarbital, ไพรมิโดน primidone                (มายโซลิน Mysoline), กรดวาลโปรอิก valproic acid (เดพาคีน Depakene), กาบาเพนติน gabapentin (นิวรอนติน Neurontin), คาร์บามาซีปีน carbamazepine (เทเกรทอล Tegretol), เฟนิโทอิน phenytoin (ไดแลนติน Dilantin) และยาชนิดอื่น ๆ

ขนาดยา:

***ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ***

ขนาดปกติของการใช้ทูยาอยู่ที่เท่าไร:

ปริมาณการใช้ทูยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

ทูยามีจำหน่ายในรูปแบบใด:

ทูยาอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดทูยาชนิดน้ำ
  • ทิงเจอร์ทูยา
  • ทูยาชนิดเม็ด
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว