เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ไฟว์ เอชทีพี (5-HTP)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ไฟว์ เอชทีพี (5-HTP)

การใช้

ไฟว์ เอชทีพีใช้ทำอะไร

        ฟว์ เอชทีพี (ไฟว์ ไฮดร็อกซีทริปโตเฟน ) เป็นผลพลอยได้ทางเคมีจากตัวสกัดกั้นโปรตีนอย่างแอล ทริปโตเฟน และยังถูกผลิตทางการค้าจากเมล็ดพืชแอฟริกันชื่อกริฟโฟเนีย ซิมพลิซิโฟเลีย (Griffonia simplicifolia)

       ไฟว์ เอชทีพีถูกนำมาใช้รักษาอาการนอนหลับผิดปกติ อาทิเช่น โรคนอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล ไมเกรน ปวดศีรษะจากความเครียด โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วตัว โรคอ้วน อาการก่อนมีประจำเดือน (พีเอ็มเอส) กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง (พีเอ็มดีดี) โรคสมาธิสั้น (เอดีเอชดี) โรคลมชักและโรคพาร์กินสัน

การออกฤทธิ์

        เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของอาหารเสริมชนิดนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่าไฟว์ เอชทีพีทำงานในสมองและระบบประสาทส่วนกลางด้วยการผลิตสารซีโรโทนินเพิ่ม ซีโรโทนินส่งผลต่อการนอนหลับ ความอยากอาหาร อุณหภูมิ พฤติกรรมทางเพศและความรู้สึกเจ็บปวด เนื่องจากไฟว์ เอชทีพีช่วยเพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ซีโรโทนิน ทำให้มีการนำมาใช้รักษาโรคที่เชื่อว่าสารซีโรโทนินมีบทบาทสำคัญรวมถึง โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ โรคอ้วนและโรคอื่นๆ อีกมากมาย

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ไฟว์ เอชทีพี

        ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:
• ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจาก ในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
• อยู่ระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
• แพ้ไฟว์ เอชทีพีในทุกรูปแบบ ยาหรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ
• มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ 
• หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์
        ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมชนิดนี้มีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการใช้อาหารเสริมชนิดนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

ไฟว์ เอชทีพีปลอดภัยแค่ไหน

        ไฟว์ เอชทีพีปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสามารถรับประทานได้ถึง 400 มิลลิกรัมต่อวันตลอดระยะเวลา 1 ปี แต่จะเป็นอันตรายหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก การรับประทานยา 6 ถึง 10 กรัมต่อวันอาจก่อให้เกิดอาการปวดท้องแบบรุนแรงหรือกล้ามเนื้อหดตัว

 

ข้อควรระวังและคำเตือนในกรณีพิเศษ

เด็ก: ไฟว์ เอชทีพีปลอดภัยต่อเด็กเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ยาในปริมาณ 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัมต่อวันต่อเนื่องนาน 3 ปีปลอดภัยสำหรับเด็กทารกไปจนถึงเด็กอายุ 12 ปี แต่ในเด็กก็อาจเกิดกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ (อีเอ็มเอส) ได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ อาการร้ายแรงที่เกี่ยวเนื่องถึงอาการกล้ามเนื้อกดเจ็บ (อาการปวดกล้ามเนื้อ) และโรคเลือด (ภาวะเลือดเกิน)

การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร: ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ไฟว์ เอชทีพีขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ โปรดระวังและหลีกเลี่ยงการใช้

การผ่าตัด: ไฟว์ เอชทีพีอาจส่งผลกระทบต่อสารเคมีในสมองอย่างซีโรโทนิน การให้ยาบางชนิดระหว่างการผ่าตัดอาจส่งผลต่อซีโรโทนิน การทานยาไฟว์ เอชทีพีก่อนการผ่าตัดอาจทำให้ซีโรโทนินมีจำนวนมากเกินไปและก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงรวมถึงปัญหาหัวใจ อาการตัวสั่นและวิตกกังวล บอกให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานไฟว์ เอชทีพีอย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากการใช้ไฟว์ เอชทีพี

บางคนที่รับประทานอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ (อีเอ็มเอส) อาการร้ายแรงที่เกี่ยวเนื่องถึงอาการกล้ามเนื้อกดเจ็บ (อาการปวดกล้ามเนื้อ) และโรคเลือด (ภาวะเลือดเกิน)

        ผู้คนคิดว่าอาการอีเอ็มเอสอาจเกิดจากส่วนผสมแปลกปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ไฟว์ เอชทีพี อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่มากพอที่จะรู้ว่าอีเอ็มเอสนั้นเกิดจากไฟว์ เอชทีพี สารปนเปื้อนหรือปัจจัยอื่น ไฟว์ เอชทีพีควรใช้อย่างระมัดระวังก่อนจะมีข้อพิสูจน์มากกว่านี้

        ผลข้างเคียงอื่นของไฟว์ เอชทีพีรวมถึง อาการแสบร้อนกลางอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เซื่องซึม ปัญหาทางเพศสัมพันธ์และปวดกล้ามเนื้อ

        ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีก หากท่านกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา
จะเกิดปฏิกิริยาอะไรเมื่อใช้ไฟว์ เอชทีพีกับสารอื่น ๆ 

        ไฟว์ เอชทีพีอาจมีปฏิกิริยากับการรักษาปัจจุบันหรือพยาธิสภาพที่มี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจเกิดปฏิกิริยากับไฟว์ เอชทีดีรวมถึง:

  • ยารักษาโรคซึมเศร้า (ยาต้านเศร้า)

ไฟว์ เอชทีพีที่ช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าซีโรโทนิน ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดก็ช่วยเพิ่มซีโรโทนินเช่นกัน การรับประทานไฟว์ เอชทีพีพร้อมกับยารักษาโรคซึมเศร้าตัวอื่นอาจทำให้ซีโรโทนินมีปริมาณมากเกินไปและทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ อาการตัวสั่นและอาการวิตกกังวล อย่ารับประทานไฟว์ เอชทีพีหากท่านกำลังทานยารักษาโรคซึมเศร้าอยู่ ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดรวมถึง ฟลูออกซิทีน (โพรแซค) พาร็อกซีทีน (พาซิล) เซอร์ทราลีน (โซลอฟ) อะมิทริปไทลีน (เอลาวิล) โคลมิพรามีน (อะนาฟรานิล) อิมิพรามีน (โทฟรานิล) และอื่นๆ

  • ยารักษาโรคซึมเศร้า (เอ็มเอโอไอ)

ไฟว์ เอชทีพีช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าซีโรโทนิน ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดก็ช่วยเพิ่มซีโรโทนินเช่นกัน การรับประทานไฟว์ เอชทีพีพร้อมกับยารักษาโรคซึมเศร้าตัวอื่นอาจทำให้ซีโรโทนินมีปริมาณมากเกินไปและทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ อาการตัวสั่นและอาการวิตกกังวล

        ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดรวมถึง ฟีเนลซีน (นาร์ดิล) ทรานิลไซโปรมีน (พาร์เนท) และอื่นๆ

  • คาร์บิโดปา (โลโดซิน)

ไฟว์ เอชทีพีอาจส่งผลต่อสมอง คาร์บิโดปา (โลโดซิน) อาจส่งผลต่อสมองเช่นกัน การรับประทานยาไฟว์ เอชทีพีพร้อมกับคาร์บิโดปาอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงมากขึ้นรวมถึง อาการพูดเร็ว อาการวิตกกังวล อาการก้าวร้าวและอื่นๆ

  • เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (โรบิทัสซิน ดีเอ็มและอื่นๆ)

        ไฟว์ เอชทีพีช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าซีโรโทนิน เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (โรบิทัสซิน ดีเอ็มและอื่นๆ) อาจส่งผลต่อสมองเช่นกัน การรับประทานยาไฟว์ เอชทีพีพร้อมกับเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (โรบิทัสซิน ดีเอ็มและอื่นๆ) อาจทำให้ซีโรโทนินมีปริมาณมากเกินไปและทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ อาการตัวสั่นและอาการวิตกกังวล อย่ารับประทานไฟว์ เอชทีพีหากท่านกำลังทานยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (โรบิทัสซิน ดีเอ็มและอื่นๆ) อยู่

  • เมเพอริดีน (เดเมอรอล)

        ผู้คนคิดว่าอาการอีเอ็มเอสอาจเกิดจากส่วนผสมแปลกปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ไฟว์ เอชทีพี อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่มากพอที่จะรู้ว่าอีเอ็มเอสนั้นเกิดจากไฟว์ เอชทีพี สารปนเปื้อนหรือปัจจัยอื่น ไฟว์ เอชทีพีควรใช้อย่างระมัดระวังก่อนจะมีข้อพิสูจน์มากกว่านี้

        ไฟว์ เอชทีพีช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าซีโรโทนิน เมเพอริดีน (เดเมอรอล) อาจส่งผลต่อสมองเช่นกัน การรับประทานยาไฟว์ เอชทีพีพร้อมกับเมเพอริดีน (เดเมอรอล) อาจทำให้ซีโรโทนินในสมองมีปริมาณมากเกินไปและทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ อาการตัวสั่นและอาการวิตกกังวล

 

  • เพนตาโซซีน (ทัลวิน)

        ไฟว์ เอชทีพีช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าซีโรโทนิน เพนตาโซซีน (ทัลวิน) การรับประทานยาไฟว์ เอชทีพีพร้อมกับเพนตาโซซีน (ทัลวิน) อาจทำให้ซีโรโทนินมีปริมาณมากเกินไปและทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ อาการตัวสั่นและอาการวิตกกังวล อย่ารับประทานไฟว์ เอชทีพีหากท่านกำลังทานยาเพนตาโซซีน (ทัลวิน) อยู่

  • ทรามาดอล (อัลตรัม)

ทรามาดอล (อัลตรัม) ช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าซีโรโทนิน ไฟว์และเอชทีพีก็ส่งผลต่อซีโรโทนินเช่นกัน การรับประทานยาไฟว์ เอชทีพีพร้อมกับทรามาดอล (อัลตรัม) อาจทำให้ซีโรโทนินในสมองมีปริมาณมากเกินไปและทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการสับสน อาการตัวสั่น กล้ามเนื้อหดตัวและอื่นๆ

ขนาดยา

        ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ไฟว์ เอชทีพีอยู่ที่เท่าไร:

ยาดังต่อไปนี้ได้รับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว:

ผู้ใหญ่

โดยการรับประทาน:

สำหรับโรคซึมเศร้า: ผลการวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ว่ามีการใช้ยา 150 ถึง 3,000 มิลลิกรัมต่อวันไปจนถึงยาแบ่งใช้ 3 ครั้งสำหรับ 2 ถึง 6 สัปดาห์ ยาจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณไปตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อวันนาน 2 สัปดาห์ไปจนถึง 400 มิลลิกรัมสำหรับ 4 สัปดาห์

ปริมาณการใช้ไฟว์ เอชทีพีอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมนี้อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

ไฟว์ เอชทีพีมีจำหน่ายในรูปแบบใด:
ไฟว์ เอชทีพีอาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

อาหารเสริม (แคปซูล)

 

5 - HTP  http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-794-5-htp.aspx?activeingredientid=794 Accessed July 14, 2017

5-Hydroxytryptophan (5-HTP) http://www.umm.edu/health/medical/altmed/supplement/5hydroxytryptophan-5htp Accessed July 14, 2017

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว