เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / อะดีโนซีน (Adenosine)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
อะดีโนซีน (Adenosine)

อะดีโนซีน (Adenosine) คืออะไรและใช้ทำอะไร

อะดีโนซีน คือ สารเคมีที่อยู่ในเซลล์ของมนุษย์ทุกเซลล์ ผสานเข้ากับฟอสเฟตอย่างฉับพลันเพื่อสร้างสารประกอบเคมีรวมถึง อะดีโนซีนโมโนฟอสเฟต (เอเอ็มพี) และอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (เอทีพี) อะดีโนซีนมาใช้เป็นยา

เอเอ็มพีเป็นยารับประทานที่ใช้รักษาโรคงูสวัดและโรคพอร์ไฟเรีย (Porphyria) ส่วนเอทีพีใช้วางใต้ลิ้นเพื่อเพิ่มพละกำลัง และยังนำมาใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อรักษาไตวายเฉียบพลัน ภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ ความดันหลอดเลือดปอดสูง โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) โรคมะเร็งปอด น้ำหนักลดเนื่องจากโรคมะเร็งและควบคุมระดับความดันโลหิตในช่วงที่ให้ยาสลบและผ่าตัด นอกจากนี้ ยังนำมาใช้ตรวจสมรรถภาพหัวใจอีกด้วย       

บุคลากรทางการแพทย์ฉีดอะดีโนซีนเข้าหลอดเลือดดำเพื่อรักษาอาการเจ็บจากแผลผ่าตัดและอาการปวดเส้นประสาท ความดันหลอดเลือดปอดสูงและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดต่างๆ อีกทั้งยังใช้ฉีดเพื่อคุมระดับความดันโลหิตในช่วงที่ให้ยาสลบ ผ่าตัดและการตรวจหัวใจที่เรียกว่าการตรวจสมรรถภาพหัวใจ

อะดีโนซีนจะถูกฉีดเข้าบริเวณไขสันหลังเพื่อรักษาอาการปวดเส้นประสาท

อะดีโนซีน ฟอสเฟตถูกฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อ (การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ) เพื่อรักษาเส้นเลือดขอด การอักเสบของถุงน้ำลดการเสียดสี เส้นเอ็นบวมและบาดเจ็บ (โรคเอ็นอักเสบ) อาการคัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (เอ็มเอส) โรคเส้นประสาท โรคงูสวัด โรคเริม โรคเริมที่อวัยวะเพศและการไหลเวียนเลือดไม่ดี

การออกฤทธิ์

เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของอะดีโนซีนมากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตาม อะดีโนซีนสามารถป้องกันระบบไหลเวียนเลือดหัวใจผิดปกติซึ่งก่อให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (เอทีพี) อาจช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงเมตาโบลิซึ่มของพลังงานที่ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามน้ำหนักลด

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้อะดีโนซีน

  • ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:
  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจาก ในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • แพ้อะดีโนซีนในทุกรูปแบบ ยาหรือสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ 
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมชนิดนี้มีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการใช้อะดีโนซีนต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

อะดีโนซีนปลอดภัยแค่ไหน

อะดีโนซีนปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อมีบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ฉีดยาให้

ข้อควรระวังและคำเตือนในกรณีพิเศษ

การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร: ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้อะดีโนซีนขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ โปรดระวังและหลีกเลี่ยงการใช้

โรคเกาต์: เอทีพีเพิ่มระดับของกรดยูริกในกระแสเลือดกับปัสสาวะและอาจไปกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์ตามมา โรคเกาต์ทำให้ข้อต่อแดง ร้อน อ่อนแรงและบวมได้ ข้อต่อที่เกิดอาการมากที่สุดคือที่ฐานของนิ้วหัวแม่เท้า

โรคหัวใจ: เอทีพีอาจเป็นสาเหตุของการไหลเวียนเลือดหัวใจที่ลดลงและอาการเจ็บหน้าอก อาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจแย่ลง อาทิเช่น เจ็บหน้าอกและหัวใจวาย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากการใช้อะดีโนซีน

อะดีโนซีนอาจก่อให้เกิดปัญหาการหายใจและเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อให้ยาในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการ ปวดศีรษะ ใจเต้นเร็ว ระดับความดันโลหิตต่ำ คลื่นไส้ เหงื่อออก หน้าแดง เวียนหัว ปัญหาการนอนหลับ ไอและวิตกกังวล

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีก หากท่านกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา
จะเกิดปฏิกิริยาอะไรเมื่อใช้อะดีโนซีนกับสารอื่น ๆ 

อะดีโนซีนอาจมีปฏิกิริยากับการรักษาปัจจุบันหรือพยาธิสภาพที่มี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจเกิดปฏิกิริยากับอะดีโนซีนรวมถึง:

        ร่างกายจะหยุดการทำงานของอะดีโนซีนเพื่อกำจัดมัน ไดไพริดาโมล (เพอร์แซนทิน) อาจลดประสิทธิภาพของอะดีโนซีน การลดประสิทธิภาพของอะดีโนซีนอาจก่อให้เกิดปัญหาหัวใจ อย่ารับประทานอะดีโนซีนหากทานไดโพริดาโมล (เพอร์แซนทิน)

        อะดีโนซีนอาจลดอัตราการเต้นของหัวใจ การรับประทานคาร์บาเซพีน (เทเกรทอล) พร้อมกับอะดีโนซีนอาจทำให้ใจเต้นช้ามากเกินไป อย่ารับประทานอะดีโนซีนหากทานคาร์บาเซพีน (เทเกรทอล)

        โรคเกาต์เกิดจากการเพิ่มขึ้นของผลึกกรดยูริกในข้อต่อ อะดีโนซีนอาจทำให้กรดยูริกในร่างกายมีปริมาณสูงขึ้นและอาจลดประสิทธิภาพของยารักษาโรคเกาต์ ยารักษาโรคเกาต์รวมถึง อัลโลพูรินอล (ไซโลพริม) โคลชิซิน โพรเบเนซิด (เบเนมิด) และอื่นๆ อีกมากมาย

        เมทิลแซนทีนส์อาจไปขัดขวางประสิทธิภาพของอะดีโนซีน แพทย์มักใช้อะดีโนซีนในการทดสอบหัวใจ การทดสอบนี้เรียกว่าการตรวจสมรรถภาพหัวใจ หยุดดื่มชาดำหรือเครื่องดื่มคาเฟอีนอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจสมรรถภาพหัวใจ เมทิลแซนทีนส์รวมถึงอะมิโนฟิลลีน คาเฟอีนและทีโอฟิลลีน

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้อะดีโนซีนอยู่ที่เท่าไร:

ยาดังต่อไปนี้ได้รับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว:

การฉีดเข้าเส้นเลือดดำ:

บุคลากรทางการแพทย์จะฉีดอะดีโนซีนเมื่อเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดต่างๆ และน้ำหนักลดในผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม

การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ:

บุคลากรทางการแพทย์จะฉีดอะดีโนซีนเข้ากล้ามเนื้อเพื่อรักษาบาดแผลในขาเนื่องจากการไหลเวียนเลือดไม่ดี

ปริมาณการใช้อะดีโนซีนอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมนี้อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

อะดีโนซีนมีจำหน่ายในรูปแบบใด:

อะดีโนซีนอาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูลอะดีโนซีนโมโนฟอสเฟตขนาดหลายมิลลิกรัม
  • การฉีดยาอะดีโนซีนโมโนฟอสเฟต
  • สเปรย์อะดีโนซีนโมโนฟอสเฟต

 

WebMD. (2020). Adenosine. Accessed August 21, 2017

Drugs. (2020). Adenosine. Accessed August 21, 2017

WikiPedia. (2020). Adenosine. Accessed August 14, 2020. 

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว