เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ก้าวแรกสู่การรับประทานอาหารด้วยตัวเองของลูกน้อย
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ก้าวแรกสู่การรับประทานอาหารด้วยตัวเองของลูกน้อย

บางครั้งคุณอาจเคยสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ลูกน้อยของคุณรับประทานอาหารด้วยตัวเองได้เสียที คุณไม่ใช่คนเดียวหรอกที่เบื่อกับการป้อนอาหารลูกน้อย ลูกของคุณก็รู้สึกไม่ต่างกัน การรับประทานอาหารด้วยตัวเองเป็นเรื่องใหญ่สำหรับพ่อที่เหนื่อยล้า บทความนี้จะนำเสนอเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะทำให้ลูกน้อยเปลี่ยนผ่านจากการใช้ช้อนป้อนมาใช้มือรับประทานแทน

เมื่อไหร่คือเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตัวเอง

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กมีอายุ 7-8 เดือนถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะเริ่มหัดให้ลูกรับประทานอาหารเอง ในช่วงเวลานี้ ลูกน้อยของคุณสามารถนั่งตัวตรงได้ด้วยตัวเองและเริ่มฝึกการการควบคุมการเคลื่อนไหวและใช้นิ้วมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้แล้ว การหยิบจับของเด็กเล็กจะเริ่มจากการใช้หัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่นๆ มีสัญญาณต่างๆที่สามารถบ่งบอกได้ว่าลูกน้อยของคุณพร้อมแล้วสำหรับอาหารแข็งได้เช่น

  • สามารถนั่งได้ด้วยตนเอง
  • หยิบจับสิ่งของเข้าปากได้
  • เริ่มการเคี้ยว
  • ถือขวดนมได้เองระหว่างป้อนนม

จะส่งเสริมลูกน้อยให้รับประทานอาหารได้ด้วยตัวเองได้อย่างไร

ขั้นตอนแรกคุณควรให้โอกาสลูกน้อยในการลองทำด้วยตัวเองก่อน ลองให้อาหารแห้ง ชิ้นใหญ่ (แต่ไม่ใหญ่จนเกินไปที่อาจทำให้สำลัก)กับลูกดู หรืออาจกระจายชิ้นอาหาร 4-5 ชิ้นลงบนจานอาหารของลูกแล้วค่อยๆเพิ่มอย่างช้าๆขณะที่ลูกทานอาหาร เนื่องจากการเริ่มต้นด้วยอาหารที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวางไว้ในจุดๆเดียว อาจทำให้ลูกนำอาหารทุกชิ้นเข้าปากในคราวเดียวหรือทำตกกระจัดกระจายบนพื้นได้

มากไปกว่านั้นแล้ว คุณสามารถเสริมสร้างความมั่นใจของลูกด้วยการชื่นชมเมื่อลูกใช้ช้อนได้ หากลูกของคุณยังไม่สามารถใช้ช้อนได้ อย่าเพิ่งบังคับ ลองให้เวลาอีกสัก 2-3 สัปดาห์เพื่อให้ลกของคุณพร้อมขึ้นกว่านี้ก่อน

อาหารใช้มือหยิบอันไหนที่ควรให้ลูกลอง

อาหารที่ง่ายต่อการเสิร์ฟในรูปแบบข้น หนืด บนช้อนล้วนแล้วแต่เป็นตัวเลือกที่ดี หรืออาหารแข็งเช่นชีส กล้วย มะม่วง ขนาดเท่ามะเมล็ดถั่ว หรือ อาหารที่นุ่มกว่าเช่นชนมปัง หรือพาสต้าขนาดเท่าหินอ่อน

อาหารใช้มือหยิบอันไหนที่ควรหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหารด้วยตัวเองนั้นมากับความเสี่ยง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสำลัก อาหารบางชนิดอาจแข็งเกินกว่าลูกน้อยจะเคี้ยวได้ตัวอย่างเช่น ถั่วทั้งเมล็ด ผัดสด หรือเนื้อเป็นชิ้น อาหารเหล่านี้ไม่สามารถละลายได้ในปากเฉกเช่นอาหารทั่วไปและอาจติดตามเหงือกหรืออาจหลุดรอดเข้าในหลอดลม พ่อ-แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้เพื่อป้องกันการสำลัก

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว