เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / อบเชย (Cassia)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
อบเชย (Cassia)

การใช้

อบเชย ใช้ทำอะไร

Cassia เป็นอบเชยชนิดหนึ่งที่เตรียมจากเปลือกด้านในที่แห้งแล้วของต้นไม้ที่เขียวชอุ่มตลอดทั้งปีซึ่งปลูกในพื้นที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รับประทานอบเชยCassia เพื่อ:

โรคเบาหวาน

ยากันยุง

ขาดความอยากอาหาร

กล้ามเนื้อและกระเพาะอาหารหดเกร็ง (ชักกระตุก)

ก๊าซในลำไส้

คลื่นไส้อาเจียน

โรคอุจจาระร่วง

ไข้หวัด

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED)

ปัสสาวะรดที่นอน

ปวดข้อ

อาการหมดประจำเดือน

ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน

เจ็บหน้าอก

ความดันโลหิตสูง

ปัญหาเกี่ยวกับไต

มะเร็ง

ในอาหารและเครื่องดื่ม อบเชยcassia ใช้เป็นเครื่องปรุง

 

การออกฤทธิ์?

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของอบเชยcassiaไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันว่าอบเชยcassia มีสาร hydroxychalcone และสารเคมีอื่นๆที่ออกฤทธิ์คล้ายกัน สารเคมีเหล่านี้ดูเหมือนจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน นอกจากนี้อบเชยcassia ยังมีสารเคมีที่อาจทำให้โปรตีนในเลือดเพิ่มการดูดซึมน้ำตาลในเลือดได้ ดังนั้นผลกระทบเหล่านี้อาจเพิ่มการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ อีกทั้งอบเชยcassiaยังมีสาร cinnamaldehyde สารเคมีนี้มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่าจะหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกได้อีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้อบเชยcassia

ควรปรึกษาแพทย์ นักสมุนไพร หรือเภสัชกร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารบางอย่างในอบเชยcassia หรือแพ้ยาชนิดอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร สารย้อมสี สารกันบูด หรือสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยาทั่วไป จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ก่อนการใช้งาน ควรคำนึงถึงประโยชน์ของอาหารเสริมว่าควรมีมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

อบเชยcassia ปลอดภัยแค่ไหน?

อบเชยcassia ดูเหมือนว่าจะปลอดภัยเมื่อทานในปริมาณที่พบได้บ่อยในอาหารและเมื่อรับประทานในปริมาณที่เป็นยาได้นานถึง 4 เดือน

อบเชยcassia น่าจะนำมาใช้กับผิวหนังได้โดยตรงอย่างปลอดภัยหากใช้ในระยะเวลาสั้นๆ

อบเชยcassia อาจไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานเป็นจำนวนมากเป็นระยะเวลานาน

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ช่วงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ไม่มีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับการใช้อบเชยcassia ในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา

เด็ก: อบเชยcassia สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยหากทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยสามารถทานอบเชยcassia ปริมาณหนึ่งกรัมในทุกๆวัน วัยรุ่นอายุ 13-18 ปีสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย นานติดกันถึง 3 เดือน

โรคเบาหวาน: อบเชยcassia สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้ ควรเฝ้าระวังการมีน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) และตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างรอบคอบ หากคุณเป็นโรคเบาหวานและใช้อบเชยcassia ในปริมาณที่มากกว่าปริมาณปกติที่พบในอาหาร

โรคตับ: อบเชยมีสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับ หากคุณเป็นโรคตับไม่ควรใช้อบเชยcassiaในปริมาณที่มากกว่าปริมาณปกติที่พบในอาหาร

การผ่าตัด: อบเชยcassia อาจไปลดระดับน้ำตาลในเลือดและอาจรบกวนการควบคุมน้ำตาลในเลือดในระหว่างและหลังการผ่าตัด ควรหยุดใช้อบเชยcassia เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดตามกำหนดการ

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากการใช้อบเชยcassia

อบเชยcassia มีสารเคมีที่เรียกว่าคูมาริน(coumarin)จำนวนมาก ในผู้ที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นสามารถทำให้เกิดโรคตับหรือทำให้อาการแย่ลงได้ เมื่อทาอบเชยcassiaลงบนผิว อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่ทา และมีอาการแพ้ได้

ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับผลข้างเคียงดังกล่าว และอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์

 

ปฏิกิริยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้อบเชยcassia

อบเชยcassia อาจมีปฏิกิริยากับยาหรือเงื่อนไขทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลต่อการใช้ร่วมกับอบเชยcassia ได้แก่ :

ยารักษาโรคเบาหวาน

อบเชยcassia อาจไปช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งยารักษาโรคเบาหวานเองก็มีผลในการลดน้ำตาลในเลือดเช่นกัน ดังนั้นการใช้อบเชยcassia และยารักษาโรคเบาหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับต่ำเกินไป ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด และอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณยาที่ใช้ตามความเหมาะสม

ยาบางชนิดที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase), และอื่น ๆ .

ยาที่เป็นพิษต่อตับ

การรับประทานอบเชยcassiaเป็นปริมาณมาก อาจเป็นอันตรายต่อตับได้ โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคตับอยู่แล้ว การรับประทานอบเชยcassiaจำนวนมากควบคู่กับยาที่อาจเป็นอันตรายต่อตับ อาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อความเสียหายของตับได้ อย่าใช้อบเชยcassiaในปริมาณมาก หากคุณทานยาที่เป็นอันตรายต่อตับอยู่

ยาบางชนิดที่สามารถทำร้ายตับ ได้แก่ acetaminophen (Tylenol และอื่น ๆ ), amiodarone (cordarone), carbamazepine (Tegretol), isoniazid (INH), methotrexate (Rheumatrex), methyldopa (Aldomet), fluconazole (Diflucan), itraconazole (sporanox) erythromycin (Erythrocin, Ilosone, อื่น ๆ ), phenytoin (Dilantin), lovastatin (Mevacor), pravastatin (Pravachol), simvastatin (Zocor) และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

ปริมาณที่ควรรับประทาน

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

 

ปริมาณปกติสำหรับการใช้อบเชยcassia คือเท่าไร?

ปริมาณการใช้อบเชยcassia อาจมีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ อนึ่งอาหารเสริมประเภทสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษานักสมุนไพรหรือแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสม

อบเชยcassia สามารถพบได้ในรูปแบบใดบ้าง?

อบเชยcassia อาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

อบเชยดิบ

ผงอบเชยดิบ

ผงอบเชยชนิดแคปซูล

 

Cassia Cinnamon http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1002-cassia%20cinnamon.aspx?activeingredientid=1002 Accessed July 31, 2017

Ceylon or Cassia: Cinnamon Benefits Depend on Variety? http://www.thehealthyhomeeconomist.com/ceylon-or-cassia-cinnamon-benefits-not-a-matter-of-variety/ Accessed July 31, 2017

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว