เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เมล็ดละหุ่ง (Castor Bean)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เมล็ดละหุ่ง (Castor Bean)

การนำไปใช้

เมล็ดละหุ่งนั้นนำไปใช้เพื่ออะไรได้บ้าง?

เมล็ดละหุ่ง ถูกนำมาใช้เพื่อการคุมกำเนิด รักษาอาการท้องผูก โรคเรื้อน และซิฟิลิส

พอกครีมเมล็ดละหุ่งลงบนผิวเพื่อรักษาอาการต่อไปนี้

  • ผิวหนังอักเสบ อาการพอง ฝีฝักบัว
  • ฝี
  • อาการอักเสบของหูชั้นกลาง และปวดหัวไมเกรน

น้ำมันละหุ่งนั้นถูกเอามาใช้เพื่อรักษาอาการต่อไปนี้

  • รักษาการท้องผูก
  • การเริ่มกระบวนการในการคลอดบุตร และเริ่มการไหลของนมมารดา
  • ทำให้ผิวนุ่มขึ้น รักษาตาปลาและอาการหนังแข็ง ละลายซิสท์ ติ่งเนื้อ และหูด
  • ทาลงบนผิวเพื่อรักษาอาการโรคข้อเสื่อม
  • ใส่น้ำมันในช่องคลอดเพื่อการคุมกำเนิด หรือ เพื่อเป็นการทำแท้ง
  • บรรเทาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ จากฝุ่นหรือสสารอื่นๆ

เมล็ดละหุ่งอาจได้รับการแนะนำให้ใช้ในเหตุอื่นๆ สอบถามแพทย์ เภสัชกร หรือนักสมุนไพรของท่าน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

มันทำงานอย่างไร?

การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของสมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้ยังไม่เพียงพอนัก โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

 

ข้อควรระวัง และคำเตือน

อะไรที่คุณควรรู้ก่อนที่จะใช้เมล็ดละหุ่ง?

ปรึกษาแพทย์ หรือนักสมุนไพรของท่าน ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร เพราะระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรนั้น ควรรับประทานยาที่ได้รับการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ ซึ่งรวมถึงยาชนิดใดก็ตามที่คุณใช้อยู่ ที่หาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์
  • หากคุณมีอาการแพ้เมล็ดละหุ่ง หรือตัวยาอื่น หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณมีอาการแพ้ประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ต่างๆ

กฎหมายควบคุมสมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ากฎหมายควบคุมยา จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินความปลอดภัยก่อนการนำไปใช้ ซึ่งจะต้องแน่ใจว่าประโยชน์ของสมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้นั้นมีมากกว่าอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

การใช้เมล็ดละหุ่งนั้นปลอดภัยแค่ไหน?

สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และกำลังให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ไม่เพียงพอ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เมล็ดละหุ่งในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร

โปรดปรึกษาแพทย์ของท่านเพื่อประเมินประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงก่อนรับยาเสมอ

เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี:

ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้น้ำมันละหุ่งกับเด็ก หลีกเลี่ยงการใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูกในเด็ก

 

ผลข้างเคียง

มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้างที่อาจได้รับจากน้ำมันละหุ่ง?

การรับประทานน้ำมันเมล็ดละหุ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • อาการปวดบีบหน้าท้อง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เลือดเป็นด่าง
  • อาการครึ่งหลับครึ่งตื่น
  • โรคคลั่งผอม
  • อาการเรอ
  • ระคายเคืองลำไส้
  • ท้องผูก
  • ท้องเสีย
  • อาการวิงเวียน
  • หน้ามืด
  • ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่
  • มีแก๊ส
  • อาการปวดหัวต่างๆ
  • อาการปวดประจำเดือนมากเกินปกติ
  • อาการนอนไม่หลับ
  • อาการร่างกายไม่ประสานกัน
  • การรั่วของน้ำคร่ำเข้าไปในกระแสเลือดของผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ระดับโพแทสเซียมต่ำ
  • ตะคริวกินกล้ามเนื้อ
  • คลื่นเหียน
  • เส้นประสาทเสียหายถาวร
  • อาเจียน
  • อ่อนล้า

การทาน้ำมันเมล็ดละหุ่งลงบนผิวทำให้เกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

  • การระคายเคืองผิว
  • อาการเจ็บปวด
  • ผื่น
  • อาการคัน
  • โรคลมพิษ
  • อาการหน้า ปาก ลิ้นบวม
  • ผิวแดง ตกเลือด

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน

 

ปฏิกิริยาต่างๆ

เมล็ดละหุ่งอาจทำปฏิกิริยาอย่างไรกับฉันบ้าง?

สมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้อาจมีปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือสภาพทางการแพทย์ของคุณ ปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านก่อนการนำไปใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีผลกับความดันโลหิต
  • ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีผลกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือดูแลการทำงานของ p-glycoprotein
  • ตัวยาอื่นๆ ได้แก่ ยาแก้อักเสบ ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคหัวใจ ยาขับปัสสาวะ (ซึ่งควบคุมระดับเกลือแร่) ยา droperidol ยาระบาย ยา levomethadyl ยาแก้ปวด และยา silver sulfadiazine (ยาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณแผลไหม้)

 

ขนาดใช้ยา

ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน ก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ

ขนาดในการใช้เมล็ดละหุ่งโดยทั่วไปคือเท่าไหร่?

ผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป):

การใช้รับประทาน:

  • สำหรับอาการส่วนใหญ่: ใช้น้ำมันละหุ่ง 15-60 มิลลิลิตร
  • เพื่อล้างลำไส้: ใช้น้ำมันละหุ่งขนาด 30-80 มิลลิลิตรพร้อมน้ำเปล่า
  • สำหรับการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยกล้อง: ใช้น้ำมันละหุ่งขนาด 60 มิลลิลิตรในคืนก่อนการตรวจ
  • เพื่อคุมกำเนิด: ใช้เมล็ดละหุ่งประมาณ 3-2.5 กรัมพร้อมน้ำเปล่าหลังจากมีประจำเดือน 4-5 วัน
  • เพื่อการคลอดบุตร: ใช้น้ำมันละหุ่ง 60 มิลลิลิตร

การใช้เฉพาะที่:

  • เพื่อลดอาการอักเสบของต่อมใต้ตา: ทาน้ำมันละหุ่งให้ทั่วขอบตาและเปลือกตา อย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์

เด็ก (อายุต่ำกว่า 18)

การใช้รับประทาน:

  • สำหรับเด็กต่ำกว่า 2 ขวบ ใช้น้ำมันละหุ่ง 25-7.5 มิลลิลิตร
  • สำหรับเด็ก 2-11 ขวบ ใช้น้ำมันละหุ่ง 5-15 มิลลิลิตร
  • สำหรับเด็กมากกว่า 11 ขวบ ใช้น้ำมันละหุ่ง 15-60 มิลลิลิตร

การใช้เฉพาะที่:

  • สำหรับโรคโคลิคในเด็กทารก: ใช้น้ำมันละหุ่งร้อนๆนวดบริเวณหน้าท้อง

 ขนาดในการนำไปใช้นั้นอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งขนาดการใช้นั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่นๆอีกมากมายสมุนไพรเสริมอาหารนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดขอคำปรึกษาจากนักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน สำหรับขนาดในการใช้ยาที่เหมาะสม

 

พบเมล็ดละหุ่งในรูปแบบใดได้บ้าง?

สมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้ อาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • แบบน้ำมันละหุ่ง
  • แบบเมล็ดละหุ่ง
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว