เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ซิลเวอร์คอลลอยด์ (Colloidal Silver)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ซิลเวอร์คอลลอยด์ (Colloidal Silver)

การใช้

ซิลเวอร์คอลลอยด์ใช้ทำอะไร?

ซิลเวอร์คอลลอยด์เป็นแร่ชนิดหนึ่ง แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพแต่ผู้คนยังคงใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์สำหรับ:

- การติดเชื้อที่ตา

- การติดเชื้อที่หู

- อาการผิดปกติอย่างเรื้อรังของปอด

- โรคหลอดลมอักเสบ

- การติดเชื้อรา

- โรคลายม์

- โรคโรซาเชีย

- ไซนัสอักเสบ

- แผลในกระเพาะอาหาร

- การติดเชื้อยีสต์

- โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

- เอชไอวี / เอดส์

- วัณโรค

-   โรคอาหารเป็นพิษ

  • โรคเหงือก

-   การย่อยอาหาร

  • ป้องกันไข้หวัดใหญ่และโรคหวัด

 

การทำงานของซิลเวอร์คอลลอยด์

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของซิลเวอร์คอลลอยด์ไม่มากพอ ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันดีว่าซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้โดยการจับและยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของซิลเวอร์คอลลอยด์ผสมยู่ หรือยาอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ซิลเวอร์คอลลอยด์ปลอดภัยแค่ไหน

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจไม่ปลอดภัยเมื่อนำมารับประทาน, ทาที่ผิวหนัง หรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (IV)

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ:

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจไม่ปลอดภัยเมื่อนำไปใช้กับผิวหนังหรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (IV) ระดับซิลเวอร์คอลลอยด์ที่เพิ่มขึ้นในหญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ผิดปกติของหู, ใบหน้าและลำคอแก่ทารกในท้องของพวกเขา นอกจากนี้สารประกอบของซิลเวอร์คอลลอยด์ของยังสามารถสะสมในร่างกายซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนสีผิวเป็นสีฟ้าซึ่งไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ เป็นที่รู้จักกันในโรค “Argyria” ซิลเวอร์คอลลอยด์ยังสามารถสะสมในอวัยวะที่สำคัญซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง

 

ผลข้างเคียง

อาการข้างเคียงจากซิลเวอร์คอลลอยด์มีอะไรบ้าง?

แร่เงินในผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์คอลลอยด์จะสะสมอยู่ในอวัยวะที่สำคัญ เช่น ผิวหนัง, ตับ, ม้าม, ไตกล้ามเนื้อ และสมอง สามารถนำไปสู่เปลี่ยนสีผิวเป็นสีฟ้า และจะปรากฏที่แรกในเหงือก นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นการผลิตเมลานินในผิวหนังและบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดจะเปลี่ยนสีมากขึ้น

 

ผลข้างเคียงที่กล่าวข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตามอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

 

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับซิลเวอร์คอลลอยด์

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับซิลเวอร์คอลลอยด์ ได้แก่:

- ยาปฏิชีวนะ

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดปริมาณยาปฏิชีวนะที่ร่างกายดูดซึมเข้าไป การใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ร่วมกับยาปฏิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะบางชนิด

ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่อาจมีปฏิกิริยากับซิลเวอร์คอลลอยด์ ได้แก่ ยาไซโปรฟลอกซาซิน ciprofloxacin (Cipro), ยาอีโนซาติน enoxacin (Penetrex), ยานอร์ฟลอกซาซิน norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), ยาสปาร์ฟลอกซาซิน sparfloxacin (Zagam), ยาโทรวาฟลอกซาซิน trovafloxacin (Trovan) และ ยากรีพาฟลอกซาซิน grepafloxacin (Raxar)

- ยาปฏิชีวนะ

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดปริมาณยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (tetracycline) ที่ร่างกายดูดซึมได้ การใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ กับยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีนอาจลดประสิทธิผลของยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยานี้ ควรจะใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ สองหรือสี่ชั่วโมงหลังจากที่ใช้ ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน

กลุ่มยาเตตราไซคลีนบางชนิดไปรวมถึง ยาเดเมโคลไซคลีน demeclocycline (declomycin), ยามิโนไซคลีน minocycline (minocin) และเตตราไซคลีน tetracycline (achromycin)

- ยาเลโวไทรอกซีน (levothyroxine)

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดปริมาณของ ยาเลโวไทรอกซีน ที่ร่างกายดูดซึม การใช้ ยาเลโวไทรอกซีน ร่วมกับซิลเวอร์คอลลอยด์ อาจลดประสิทธิภาพของยานี้ได้

- ยาเพนิซิลลามีน Penicillamine (Cuprimine, Depen)

ยาเพนิซิลลามีน ใช้สำหรับรักษาโรควิลสัน และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดปริมาณยาเพนิซิลลามีนที่ร่างกายดูดซึมและลดประสิทธิผลของยานี้ได้

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์อยู่ที่เท่าไร?

ขนาดและปริมาณการใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

 

ซิลเวอร์คอลลอยด์มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ซิลเวอร์คอลลอยด์ในรูปของเหลว

http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-779-colloidal%20silver.aspx?activeingredientid=779 Accessed September 14, 2017

8 Proven Colloidal Silver Benefits, Uses & Side Effects https://draxe.com/colloidal-silver-benefits/ Accessed September 14, 2017

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว