เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กลูโคซามีน (Glucosamine)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
กลูโคซามีน (Glucosamine)

การใช้

สรรพคุณของกลูโคซามีน

กลูโคซามีนใช้สำหรับ โรคข้อเสื่อม โรคต้อหิน การลดน้ำหนัก ปวดข้อ ซึ่งเกิดจากยา โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ปวดขากรรไกร ปวดข้อ รวมถึง ปวดเข่า ปวดหลัง โรคระบบประสาทมีการเสื่อมของปลอกประสาท และ เอชไอวี/โรคเอดส์

กลูโคซามีนยังเป็นครีมทาผิวหนังเพื่อควบคุมอาการเจ็บจากข้อต่ออักเสบ ซึ่งครีมนี้มีส่วนผสมของการบูร และอื่นๆ

 

การออกฤทธิ์:

กลูโคซามีนเป็นสารเคมีที่พบในร่างกายมนุษย์ ซึ่งใช้ผลิตสารเคมีอื่น ๆ หลายชนิด รวมถึงสร้างเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก เอ็นยึด กระดูกอ่อน และของเหลวข้นรอบข้อต่อ

ข้อต่อได้รับการกันกระแทกโดยของเหลวและกระดูกอ่อนที่ล้อมรอบ ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อนเสื่อมและบางลง เป็นผลให้ข้อต่อมีการเสียดสีมากขึ้น เจ็บ และ เมื่อย

นักวิจัยคิดว่าการได้รับอาหารเสริมกลูโคซามีนอาจเพิ่มทั้งกระดูกอ่อนและของเหลวรอบข้อต่อ หรือช่วยป้องกันการเสื่อมของสารเหล่านี้ หรืออาจจะทั้งสองอย่าง

กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์ 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนที่จะใช้กลูโคซามีน

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับยารักษาโรคเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • ใช้ยาอื่น ๆ  ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา เช่น กลูโคซามีน และยาที่สัมพันธ์กัน หรือได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
  • แพ้สารที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์กลูโคซามีน หรือแพ้ยาอื่น หรือ สมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพ เช่น โรคหืด คอลเลสเตอรอลสูง ไตผิดปกติ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ภาวะซึมเศร้า ความเจ็บป่วยที่ผิวหนัง หรือคนที่ต้องจำกัดปริมาณการบริโภคโพแทสเซียม
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอาการแพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัย คุณประโยชน์ของการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

กลูโคซามีนปลอดภัยแค่ไหน

หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ยังไม่เพียงพอ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้กลูโคซามีนระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ผู้กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด

กลูโคซามีนอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และอาจขัดขวางการควบคุมน้ำตาลในเลือดในระหว่าง และ หลังการผ่าตัด หยุดการบริโภคกลูโคซามีนก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กลูโคซามีน

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย มีดังนี้

  • อาการคลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อาการท้องร่วง
  • อาการท้องผูก
  • อาการแสบร้อนกลางอก

ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย มีดังนี้

  • ง่วงและซึมเซา
  • ระงับประสาท
  • นอนไม่หลับ
  • ปฏิกิริยาทางผิวหนัง
  • ปวดศีรษะ

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

 

ปฏิกิริยาต่อยา

เกิดปฏิกิริยาอะไรบ้างเมื่อใช้กลูโคซามีน

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานหรือมีผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ก่อนที่จะใช้

ตัวยาที่อาจมีปฏิกิริยากับกลูโคซามีน ได้แก่

ยาวาร์ฟาริน (Warfarin ชื่อการค้า Coumadin)

ยาวาร์ฟารินใช้ต้านการแข็งตัวของเลือด มีหลายรายงานแสดงถึงการใช้กลูโคซามีนอย่างเดียวหรือพร้อมกับคอนดรอยติน (Chondroitin) จะเพิ่มผลกระทบกับยาวาร์ฟาริน ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง ซึ่งทำให้เกิดรอยช้ำและเลือดไหลอย่างมาก อย่าใช้กลูโคซามีนร่วมกับยาวาร์ฟาริน ยาทางธรรมชาติมากมายสามารถมีปฏิกิริยากับยาวาร์ฟาริน

ยารักษาโรคมะเร็ง (การรักษาด้วยเคมีบำบัด)

  • ยานี้ทำให้ลดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วของเซลล์มะเร็ง กลูโคซามีนอาจเพิ่มการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วของเนื้องอก การใช้กลูโคซามีนร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งอาจลดประสิทธิภาพของยาโรคมะเร็ง
  • ยาประเภทนี้คือ อีโทโพไซด์ (Etoposide ชื่อการค้า VP16, VePesid) เทนิโพไซด์ (Teniposide ชื่อการค้า VM26) และ ดอกโซรูบิซิน (Doxorubicin ชื่อการค้า Adriamycin)

ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen ชื่อการค้า Tylenol และอื่นๆ)

มีความกังวลว่าการใช้กลูโคซามีนร่วมกับยาอะเซตามิโนเฟน อาจทำให้มีผลกระทบกับการทำงานของยาแต่ละตัว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่บอกว่าสามารถใช้ยาทั้งสองตัวนี้ด้วยกันได้

ยารักษาโรคเบาหวาน (Anti-diabetes drugs)

  • มีความกังวลว่ากลูโคซามีนอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ กลูโคซามีนอาจลดประสิทธิภาพการทำงานของยารักษาโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยแสดงว่ากลูโคซามีนบางทีไม่ได้เพิ่มน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้น กลูโคซามีนอาจไม่รบกวนยาสำหรับโรคเบาหวาน โปรดระมัดระวัง ถ้าคุณใช้กลูโคซามีน และเป็นโรคเบาหวาน ควรตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน ประกอบด้วย ยาไกลเมพิไรด์ (Glimepiride ชื่อการค้า Amaryl) glyburide (ชื่อการค้า DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase) อินซูลิน, ยาไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone ชื่อการค้า Actos) ยาโรสิกลิตาโซน (Rosiglitazone ชื่อการค้า Avandia) ยาคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide ชื่อการค้า Diabinese) ยาไกลพิไซด์ (Glipizide ชื่อการค้า Glucotrol) ยาโทลบูตาไมด์ (Tolbutamide ชื่อการค้า Orinase) และอื่น ๆ

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้ทุกครั้ง

ปริมาณปกติที่ใช้กลูโคซามีนอยู่ที่เท่าไร

ผู้ใหญ่:

  • การรักษาโรคกระดูก: รับประทานกลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ 480 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน และ กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ 750 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์
  • การรักษาปัญหาการไหลเวียนโลหิต: รับประทานยา 48 มิลลิกรัม 72 มิลลิกรัม หรือ 96 มิลลิกรัม
  • การรักษาคอลเลสเตอรอลสูง: รับประทานกลูโคซามีน 1500 มิลลิกรัม, กลูโคซามีนซัลเฟต 1527 มิลลิกรัม (เทียบเท่ากลูโคซามีน 1200 มิลลิกรัม) หรือ กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ 750 มิลลิกรัม (เท่ากับกลูโคซามีน 625 มิลลิกรัม) ทุกวัน จนถึง 14 สัปดาห์
  • การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม: รับประทานกลูโคซามีนซัลเฟต 300 - 500 มิลลิกรัม หรือ กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ 480 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน จนถึง 12 สัปดาห์
  • การรักษาอาการปวดหลังช่วงล่าง: รับประทานกลูโคซามีน 1500 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ ใช้ไอออนโตฟอรีซีส (Iontophoresis) (การใช้กระแสไฟฟ้านำยาเข้าสู่ผิวหนัง) กับครีมกลูโคซามีนซัลเฟต 3 มิลลิลิตร หรือ กลูโคซามีนซัลเฟต 3 มิลลิลิตร หรือนวดที่ผิวหนัง 15 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์
  • การรักษาโรคระบบประสาทมีการเสื่อมของปลอกประสาท: รับประทานกลูโคซามีนซัลเฟต 1000 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 6 เดือน
  • การรักษาโรคข้อเสื่อม (ทั่วไป): รับประทานกลูโคซามีน กลูโคซามีนซัลเฟต กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล หรือผงโปร่งแสง จำนวน 1000 - 2000 มิลลิกรัม ทุกวัน จนถึง 18 เดือน ฉีดกลูโคซามีนได้ถึง 400 มิลลิกรัม เข้าสู่ข้อต่อ เส้นเลือดดำ หรือ กล้ามเนื้อ ในช่วงเวลาที่หลากหลาย
  • การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ รับประทานกลูโคซามีน 420 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 14 วัน

เด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี)

ไม่แนะนำให้ใช้กลูโคซามีนในเด็ก เพราะยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ 

 

กลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

กลูโคซามีนอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • กลูโคซามีน 500 มก. แบบแคปซูล
  • กลูโคซามีน 1000 มก. แบบแคปซูล
  • กลูโคซามีน 1500 มก. แบบยาเม็ด
  • กลูโคซามีน 750 มก. แบบยาเม็ด

Glucosamine. https://www.drugs.com/cdi/glucosamine.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559

Glucosamine. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/glucosamine/related-terms/hrb-20059572. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559

Glucosamine sulfate. https://medlineplus.gov/druginfo/natural/747.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว