เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กลูตามีน (Glutamine)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
กลูตามีน (Glutamine)

กลูตามีน (Glutamine) คืออะไร

กลูตามีน (Glutamine) ใช้ทำอะไร

แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) มักใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับอาการขาดกรดอะมิโนหรือกลูตามีนของร่างกาย กลูตามีน (Glutamine) ใช้ควบคู่กับโกรทฮอร์โมนในร่างกายของมนุษย์เพื่อรักษาอาการเกี่ยวกับโรคลำไส้

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้ยังคงมีผลข้างเคียงจากการรักษาทางการแพทย์ เช่น ปกป้องระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระบบย่อยอาหาร และรักษาอาการเกี่ยวกับโรคลำไส้

การออกฤทธิ์ของกลูตามีน (Glutamine)

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ดี ได้มีบางการศึกษาค้นพบว่า:

  • กลูตามีน (Glutamine) มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และยังสามารถกระจายตัวไปตามหลอดเลือดต่าง ๆ เพื่อไปยังอวัยวะที่ต้องการ
  • กลูตามีน (Glutamine) เป็นสารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น กรดอะมิโนและกลูโคส (น้ำตาล)

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้กลูตามีน (Glutamine)

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้กลูตามีน (Glutamine)

กฎหมายในการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

กลูตามีน (Glutamine) ปลอดภัยหรือไม่

สำหรับเด็ก:

กลูตามีน (Glutamine) ปลอดภัยสำหรับการรับประทาน เด็กอายุ 3-18 ปี ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกิน วันละ 0.7 กรัม ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัว) เนื่องจากยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยสำหรับการใช้ในปริมาณที่มากกว่านี้สำหรับเด็ก

สำหรับหญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลความปลอดภัยของกลูตามีน (Glutamine) สำหรับการใช้ในหญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรไม่มากพอ จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียงจากการใช้กลูตามีน (Glutamine)

ผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับจากการใช้กลูตามีน (Glutamine)

เมื่อรับประทานแอล-กลูตามีน (L-Glutamine) อาจมีผลข้างเคียงดังนี้:

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • แก๊สในกระเพาะอาหาร
  • อาการบวมที่มือและเท้า
  • อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อกระดูก
  • อาการปวดหลัง
  • ปวดศีรษะ
  • อาการเวียนศีรษะ
  • รู้สึกเหนื่อย
  • อาการคันและระคายเคืองผิวหนัง
  • ปากแห้ง
  • มีน้ำมูก
  • ภาวะเหงื่อออกมาก
  • อาการโรคลมพิษ
  • อาการหายใจติดขัด
  • อาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอ
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • ปัญหาทางการได้ยิน
  • สัญญาที่บ่งบอกถึงการอักเสบ เช่น ไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ไข้หวัดใหญ่ แผลใหญ่ปาก

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างกันของกลูตามีน (Glutamine)

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับกลูตามีน (Glutamine)

กลูตามีน (Glutamine) อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ยาและอาการทางสุขภาพต่อไปนี้อาจมีปฏิกิริยากับกลูตามีน (Glutamine):

ขนาดการใช้กลูตามีน (Glutamine)

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้กลูตามีน (Glutamine) อยู่ที่เท่าไร

ปริมาณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ใหญ่:

  • รับประทานปริมาณเฉลี่ย 10 กรัม 3 ครั้งต่อวัน
  • ปริมาณการให้ยา ตั้งแต่ 5-30 กรัมต่อวัน

ปริมาณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้:

รับประทานยาในปริมาณ 5 กรัม แบ่งเป็น 6 ครั้งต่อวัน เว้นระยะห่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง และรับประทานพร้อมมื้ออาหารหรืออาหารว่าง เป็นเวลา 16 สัปดาห์

แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) สามารถใช้ร่วมกับโกรทฮอร์โมนหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ ได้

ปริมาณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว:

รับประทานยาโดยเฉลี่ย 30 กรัม ต่อวัน

ปริมาณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็กที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว:

สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี รับประทานยาโดยเฉลี่ย 600 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัว) ต่อวัน

ปริมาณการใช้กลูตามีน (Glutamine) อาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

กลูตามีน (Glutamine) มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

กลูตามีน (Glutamine) อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ยาผงละลายน้ำ
  • ยาแขวนตะกอนชนิดผง
  • ยาเม็ด
  • แคปซูล
  • ยาผง
  • ยาเม็ดเล็ก

 

Drugs. (2020). Glutamine. Accessed 15 April 2020.

Drug Bank. (2020). L-Glutamine. Accessed 15 April 2020.

Mayo Clinic. (2020). Glutamine (Oral Route). Accessed 15 April 2020.

WebMD. Glutamine.Accessed 15 April 2020.

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว