เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เฮนน่า (Henna)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เฮนน่า (Henna)

การใช้

เฮนน่าใช้ทำอะไร

        ในอดีต  เฮนน่าถูกนำมาใช้รักษาอาการท้องร่วงขั้นรุนแรงที่เกิดจากปรสิต (โรคบิดจากเชื้ออะมีบา) มะเร็ง อาการม้ามโต  อาการปวดหัว โรคดีซ่านและโรคทางผิวหนัง

        ในปัจจุบัน ผู้คนนำเฮนน่ามาใช้รักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ บางครั้งก็นำเฮนน่ามาทาบริเวณที่เกิดอาการได้โดยตรงอย่างอาการรังแค โรคขี้เรื้อนกวาง โรคหิด โรคเชื้อราและบาดแผล

        ในอุตสาหกรรมการผลิต นำเฮนน่ามาใช้ในเครื่องสำอาง ยาย้อมผมและผลิตภัณฑ์บำรุงผม รวมทั้งใช้เป็นสีย้อมสำหรับเล็บ มือและเสื้อผ้า

ผู้คนยังนำเฮนน่ามาทาลงบนผิวเพื่อทำเป็นรอยสักชั่วคราว

การออกฤทธิ์

        เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของเฮนน่าไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางส่วนบ่งชี้ว่าเฮนน่ามีสารที่ช่วยต้านการติดเชื้อ และยังมีข้อมูลบางส่วนบ่งชี้ว่าเฮนน่าอาจช่วยลดการเจริญเติบโตของเนื้องอก ป้องกันหรือลดอาการชักกระตุก ลดการอักเสบและบรรเทาความเจ็บปวด

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เฮนน่า

        ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:
• ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจาก ในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
• อยู่ระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
• แพ้เฮนน่าในทุกรูปแบบ ยาหรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ
• มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ 
• หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์
        ข้อบังคับสำหรับเฮนน่านั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการใช้เฮนน่าต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

เฮนน่าปลอดภัยแค่ไหน

        เฮนน่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่โดยส่วนมากเมื่อใช้กับผิวหรือผม แต่ไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าไป

ข้อควรระวังและคำเตือนในกรณีพิเศษ

เด็ก: เฮนน่าไม่ปลอดภัยสำหรับใช้ในเด็กโดยเฉพาะในเด็กทารก มีกรณีที่เคยเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงเมื่อทาเฮนน่าลงบนผิวของทารก ทารกที่ป่วยเป็นโรคพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส (จี 6 พีดี) มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการทาเฮนน่าลงบนผิวของทารกที่ป่วยโรคนี้จึงอาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก

การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร: การรับประทานเฮนน่าขณะกำลังตั้งครรภ์อาจเป็นอันตราย มีหลักฐานบางส่วนบ่งชี้ว่าอาจทำให้เกิดการแท้งได้ รวมทั้งการรับประทานเฮนน่าขณะกำลังให้นมบุตรก็เป็นอันตรายเช่นกัน

อาการแพ้เฮนน่า: ถ้าท่านมีอาการแพ้เฮนน่า โปรดหลีกเลี่ยงการสัมผัส

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากการใช้เฮนน่า

        เฮนน่าอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง อาทิเช่น ผิวหนังอักเสบ (โรคผิวหนังอักเสบ) รวมถึงรอยแดง อาการคัน ผิวไหม้ อาการบวม ผิวตกสะเก็ด ผิวหนังถลอก แผลพุพองและเกิดรอยแผลเป็น อาการแพ้ที่เกิดได้ยากอาจเกิดขึ้น อาทิเช่น โรคลมพิษ น้ำมูกไหล หายใจมีเสียงและโรคหอบหืด

        การกลืนเฮนน่าโดนบังเอิญอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนและเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

        การทาเฮนน่าลงบนผิวทารกที่ป่วยเป็นโรคพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส (จี 6 พีดี) อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกได้

        หากหญิงตั้งครรภ์รับประทานเฮนน่าเข้าไปอาจทำให้เสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้

        ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีก หากท่านกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาต่อยา
จะเกิดปฏิกิริยาอะไรเมื่อใช้เฮนน่ากับสารอื่น ๆ 

        เฮนน่าอาจมีปฏิกิริยากับการรักษาปัจจุบันหรือพยาธิสภาพที่มี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้

ลิเทียมมีปฏิกิริยาต่อเฮนน่า

        เฮนน่าอาจมีประสิทธิภาพเหมือนกับยาขับน้ำหรือ “ยาขับปัสสาวะ” การรับประทานเฮนน่าอาจลดประสิทธิภาพของร่างกายในการกำจัดลิเทียม ซึ่งอาจทำให้ลิเทียมมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง

        ปรึกษากับบุคลากรทางการแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้หากท่านกำลังใช้ลิเทียมหรือท่านอาจต้องเปลี่ยนยาลิเทียมใหม่

ขนาดยา

        ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้เฮนน่าอยู่ที่เท่าไร:

        ปริมาณการใช้เฮนน่าอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

เฮนน่ามีจำหน่ายในรูปแบบใด:
เฮนน่าอาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

สารให้สีในยาย้อมผมหรือครีมนวดผม

 

Henna. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-854-HENNA.aspx?activeIngredientId=854&activeIngredientName=HENNA&source=2. Accessed March, 30, 2017.

Henna. http://www.hennapage.com/henna/encyclopedia/growing/. Accessed March, 30, 2017.

Henna. http://www.homeremediess.com/medicinal-plants-henna-uses-and-pictures-lawsonia-inermis/. Accessed March, 30, 2017.

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว