เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กะเพรา (Holy Basil)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
กะเพรา (Holy Basil)

การใช้ประโยชน์

กะเพราใช้ทำอะไร

กะเพราคือพืชชนิดหนึ่งซึ่งมาจากอินเดียและใช้เพื่อเป็นยาอายุรเวท ในการ “ปรับสมดุล” เพื่อลดความเครียด กะเพราเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดูและมักปลูกรอบๆ เทวสถานของฮินดู ชื่อของกะเพราในภาษาฮินดูเรียกว่า Tulsi ซึ่งแปลว่า "ซึ่งหาตัวจับได้ยาก" ส่วนที่เป็นยาทำจากใบ ลำต้นและเมล็ด

กะเพราใช้เพื่อลดไข้ รักษาไข้หวัดใหญ่ ("ไข้หวัด") โรค H1N1 (ไข้หวัดหมู) โรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ หูรูด ปวดหัว ปวดท้อง อาการเครียด โรคหัวใจ ไข้  ไวรัสตับอักเสบ ไข้มาลาเรีย ความเครียดและวัณโรค นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเรื่องพิษสารปรอทเพื่ออายุที่ยืนยาวมากขึ้น  เป็นสารกันยุงและป้องกันงูรวมถึงแก้พิษแมงป่องด้วย
กะเพราสามารถใช้ทาผิวเพื่อป้องกันกลากเกลื้อน

ในการทำอาหาร กะเพรามักจะถูกใช้เพื่ออาหารประเภทผัดหรือแกงร้อนเนื่องจากมีรสชาติที่เผ็ดร้อน ในตำราทำอาหารบางครั้งเรียกกะเพราว่า "โหระพาร้อน"

 

การทำงานของกะเพราเป็นอย่างไร

มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของกะเพราที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม มีบางการศึกษาที่ได้รายงานว่ากะเพรามีสารเคมีที่ช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวม (แผลอักเสบ)

สารอื่นๆ อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

มีการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้เม็ดกะเพราในการรักษามะเร็ง โดยในเบื้อต้นแนะนำว่าสามารถช่วยชะลอการเกิดโรคและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในสัตว์ทดลองที่เป็นมะเร็ง ผู้ศึกษาค้นคว้าคาดว่าประโยชน์ดังกล่าวนี้อาจเป็นเพราะความสามารถในการเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนท์ในเม็ดกะเพรา

 

ข้อควรระวังและคำเตือน:
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้กะเพรา

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากกะเพรา หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

 

กะเพรานั้นปลอดภัยแค่ไหน

กะเพรานั้นปลอดภัยหากรับประทานในระยะสั้นติดต่อกันหกสัปดาห์ แต่ยังไม่มีการรับรองในการรับประทานติดต่อกันในระยะยาว

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้

ศัลยกรรม : กะเพราอาจชะลอการแข็งตัวของเลือดซึ่งอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการศัลยกรรม ควรหยุดใช้กะเพราอย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนการศัลยกรรม

ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กะเพรามีอะไรบ้าง

หากพบผลข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

 

ปฏิกิริยาต่อยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับกะเพรามีอะไรบ้าง

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

  • ยาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs) มีปฏิกริยาต่อกะเพรา

กะเพราอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด การใช้พร้อมยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวอาจเพิ่มโอกาสของอาการช้ำหรือเลือดออก แต่ยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะบ่งบอกว่าเป็นปัจจัยที่อันตราย

บางการรักษาที่ชะลอการแข็งตัวของเลือดเช่น aspirin, clopidogrel (Plavix), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, ticlopidine (Ticlid), warfarin (Coumadin) และอื่นๆ

Pentobarbital ก็มีปฏิกริยาต่อกะเพรา

Pentobarbital ทำให้เกิดอาการง่วงนอน มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้กะเพรากับ Pentobarbital ว่าอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมมากเกินไป แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาที่มากพอจะบ่งบอกว่าเป็นปัจจัยที่อันตราย

 

 

ปริมาณการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

 

ปกติแล้วควรใช้กะเพราในปริมาณเท่าใด

ปริมาณในการใช้กะเพราอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

 

กะเพราที่ใช้อยู่ในรูปแบบใด   

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • สารสกัด
  • ผง
  • ทิงเจอร์

 

Holy Basil http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1101-holy%20basil.aspx?activeingredientid=1101 Accessed March 29, 2017

Holy Basil https://www.drugs.com/npp/holy-basil.html Accessed March 29, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว