เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ระย่อม หรือ รากงูอินเดีย (Indian Snakeroot)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ระย่อม หรือ รากงูอินเดีย (Indian Snakeroot)

การใช้

ระย่อมใช้ทำอะไร?

ระย่อมเป็นพืชชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต , ความกังวลใจ, อาการนอนไม่หลับ และความผิดปกติทางจิต เช่น โรคจิตและความวิกลจริต ระย่อมยังใช้สำหรับการโดนงูและสัตว์เลื้อยคลานกัด, เป็นไข้, ท้องผูก, โรคไขข้อ, ลำไส้, โรคตับ, ปวดข้อ, ภาวะคั่งน้ำ (อาการบวมน้ำ) โรคลมชักและเป็นยาชูกำลังสำหรับอาการอ่อนเพลียทั่วไป

 

หนึ่งในสารเคมีที่อยู่ในระย่อมเป็นสารชนิดเดียวกับยาตามใบสั่งแพทย์ที่เรียกว่า ยารีเซอร์พีน (Reserpine) ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่รุนแรงถึงปานกลาง โรคจิตเภท และการไหลเวียนที่ไม่ดี

 

ระย่อมทำงานอย่างไร?

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมีการศึกษาบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่า:

ระย่อมมีสารเคมีชนิดเดียวกับยารีเซอร์พีน (Reserpine) ที่ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ระย่อม?

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของระย่อมผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ระย่อมจะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ระย่อมปลอดภัยแค่ไหน?

ระย่อมอาจปลอดภัยเมื่อใช้สารสกัดที่อยู่ภายใต้การดูแลของมืออาชีพด้านการดูแลสุขภาพและได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี ในมาตรฐานของระย่อมมีจำนวนยาอยู่จำนวนหนึ่ง จำนวนของยารีเซอร์พีนและสารเคมีอื่นๆในระย่อมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโรงงาน เนื่องจากยารีเซอร์พีนและสารเคมีอื่นๆ ในระย่อมอาจเป็นพิษมาก ปริมาณต้องมีความแม่นยำและผลข้างเคียงควรได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพที่ผ่านการฝึกอบรมและฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ:

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ไม่ปลอดภัยที่จะใช้ระย่อมระหว่างตั้งครรภ์ สารเคมีในระย่อม อาจทำให้เกิดข้อบกพร่อง นอกจากนี้ยังไม่ควรใช้ระย่อมในระหว่างการให้นมบุตร สารเคมีที่มีอยู่สามารถผ่านเข้าสู่เต้านมได้และอาจเป็นอันตรายต่อทารกที่รับประทานนม

-  การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า (electroconvulsive therapy, ECT): ไม่ควรใช้ระย่อม สำหรับผู้ที่ได้รับ ECT ให้หยุดรับประทานระย่อมอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนเริ่มทำECT

-  นิ่วในถุงน้ำดี (Gall stones): ระย่อมอาจทำให้โรคถุงน้ำดีแย่ลง

แผลในกระเพาะลำไส้หรือลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ที่เป็นแผลเป็น: ห้ามใช้ระย่อมหากคุณเคยมีอาการเหล่านี้

การแพ้ยารีเซอร์พีน (Reserpine) หรือยาที่คล้ายคลึงกัน เรียกว่า alkaloids rauwolfia: หากคุณแพ้ยาเหล่านี้ ห้ามรับประทานระย่อม

-  ภาวะซึมเศร้า: ห้ามใช้ระย่อมหากคุณมีภาวะซึมเศร้าหรือแนวโน้มอยากฆ่าตัวตาย

-  เนื้องอกในต่อมหมวกไตซึ่งเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงที่เป็นอันตราย (pheochromocytoma): ห้ามใช้ระย่อมหากคุณมีอาการนี้

การผ่าตัด: ระย่อมอาจเร่งระบบประสาทส่วนกลาง มีความกังวลว่าอาจไปรบกวนการผ่าตัดด้วยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ควรหยุดใช้ระย่อมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

ผลข้างเคียง

อาการข้างเคียงจากระย่อมมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงร้ายแรง  เช่น

  • คัดจมูก
  • ปวดท้อง
  • โรคท้องร่วง
  • วิงเวียน
  • อาเจียน
  • สูญเสียความหิวหรือกระหาย
  • อาการง่วงนอน
  • ชัก
  • พาร์คินสันและอาการโคม่า

**ระย่อมสามารถชะลอการตอบสนองได้ ไม่ควรใช้ขณะขับรถหรือขณะทำงานหนัก

 

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับระย่อม

ระย่อมอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับสมุนไพรนี้ ได้แก่

แอลกอฮอล์ (Alcohol)

แอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดความเฉื่อยชาและง่วงนอนได้ ระย่อมอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนเช่นกัน การรับประทานระย่อมพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากเกินไป

ยาไดจอกซิน Digoxin (Lanoxin)

ยาไดจอกซินเป็นยาที่ช่วยให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ระย่อมอาจจะไปชะลอการเต้นของหัวใจ การรับประทานระย่อมไปพร้อมกับยาไดจอกซิน อาจลดประสิทธิภาพของ ยาไดจอกซิน ห้ามรับประทานระย่อมหากท่านกำลังรับประทานยาไดจอกซิน

ยาเลโวโดปา (Levodopa)

ยาเลโวโดปา ใช้สำหรับรักษาโรคพาร์คินสัน การที่ใช้ระย่อมพร้อมกับยาเลโวโดปา อาจลดประสิทธิภาพของยาได้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นเพราะอะไร หรือการโต้ตอบนี้อาจเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยห้ามใช้ระย่อมขณะใช้ยาเลโวโดปา

ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (MAOIs)

ระย่อมมีสารเคมีที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย สารเคมีชนิดนี้อาจเพิ่มผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในภาวะซึมเศร้า

ยาบางชนิดที่ใช้ในภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ยาฟีเนลซีน phenelzine (Nardil), ยาทราไนไซโพรมีน tranylcypromine (Parnate) และอื่นๆ

ยารักษาอาการทางจิต (ยารักษาโรคจิตเภท)

ระย่อมดูเหมือนจะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการสงบลง ยาสำหรับภาวะจิตใจช่วยให้ท่านสงบลง การรับประทานระย่อมควบคู่ไปกับยารักษาโรคจิตเภทอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของการรักษาอาการทางจิต

ยารักษาอาการทางจิตเหล่านี้ ได้แก่ ยาคลอร์โปรมาซีน chlorpromazine (thorazine), ยาโคลซาปีน clozapine (clozaril), ยาฟลูฟีนาซีน fluphenazine (prolixin), ยาฮาโลเพอริดอล  haloperidol (haldol), ยาโอแลนซาปีน olanzapine (zyprexa), ยาเพอร์เฟนาซีน perphenazine (trilafon), ยาโปรคลอเปอราซีน prochlorperazine (compazine),

ยาควิไทอะปีน quetiapine (seroquel), ยาริสเพอริโดน risperidone (Risperdal) ยาไทโอริดาซีน thioridazine (Mellaril), ยาไทโอแซนทีน thiothixene (Navane) และอื่น ๆ

ยาโพรพราโนลอล Propranolol (Inderal)

ยาโพรพราโนลอลใช้เพื่อลดความดันโลหิต ระย่อมอาจไปลดความดันโลหิตเช่นกัน การรับประทานระย่อมพร้อมกับยาโพรพราโนลอล อาจทำให้ความดันโลหิตของคุณต่ำเกินไป

ยาระงับประสาท (Barbiturates)

ระย่อมอาจทำให้เกิดอาการซึมและง่วงนอน ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนเรียกว่า ยากล่อมประสาท (sedatives) การรับประทานระย่อมควบคู่ไปกับยาระงับประสาทอาจทำให้ง่วงนอนได้มากเกินไป

ยากระตุ้น (Stimulant drugs)

ยากระตุ้นจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้เร็วขึ้น โดยการเร่งระบบประสาทยากระตุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวายและเร่งการเต้นของหัวใจ ระย่อมยังอาจเพิ่มความเร็วของระบบประสาท การใช้ระย่อมอาจไปกระตุ้นความกังวลด้วย การใช้ระย่อมควบคู่กับยากระตุ้นอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้ความดันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากระตุ้นควบคู่กับระย่อม

ยากระตุ้นเหล่านี้ ได้แก่ ยาไดเอทิลโพรพิออน diethylpropion (Tenuate), ยาอิพิเนฟริน epinephrine, ยาเฟนเทอร์มีน phentermine (Ionamin),  ยาซูโดอีเฟดรีน pseudoephedrine (Sudafed), และอื่นๆอีกมากมาย

 

ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับสมุนไพรนี้ระดับปานกลาง ได้แก่

ยาอีเฟดรีน (Ephedrine)

ยาเอฟีดรีนสามารถไปเร่งระบบประสาทและทำให้รู้สึกกระวนกระวายใจ ระย่อมสามารถทำให้อาการเหล่านี้สงบลงได้ และอาจทำให้ง่วงนอน การใช้ระย่อมพร้อมกับอีเฟดรีน สามารถลดผลกระทบจากอีเฟดรีนได้

ยาที่ใช้ในภาวะซึมเศร้า (Tricyclic antidepressants)

การใช้ยาบางชนิดที่ใช้ในภาวะซึมเศร้าอาจลดผลกระทบจากการใช้ระย่อม

ยาที่ใช้สำหรับภาวะซึมเศร้าเหล่านี้ ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน amitriptyline (Elavil),

ยาอิมิพรามีน imipramine (Tofranil) และอื่นๆ

ยาน้ำ (ยาขับปัสสาวะ) Water pills (Diuretic drugs)

ระย่อมอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ ยาขับปัสสาวะสามารถขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายได้ ระดับโพแทสเซียมที่ต่ำอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากระย่อม ยาขับปัสสาวะที่ขับโพแทสเซียม ได้แก่ ยาคลอโรไทอะไซด์ chlorothiazide (Diuril), ยาคลอธาลิโดน chlorthalidone (Thalitone), ยาฟูโรซีไมด์ furosemide (Lasix),

ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ hydrochlorothiazide (HCTZ, HydroDuril, Microzide) และอื่นๆ

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้อยู่ที่เท่าไร?

ขนาดและปริมาณการใช้ระย่อม อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

 

ระย่อมมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

ระย่อมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • สารสกัดจากระย่อมชนิดเหลว
  • ระย่อมชนิดผง
  • ชนิดทิงเจอร์

 

Indian snakeroot http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-787-indian%20snakeroot.aspx?activeingredientid=787&activeingredientname=indian%20snakeroot Accessed March 29, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว