เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ไอโอดีน (Iodine)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ไอโอดีน (Iodine)

การใช้

ไอโอดีนใช้ทำอะไร ?

ไอโอดีนเป็นสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง ร่างกายเราต้องการไอโอดีนแต่สร้างเองไม่ได้ ไอโอดีนนั้นต้องมาจากอาหาร

ไอโอดีนใช้ในการป้องกันการขาดไอโอดีน รวมถึงป้องกันคอพอก ไอโอดีนใช้สำหรับ:

  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา (cutaneous sporotrichosis)
  • รักษาโรคไฟโบรซิสติคที่เกิดที่เต้านม
  • ป้องกันมะเร็งเต้านม โรคที่เกิดกับดวงตา เบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
  • เป็นยาขับเสมหะ

ไอโอดีนยังใช้ในการฉายรังสี เพื่อป้องกันต่อมไทรอยด์จากรังสีไอโอไดด์

ยังใช้ไอโอดีนกับผิวเพื่อฆ่าเชื้อโรค ป้องกันอาการเจ็บคอ (mucositis) ที่เกิดจากการทำเคมีบำบัด และการรักษาแผลเบาหวาน

ไอโอดีนยังใช้ทำให้น้ำบริสุทธิ์ได้อีกด้วย

 

 

การออกฤทธิ์

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับไอโอดีนไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าไอโอดีนลดฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์และฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่นๆ เช่นอะมีบา ประเภทของไอโอดีนเช่นโพแทสเซียมไอโอไดด์ใช้ในการรักษา (ไม่ป้องกัน) ผลกระทบจากอุบัติเหตุจากการแผ่รังสี

ข้อควรระวัง & คำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ไอโอดีน?

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ส่วนประกอบของไอโอดีน, ยาอื่น หรือสมุนไพรชนิดอื่น
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์บางประเภท

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงจึงจะใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ไอโอดีนปลอดภัยแค่ไหน?

ไอโอดีนค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่แนะนำหรือเมื่อใช้กับผิวหนังอย่างเหมาะสมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง

การใช้ไอโอดีนในปริมาณที่มากหรือใช้ในระยะยาวอาจจะไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ไอโอดีนในระยะยาวของปริมาณการใช้ที่มากกว่า 1100 ไมโครกรัมต่อวัน  (ปริมาณสูงสุดที่เป็นไปได้, UL) โดยไม่ได้การรับรองทางการแพทย์ที่เหมาะสม ในเด็ก ไม่ควรรับเกินกว่า 200 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี, 300 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 4 ถึง 8 ปี, 600 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 9 ถึง 13 ปีและ 900 ไมโครกรัมต่อวันสำหรับวัยรุ่น นี่คือปริมาณสูงสุดที่เป็นไปได้ (UL).

ข้อควรระวัง  & คำเตือนพิเศษ:

คนที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ไอโอดีนนั้นค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่แนะนำหรือใช้กับผิวอย่างเหมาะสมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง (มีสารละลาย 2%) ไอโอดีนอาจจะไม่ปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณมาก

ไม่รับไอโอดีนมากกว่า 1100 ไมโครกรัมหากคุณอายุมากกว่า 18 ปี ไม่รับไอโอดีนมากกว่า 900 ไมโครกรัมต่อวันหากคุณอายุ 14 ถึง 18 ปี การที่รับมากกว่านี้จะทำให้เกิดปัญหากับต่อมไทรอยด์

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองจากต่อมไทรอยด์: จะพบโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองจากต่อมไทรอยด์เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ไอโอดีน

ผิวหนังอักเสบจากเริม: การใช้ไอโอดีนทำให้ผื่นมีอาการแย่ลง

การผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ, ต่อมไทยรอยด์โต (คอพอก),หรือเนื้องอกในต่อมไทยรอยด์: การใช้ไอโอดีนเป็นเวลานานหรือปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้สถานการณ์เหล่านี้แย่ลง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับจากการใช้ไอโอดีน

ไอโอดีนอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงสำหรับบางคน ผลข้างเคียงทั่วไปรวมถึงการคลื่นไส้อาเจียนและการปวดท้อง น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ เหมือนมีโลหะในปาก และ ท้องเสีย

ในคนที่มีความไวต่อไอโอดีนจะมีผลข้างเคียงเช่นปากและหน้าบวม (แองจิโออีดีมา), เลือดออกมากและเป็นแฟลฟกช้ำ, เป็นไข้, ปวดข้อ, ต่อมน้ำเหลืองโต ผลการแพ้ลมพิษและอาจถึงตายได้

ในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การรับไอโอดีนที่มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงเช่นปัญหาที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ การรับไอโอดีนมากเกินไปจะทำให้เหมือนมีโลหะในปาก ปวดฟันและเหงือก แสบปากและคอ น้ำลายไหลมากกว่าปกติ คออักเสบ ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย ซูบผอม วิตกกังวล โรคผิวหนังและผลข้างเคียงอื่นๆ อีกมากมาย

เมื่อใช้ไอโอดีนกับผิวหนังโดยตรง จะทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง  เกิดรอยด่าง อาการแพ้ และ ผลข้างเคียงอื่นๆ ระวังอย่าใช้ผ้าพันแผล หรือปิดบริเวณนั้นแน่นเกินไปโดยรักษาแผลนั้นด้วยไอโอดีนเพื่อหลีกเลี่ยงการแสบแผลจากไอโอดีน

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง อาจจะมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาต่อยา

จะเกิดปฏิกิริยาอะไรเมื่อใช้ไอโอดีนพร้อมกับสารอื่น ๆ

ไอโอดีนอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับไอโอดีน:

  • ยาต้านไทรอยด์

ไอโอดีนสามารถมีผลกระทบกับต่อมไทรอยด์ การใช้ไอโอดีนกับยาเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อไทรอยด์มากเกินไปและลดระดับไทรอยด์มากเกินไป อย่ารับอาหารเสริมไอโอดีนหากคุณรับยาต้านไทรอยด์อยู่ป้องกันผลกระทบที่มีต่อไทรอยด์ที่อาจจะมากเกินไป

ยาเหล่านี้ได้แก่ methenamine mandelate (Methimazole), methimazole (Tapazole), potassium iodide (Thyro-Block), และอื่นๆ

  • อะมิโอดาโรน

อะมิโอดาโรน (คอร์ดาโรน) มีสารไอโอดีน การรับอาหารเสริมไอโอดีนไปพร้อมกับอะมิโอดาโรน (คอร์ดาโรน) จะทำให้มีไอโอดีนมากเกินไปในเลือด การมีไอโอดีนมากเกินไปในเลือดจะทำให้มีผลข้างเคียงต่อต่อมไทรอยด์

  • ลิเธียม

ลิเธียมสามารถหยุดยั้งการทำงานของไทรอยด์ได้ การใช้ลิเธียมคู่กันกับไอโอดีนจะทำให้เสริมกันและเกิดผลกระทบทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (17574,20754) ตรวจสอบการทำงานของไทรอยด์

  • ยายับยั้งเอนไซม์ในร่างกาย

ยาบางประเภทสำหรับความดันโลหิตสูงทำให้ลดความเร็วในการกำจัดโพแทสเซียมของร่างกาย สารอาหารไอโอไดด์ในร่างกายประกอบด้วยโพแทสเซียม การรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ในร่างกายร่วมกับยานี้ในคนที่มีความดันโลหิตเสริมจะทำให้มีโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไป อย่ารับโพแทสเซียมไอโอไดด์หากคุณใช้ยาสำหรับความดันโลหิตสูง

ยาสำหรับความดันโลหิตสูงได้แก่ captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), lisinopril (Prinivil, Zestril), ramipril (Altace), และอื่นๆ

  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (ARBs)

ยาบางประเภทสำหรับความดันโลหิตสูงทำให้ลดความเร็วในการกำจัดโพแทสเซียมของร่างกาย สารอาหารไอโอไดด์ในร่างกายประกอบด้วยโพแทสเซียม การรับโพแทสเซียมไอโอไดด์ในร่างกายร่วมกับยานี้ในคนที่มีความดันโลหิตเสริมจะทำให้มีโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไป อย่ารับโพแทสเซียมไอโอไดด์หากคุณใช้ยาสำหรับความดันโลหิตสูง

ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์  ได้แก่ losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), irbesartan (Avapro), candesartan (Atacand), telmisartan (Micardis), และ eprosartan (Teveten).

  • ยาโปแตสเซียม-สแปริ่ง ไดยูเรติก (ยาขับปัสสาวะลดอาการบวมน้ำ)

อาหารเสริมไอโอดีนโดยมากจะมีโพแทสเซียม ยาน้ำบางประเภทจะเพิ่มโพแทสเซียมในร่างกาย การรับโพแทเซียมไอโอไดด์ไปพร้อมยาน้ำอาจทำให้มีโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไป อย่ารับโพแทสเซียมไอโอไดด์มากเกินไปหากคุณทานยาน้ำเพราะจะเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมในร่างกาย

ยาน้ำบางประเภทจะเพิ่มโพแทสเซียมในร่างกาย ได้แก่ spironolactone (Aldactone), triamterene (Dyrenium), และ amiloride (Midamor).

ปริมาณการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ไอโอดีนอยู่ที่เท่าไร?

ปริมาณการใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์คือ:

รับโดยรับประทาน:

สำหรับการฉายแสงโดยด่วน: โพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) ควรจะรับก่อนหรือเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้หลังการฉายแสง การฉายแสงจะเป็นอันตรายกับคนที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรและเด็กๆ ดังนั้นโพแทสเซียมไอโอไดด์ควรจะใช้ในปริมาณที่เหมาะกับการฉายแสงและอายุ การฉายแสงจะมีการวัดปริมาณเป็นเซ็นติเกรย์ (cGy) สำหรับเด็กแรกเกิด ทารก เด็ก วัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่ให้นมบุตร โพแทสเซียมไอโอไดด์จะให้หากการฉายรังสีเท่ากับ 5 เซ็นติเกรย์ (cGy) หรือมากกว่านั้น จะมีการบดยาแล้วผสมกับน้ำผลไม้ แยม หรือนม ฯลฯ

  • สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 1 เดือน ปริมาณการใช้คือโพแทสเซียมไอโอได้ 16 มก.;
  • สำหรับเด็กทารกหรือเด็ก 1 เดือนถึง 3 ปี ใช้ 32 มก.;
  • สำหรับเด็ก 3-12 ปี , 65 มก.;
  • สำหรับวัยรุ่น 12 – 18 ปี, 65 มก. หรือ 120 มก.หากวัยรุ่นตัวโตเท่าผู้ใหญ่;
  • สำหรับหญิงมีครรภ์หรือหญิงที่ให้นมบุตร, 120 มก.
  • สำหรับผู้ใหญ่อายุ 18-40 ปีที่ฉายแสง 10 เซ็นติเกรย์หรือมากกว่า, ใช้โพแทสเซียมไอโอไดด์ 130 มก.
  • สำหรับผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไปที่ฉายแสงมากกว่า 500 เซ็นติเกรย์ขึ้นไป, ใช้โพแทสเซียมไอโอไดด์ 130

ปริมาณที่เพียงพอ (AI) ของไอโอดีนสำหรับทารก: 0 ถึง 6 เดือน, 110 ไมโครกรัมต่อวัน; 7 ถึง12 เดือน, 130 ไมโครกรัมต่อวัน

สำหรับเด็กและผู้ใหญ่, ปริมาณที่แนะนำ (RDA): เด็กอายุ 1ถึง 8 ปี, 90 ไมโครกรัมต่อวัน; 9 ถึง 13 ปี, 120 ไมโครกรัมต่อวัน; คนที่อายุ 14 ปีขึ้นไป, 150 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำคือ 209 ไมโครกรัมต่อวันและหญิงที่ให้นมบุตร, 290 ไมโครกรัมต่อวัน

ระดับสูงสุดที่รับได้ (UL), ระดับสูงสุดที่รับได้ที่ไม่ส่งผลข้างเคียง สำหรับการรับไอโอดีนนั้นกำหนดไว้ว่า เด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี, 200 ไมโครกรัมต่อวัน; 4 ถึง 8 ปี, 300 ไมโครกรัมต่อวัน; 9 ถึง 13 ปี, 600ไมโครกรัมต่อวัน; 14 ถึง 18 ปี (รวมถึงหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร), 900 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 19 ปีรวมถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ระดับสูงสุดที่รับได้ 1100 ไมโครกรัมต่อวัน

ปริมาณการใช้ไอโอดีนอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

ไอโอดีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

ไอโอดีนอาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • อาหารเสริมโพแทสเซียมไอโอดีน 150 ไมโครกรัม
  • หยดของเหลวไอโอดีนที่มีศักยภาพสูง

Iodine http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-35-iodine.aspx?activeingredientid=35 เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560

Iodine https://medlineplus.gov/ency/article/002421.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว