เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / หญ้าหนวดแมว (Java Tea)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
หญ้าหนวดแมว (Java Tea)

การใช้ประโยชน์:

หญ้าหนวดแมวใช้ทำอะไร:

หญ้าหนวดแมวเป็นพืชชนิดหนึ่ง ใบ และปลายลำต้นถูกใช้ทำยา

หญ้าหนวดแมวใช้รักษาอาการทางการแพทย์ดังนี้:

  • อาการของตับ
  • กระเพาะปัสสาวะ และไตผิดปกติ
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • โรคเกาต์
  • ปวดข้อ (โรครูมาตอยด์)

หญ้าหนวดแมวทำงานอย่างไร

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอสำหรับการอธิบายการทำงานของหญ้าหนวดแมวโปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้จักว่าหญ้าหนวดแมวอาจเพิ่มการสูญเสียน้ำของร่างกายผ่านทางปัสสาวะ (ผลกระทบจากยาขับปัสสาวะ) หยุดอาการชักกระตุก และช่วยต่อสู้แบคทีเรีย

ข้อควรระวังและคำเตือน:

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้หญ้าหนวดแมว:

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจาก ในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากหญ้าหนวดแมวหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการไม่สบาย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จำเป็นต้องมีการศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัย คุณประโยชน์ของการรับประทานสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

หญ้าหนวดแมวปลอดภัยแค่ไหน

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้หญ้าหนวดแมว

ข้อควรระวังเฉพาะ และคำเตือน

ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร : ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้หญ้าหนวดแมวระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรอยู่บนความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการใช้งาน

อาการคั่งน้ำ (บวมน้ำ) : อย่าใช้หญ้าหนวดแมวเป็น “การรักษาโดยสวนล้างลำไส้ใหญ่” เมื่อพบอาการคั่งน้ำเกี่ยวกับปัญหาหัวใจ หรือไต

 

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หญ้าหนวดแมวมีอะไรบ้าง:

ถ้าหากมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับหญ้าหนวดแมวมีอะไรบ้าง:

หญ้าหนวดแมวอาจมีผลกับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือมีผลกับภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ปรึกษากับแพทย์สมุนไพรแผนโบราณหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับหญ้าหนวดแมว ได้แก่:

  • ยาลิเทียม (Lithium)

หญ้าหนวดแมวอาจมีผลกระทบเหมือนการขับของเสีย หรือ “การขับปัสสาวะ” ใช้หญ้าหนวดแมวอาจลดความสามารถในการกำจัดยาลิเทียมออกจากร่างกาย สิ่งนี้อาจเพิ่มยาลิเทียมตกค้างในร่างกาย และมีผลข้างเคียงรุนแรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านดูแลสุขภาพก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้ขณะที่ใช้ยาลิเทียมอยู่ ปริมาณการใช้ยาลิเทียมของท่านอาจจำเป็นต้องถูกเปลี่ยนแปลง

ปริมาณการใช้:

ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้ยาชนิดนี้เสมอ

ปริมาณปกติของการใช้หญ้าหนวดแมวอยู่ที่เท่าไหร่:

ปริมาณการใช้หญ้าหนวดแมวอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ สมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

 

หญ้าหนวดแมวมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง:

หญ้าหนวดแมวอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ชนิดแคปซูล 450 มิลลิกรัม
  • ชนิดสกัดเป็นผงแป้ง

 

Java tea http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-707-java%20tea.aspx?activeingredientid=707&activeingredientname=java%20tea Accessed August 25, 2017

Java tea https://herbpathy.com/Uses-and-Benefits-of-Java-Tea-Cid2762 Accessed August 25, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว